Skip to content

มูลนิธิเอสซีจี เปิดแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอดผ่านหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล สร้างการอยู่รอดให้เยาวชน จบไว-มีงานทำ

จากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสภาการพยาบาลได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการผลิตบุคลากร “ผู้ช่วยพยาบาล” เข้ามาช่วยและแบ่งเบางานของพยาบาล แต่ปัญหานี้ก็ยังไม่คลี่คลายลงมากนัก เพราะอัตราส่วนพยาบาลต่อจำนวนประชากร ยังคงเป็น 1 ต่อ 250 และตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2577 จะต้องผลิตบุคลากรเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อให้อัตราส่วนพยาบาลต่อประชากรเป็น 1 ต่อ 200 ก็ตาม โรงพยาบาลศิริราช ในฐานะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ นอกจากการผลิตแพทย์และพยาบาลให้กับวงการแพทย์แล้ว ยังได้เปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรมาช่วยในส่วนงานของโรงพยาบาลศิริราชและสถานพยาบาลในเครือข่ายเอง โดยเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้การบริหารจัดการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจากความต้องการผู้ช่วยพยาบาล ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิเอสซีจี ในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในหลักสูตรนี้มาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมามูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการให้ทุนในสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชน ได้มีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ ทั้งทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง เช่นการสนับสนุนทุนการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร “ผู้ช่วยพยาบาล” กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 179 ทุน เป็นงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท รศ. นพ. ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์

เจาะแนวคิด Learn to Earn ในงานด้านศิลปะ ผ่านมุมมองของรุ่นพี่ยุวศิลปินไทย ผู้ประสบความสำเร็จบนเส้นทางที่เลือกแล้ว

มูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนรู้จักและเข้าใจถึงแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ด้วยการนำทักษะที่มีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill มาใช้ในแต่ละโอกาส เพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนและต่อยอดความรู้ความสามารถของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการเรียนรู้และการพัฒนาที่จะต้องทำตลอดชีวิต เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา

เปิดประสบการณ์เยาวชนไทย จากสนามแข่งระดับโลก ใช้ทักษะรอบตัวทั้ง Hard Skill และ Soft Skill

จากความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา นอกจากที่มูลนิธิเอสซีจีให้การสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาแล้ว ยังสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง

ต้นกล้าชุมชน “พรกนก ลาภเกิด” ผู้สืบสานภูมิปัญญางานจักสานผิวไม้ไผ่ -ไร้มอด พัฒนา-ต่อยอด สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน  

เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ในอดีต ได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในกิจวัตรประจำวันในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย แม้ว่าในปัจจุบันงานเครื่องจักสานจะมีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม คงทน เพื่อนำมาใช้เป็นของสะสม ของประดับมากขึ้น แต่การผลิตเพื่อใช้งานในพื้นที่ชนบทก็ยังคงมีอยู่ และงานจักสานส่วนใหญ่ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งมักจะพบปัญหา “มอด” กัดกินผิวไม้ที่นำมาใช้จักสาน ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นนั้นชำรุด

“มูลนิธิเอสซีจี” ตอกย้ำความสำคัญของการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ เดินหน้าสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ

มูลนิธิเอสซีจีเดินหน้าสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จับมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานระดับนานาชาติที่ประเทศฝรั่งเศส ยุทธนา เจียมตระการ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “จากภารกิจหลักของมูลนิธิเอสซีจี ทีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษา เน้นการเรียนรู้เพื่อมีงานทำตอบโจทย์ควารมต้องการของประเทศ  พร้อมสร้างโอกาสและมุ่งแสวงหาเวทีให้เด็กและเยาวชนไทยได้มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นทักษะ Hard Skill (ทักษะวิชาชีพ) หรือ Soft Skill (ทักษะชีวิต) ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการสั่งสมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ เพื่อต่อยอดสู่ความเป็นเลิศในสายวิชาชีพ ด้วยการสนับสนุน‘การแข่งขันฝีมือแรงงาน’ทั้งระดับอาเซียนและระดับนานาชาติ (World Skills Competition) แก่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน มาตั้งแต่ปี 2560 อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันทางมูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนไปแล้วกว่า 15,000,000 บาท” สำหรับปี 2567 นี้ มูลนิธิเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (WorldSkills Lyon 2024) ครั้งที่ 47 ใน 3 สาขา ได้เก่ ซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 10-15

LEARN to EARN ชีวิต “รอด” ได้ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัว “เพ็ญนภา สิงห์สนั่น” นักแต่งภาพร้านค้าออนไลน์ผู้พัฒนาทุกทักษะเพื่อพร้อมปรับตัวให้ทันกับทุกการเปลี่ยนแปลง

จากนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอยู่แต่กับเรื่องการเรียน เมื่อวันหนึ่งสถานะทางการเงินของครอบครัวเกิดมีปัญหา ทำให้ต้องหาเงินส่งตัวเองเรียนต่อเพื่อไม่เป็นภาระของครอบครัว ด้วยการเข้าสู่วงการอาชีพแม่ค้าออนไลน์

LEARN to EARN เพราะชีวิต คือการเรียนรู้ ไม่มีที่สิ้นสุด “สุรพรชัย ธรรมศิริ” ว่าที่นักกายอุปกรณ์ ที่ไม่หยุดพัฒนาตนเอง เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ

เมื่อการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่เพียงแค่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่าห้องเรียนอีกต่อไป แต่เป็นการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หรือที่เรียกว่า Lifelong learning ที่จะทำให้ผู้เรียนรู้ นำประสบการณ์นั้นมาพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น

“Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด” ผนึกกำลังทุกภาคส่วนขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ สร้างบุคลากรให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน ให้เยาวชน เรียนรู้ ปรับตัว พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว

มูลนิธิเอสซีจีมุ่งลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนมานานกว่า 60 ปี จนถึงปัจจุบัน ได้ให้ทุนการศึกษาไปแล้วกว่า 100,000 โดยเน้นหลักสูตรการเรียนที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงาน ได้แก่ หลักสูตรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve หลักสูตรด้านเทคโนโลยี IT เป็นต้น พร้อมขยายแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมูลนิธิเอสซีจี ได้จัดงาน Learn to Earn : The Forum จุดประกาย และเปิดมุมมองใหม่ ให้เยาวชน ได้เรียนรู้ ปรับตัว เพิ่มทักษะความรู้ และทักษะชีวิต (Soft skill & Hard skill)  ให้สามารถอยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยได้ผนึกกำลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้รับเกียรติจาก 4 Key Drivers ของประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองผ่านการเสวนาหัวข้อ

มูลนิธิเอสซีจี จุดประกายสังคมให้ Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ชูตัวอย่าง “ช่างมีด” รุ่นใหม่ เรียนรู้ ปรับตัว มีรายได้

การมีใบปริญญาติดฝาบ้าน ไม่ใช่คำตอบของความสำเร็จในชีวิตอีกต่อไปแล้ว  เพราะชีวิตที่ประสบความสำเร็จของแต่ละคน ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับ การเรียนรู้ ความมุ่งมั่นพยายาม ปรับตัวการไขว่คว้าโอกาสที่เข้ามา กระทั่งจังหวะเวลา ของแต่ละคน ดังเช่นแนวคิด Learn to Earn ที่มูลนิธิเอสซีจี กำลังขับเคลื่อน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ทั้ง Hard Skill ทักษะเพื่อการประกอบวิชาชีพ  ผสานกับ Soft Skill หรือทักษะการใช้ชีวิต ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือและอยู่รอดได้ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอิร์ธ ธรรมรัฐ มูลสาร วัย 22 ปี จากโครงการต้นกล้าชุมชน โดยมูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างแนวคิดของการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด นี้ หลังจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แม้ว่าเพื่อนๆ ร่วมชั้น ต่างพากันเลือกเส้นทางชีวิตเข้าศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ ในหลากหลายมหาวิทยาลัย แต่ “เอิร์ธ” ค้นพบตัวเองว่า ไม่ใช่คนเรียนเก่ง จึงตัดสินใจเลือกเส้นทาง  ที่ไม่เหมือนเพื่อนคนอื่น ๆ   และมุ่งหาคำตอบและทางรอดของชีวิตเพื่ออนาคตของตนเอง เมื่อมีโอกาสเข้ามา “เอิร์ธ”  ตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินสายอาชีพ ผ่านการเรียนรู้ “การตีเหล็กโบราณ”