เพราะไม่มีใครรู้จักชุมชน ได้ดีไปกว่าคนในชุมชนเอง มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริม คนรุ่นใหม่ให้กลับมา พัฒนาบ้านเกิด ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการ ดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุน เบี้ยยังชีพ ค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีพี่เลี้ยงนักพัฒนารุ่นพี่ ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงานชุมชนทั้งภาคสนามและภาคทฤษฎี
สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการนี้ว่า “มูลนิธิเอสซีจีดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 ภายหลังจากที่ได้ทำงานกับ ผู้นำชุมชนมาระยะหนึ่ง พบว่าหลายชุมชนประสบปัญหาขาดคนมาสืบทอดงานชุมชน ทั้งในเรื่องของ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และวิถีชุมชน เนื่องจากเยาวชนส่วนใหญ่ได้ละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปทำงาน ในเมือง มูลนิธิฯ จึงริเริ่มดำเนินโครงการ ‘ต้นกล้าชุมชน’ ในปี พ.ศ. 2557 โดยมุ่งหวังสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ นำคนหนุ่มสาวกลับคืนสู่ท้องถิ่น ซึ่งในปัจจุบันเรามีต้นกล้าชุมชนทั้งหมดจำนวน 3 รุ่น รวม 28 คน กระจายตัว อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ทำงานครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณสุข ตลอดจนเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามมูลนิธิฯ ขอขอบคุณเหล่าพี่เลี้ยงนักพัฒนาทุกท่านที่มาร่วมกันบ่มเพาะต้นกล้า ทั้งวิธีคิด วิธีการทำงาน ขณะเดียวกัน มูลนิธิฯ ยังได้จัดอบรมพัฒนาศักยภาพของต้นกล้าควบคู่กันไปด้วย เพื่อเสริมสร้างกระบวนการทำงานให้ ครอบคลุมหลายมิติ มากขึ้น”
ครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 1-3 และพี่เลี้ยงฯ รวม 39 คน ณ จังหวัดตรัง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ประธานบริหาร บริษัท แบรนด์บีอิ้ง จำกัด บรรยายให้ความรู้เรื่อง ‘การสร้างแบรนด์อย่างพอเพียง’ เพื่อให้ต้นกล้าและพี่เลี้ยงฯ นำไปปรับใช้ และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนของตนให้แตกต่าง น่าสนใจ มีเรื่องราว มีจุดแข็ง เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ชุมชนบ้านน้ำราบ อ.กันตัง จ.ตรัง และ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นสี อ.นาโยง จ.ตรัง รวมทั้ง มีกิจกรรมสัมพันธ์เพื่อสร้างบรรยากาศ และความรู้สึกการเป็น ‘ครอบครัวต้นกล้าชุมชน’ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จนเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย การทำงานทางสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต
ต้นกล้าเก่ง โชคนิธิ คงชุ่ม เจ้าของโครงการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก เล่าถึงประสบการณ์การเป็นต้นกล้าชุมชนรุ่นที่ 2 ว่า “ที่ผมสนใจเข้าร่วมโครงการนี้ เพราะรูปแบบ ที่ตอบโจทย์ชีวิต
คนทำงานเพื่อสังคม คือคนส่วนใหญ่ที่ทำงานเพื่อสังคมจะต้องวิ่งหางบฯ ต่างๆ เพื่อ ดำเนินโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีงบฯ ดูแลคนทำงาน แต่ในความเป็นจริง คนทำงานก็ต้องอยู่ได้ด้วย เพื่อที่จะได้ทำงาน อย่างเต็มที่ โชคดีที่มาเจอโครงการนี้ที่ให้ความสำคัญกับคน เห็นคุณค่าของคนทำงานภาคประชาสังคม สำหรับโครงการของผมเป็นงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างนักอนุรักษ์รุ่นเยาว์ เป็นเยาวชนในพื้นที่ โดยเน้นที่เด็ก ม.ปลายเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโต เราขับเคลื่อน บ่มเพาะให้เด็กๆ รัก ธรรมชาติและหวงแหนสิ่งแวดล้อม ผ่านการจัดค่ายเยาวชนให้ความรู้ เป็นห้องเรียนธรรมชาติสัญจร มีกิจกรรม ถ่ายภาพ การทำผ้ามัดย้อม การทำสมุดผ้า หรือการทำ Workshop คือ มันเป็นงานที่ทำให้เด็กมีความเป็น กลุ่มก้อน มีความต่อเนื่องในการทำงาน เกิดเป็นพลังเยาวชนในพื้นที่บ้านเกิด เวลาเรามีกิจกรรม พวกเขาก็ จะเข้ามาช่วยสนับสนุนตลอดเวลา อย่างเช่นกิจกรรมปฏิบัติการ 4ม. ขอคืนพื้นที่เขาใหญ่ ไม่ทิ้งขยะ ไม่ให้อาหารสัตว์ ไม่ขับรถเร็ว ไม่ส่งเสียงดัง ในช่วงวันหยุดยาวที่คนนิยมขึ้นไปเที่ยวที่เขาใหญ่ เราก็ได้เห็น พลังเยาวชนที่เราสร้างขึ้นมานี้ ออกมาช่วยกันรณรงค์ถือป้ายประชาสัมพันธ์ในจุดต่างๆ ผมต้องขอขอบคุณ โครงการต้นกล้าชุมชน โดยมูลนิธิเอสซีจี นอกจากผมที่ขอบคุณแล้ว เพื่อนๆ พี่น้องสายคนทำงานเพื่อสังคม หลายๆ คนก็รู้สึกขอบคุณโครงการนี้เช่นกันที่ให้โอกาสคนทำงาน เพราะมันเป็นการสร้างโอกาสให้อีกหลาย ชีวิต และสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน”
ด้านต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนรุ่นที่ 2 เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวเสริมว่า “หญิงชอบโจทย์ของโครงการต้นกล้าชุมชน เราพบว่า ไม่มีโครงการไหนที่จะให้ความสำคัญกับการที่ให้คนรุ่นใหม่ได้กลับบ้าน กลับไปเติบโต กลับไปทำงานพัฒนา ในชุมชนของตัวเอง อันนี้เป็นโจทย์ที่ตรงกับใจ ตรงกับช่วงวัยที่เราอยากจะกลับไปอยู่บ้าน สำหรับโครงการ ของหญิงมีกลุ่มเป้าหมาย คือ “ครูภูมิปัญญา” คือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหาร กลุ่มเด็กๆ ครอบคลุมพื้นที่ในโรงเรียน และกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยง พวกเด็กๆ แทบจะไม่รู้จักเมนูอาหาร พื้นบ้านเลย อาทิ แกงผักต่างๆ ในท้องถิ่น เมนูใส่น้ำปู เด็กๆ จะไม่กินเพราะมันดำ และมีรสชาติแปลกๆ แล้วหันไปนิยมกินไก่ทอด พิชซ่า ส่วนครูภูมิปัญญาก็ไม่มีเรี่ยวแรงจะเข้าไปหาวัตถุดิบในป่า แต่เขายังมีแรง ที่จะปรุงและทำกินได้ หญิงจึงต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางเชื่อมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ผลักดันเรื่อง การอนุรักษ์แหล่งอาหารปลอดภัยในชุมชน ให้คนในชุมชนได้เห็นว่าบ้านเราก็มีของดีจากป่า พวกเขา จะได้หาของดีจากป่าเป็น จะได้รู้ว่าอันไหนนำมาประกอบอาหารได้และมีประโยชน์ทางโภชนาการ ถ้าทุกคนโดยเฉพาะเด็กๆ รู้จักและเห็นคุณค่าของอาหารเหล่านี้ ก็จะได้ช่วยกันอนุรักษ์ บ้านเราจะได้ มีอาหารตลอด ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบชั้นยอด ต้องขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่ให้โอกาสหญิงได้กลับไปทำงานใน ชุมชน ขอบคุณที่เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และยังมีกระบวนการที่ทำให้เราเชื่อมั่นในตัวเอง และเคารพตัวเอง อีกด้วย”
ด้าน บุบผาทิพย์ แช่มนิล หญิงแกร่งผู้ก่อตั้งกลุ่มรักษ์เขาชะเมา กล่าวเสริมในฐานะพี่เลี้ยงต้นกล้าชุมชนว่า “ตลอดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นกล้าชุมชนในครั้งนี้ ได้เรียนรู้เรื่องแบรนด์ที่พี่หนุ่ย หรือ ดร.ศิริกุล มาสอน มีประโยชน์มากเพราะมันทำให้คนที่แม้จะเคยทำแบรนด์มาแล้ว ได้ทบทวนตัวเองว่า มันใช่หรือเปล่า แล้วทำให้คนที่ไม่เคยคิดจะสร้างแบรนด์ เห็นความสำคัญของการที่จะทำมันขึ้นมา โดย ต้องตกตะกอนความคิดก่อน ว่ามันสะท้อนถึงอัตลักษณ์ชุมชน และเข้าถึงรากเหง้าของตนเองยังไง สินค้าของเรา แตกอย่างจากคนอื่นยังไง ส่วนการดูงานที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นสีก็ดี ชุมชนบ้านน้ำราบก็ดี หัวใจของมันคือเรื่องกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเราใช้มันเป็นแค่พื้นที่ปฏิบัติการเป็นกรณีศึกษาเท่านั้น ให้ต้นกล้า ได้กลับไปคิดและกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนของตัวเองต่อไปในอนาคต โดยมีพวกเราพี่เลี้ยงคอยให้ คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอดเวลาที่ได้เป็นพี่เลี้ยงมา 3 ปี พี่สัมผัสได้ถึงความรู้สึกของการเป็น พี่ครอบครัวต้นกล้าชุมชนอย่างแท้จริง ต้องขอขอบคุณความตั้งใจจริงของมูลนิธิเอสซีจีที่ริเริ่มโครงการนี้ และอยากให้องค์กรอื่นๆ นำไปเป็นต้นแบบในการให้ความสำคัญในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ต่อไป”
มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้า เหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนอื่นในชุมชน ได้ทำงานใน บ้านเกิด เข้าถึงปัญหาและร่วมหัวจมท้ายกับคนในชุมชน ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ได้เรียนรู้ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ตลอดจนสืบสานศิลปะวัฒนธรรรมให้คงอยู่ เราหวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้ เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น ในการรับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป