ร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และภาคีเครือข่าย ดำเนินโครงการ “ต่อบ้าน เติมสุข”เพื่อปรับปรุง ต่อเติม จัดหาอุปกรณ์ที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ให้ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 72 หลัง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
มอบความห่วงใยและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมและวาตภัยโดยตั้งโรงครัว มอบถุงยังชีพ ผ้าห่ม สุขากระดาษ และสุขาเคลื่อนที่ตลอดจนสนับสนุนอุปกรณ์ทำความสะอาดผ่านเครือข่ายในพื้นที่ประสบภัย
เงินที่รับบริจาคสะพานบุญ สะพานใจ ด้านการศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการให้โอกาสเยาวชน โดยได้มอบทุนผู้ช่วยพยาบาล และผู้ช่วยทันตแพทย์ จำนวน 28 ทุน ทุนละ 25,000 บาท รวมมูลค่าทุนทั้งสิ้น 700,000 บาท
จากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสภาการพยาบาลได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการผลิตบุคลากร “ผู้ช่วยพยาบาล” เข้ามาช่วยและแบ่งเบางานของพยาบาล แต่ปัญหานี้ก็ยังไม่คลี่คลายลงมากนัก เพราะอัตราส่วนพยาบาลต่อจำนวนประชากร ยังคงเป็น 1 ต่อ 250 และตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2577 จะต้องผลิตบุคลากรเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อให้อัตราส่วนพยาบาลต่อประชากรเป็น 1 ต่อ 200 ก็ตาม โรงพยาบาลศิริราช ในฐานะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ นอกจากการผลิตแพทย์และพยาบาลให้กับวงการแพทย์แล้ว ยังได้เปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรมาช่วยในส่วนงานของโรงพยาบาลศิริราชและสถานพยาบาลในเครือข่ายเอง โดยเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้การบริหารจัดการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจากความต้องการผู้ช่วยพยาบาล ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิเอสซีจี ในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในหลักสูตรนี้มาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมามูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการให้ทุนในสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชน ได้มีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ ทั้งทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง เช่นการสนับสนุนทุนการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร “ผู้ช่วยพยาบาล” กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 179 ทุน เป็นงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท รศ. นพ. ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
มูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนรู้จักและเข้าใจถึงแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ด้วยการนำทักษะที่มีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill มาใช้ในแต่ละโอกาส เพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนและต่อยอดความรู้ความสามารถของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการเรียนรู้และการพัฒนาที่จะต้องทำตลอดชีวิต เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
มูลนิธิเอสซีจี ส่งเสริมแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ผ่านโครงการยุวศิลปินไทย Young Thai Artist Award ที่ศิลปินสามารถผสมผสานทักษะ Hard Skill และ Soft Skill ในการสร้างชิ้นงานศิลปะจนประสบความสำเร็จในชีวิต
จากความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา นอกจากที่มูลนิธิเอสซีจีให้การสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาแล้ว ยังสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง
เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ในอดีต ได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในกิจวัตรประจำวันในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย แม้ว่าในปัจจุบันงานเครื่องจักสานจะมีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม คงทน เพื่อนำมาใช้เป็นของสะสม ของประดับมากขึ้น แต่การผลิตเพื่อใช้งานในพื้นที่ชนบทก็ยังคงมีอยู่ และงานจักสานส่วนใหญ่ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งมักจะพบปัญหา “มอด” กัดกินผิวไม้ที่นำมาใช้จักสาน ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นนั้นชำรุด
ครอบครัวของผึ้งมีด้วยกัน 4 คน มีพ่อ แม่ ผึ้ง และ พี่สาว ซึ่งพี่สาวตอนนี้พี่ไปทำงานอยู่ต่างจังหวัด ที่บ้านจึงเหลือกันอยู่เพียง 3 คน พ่อทำงานเป็นลูกจ้างโรงงานขายหมู มีหน้าที่ต้องเอาหมูไปตั้งแผงขายที่ตลาดในจ.นนทบุรีทุกวัน ตั้งแต่ตี 3-5 โมงเย็น ส่วนแม่ ทำงานชำแหละหมูในโรงงานเหมือนกัน ต้องออกไปทำงานตั้งแต่ 6 โมงถึง 2 ทุ่ม รายได้ไม่มากนัก