Skip to content

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้านครปฐมและเครือข่าย ส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) แห่งแรกของไทย ให้ รพ.นครปฐม

มูลนิธิเอสซีจี นำโดย คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้าจังหวัดนครปฐม และมูลนิธิไทยพีบีเอส ร่วมส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy unit) แห่งแรกของไทย มูลค่า 5.17 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลนครปฐม โดยมี ดร.พญ.ดารารัตน์ รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมรับมอบ ซึ่งห้องชันสูตรความดันลบนี้ นอกจากจะลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขยายการให้บริการชันสูตรศพกับจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 700 ราย ต่อปี ลดภาระงานของโรงเรียนแพทย์ รวมถึงต่อยอดการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

ห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) มีขนาด 80.38 ตร.ม. สามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งระบบความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) เพื่อกำจัดเชื้อโรคและฝุ่น และระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร โดยมีพื้นที่การใช้งานทั้งสิ้น 4 ส่วน ได้แก่

  1. AUTOPSY ZONE สำหรับบุคลากรปฏิบัติงานผ่าชันสูตรพลิกศพ โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ใช้ระบบห้องความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) ออกแบบห้องให้ทำความสะอาดง่ายและ ANTE Zone เพื่อกักอากาศลดการแพร่เชื้อออกสู่ภายนอก
  2. PREPARATION ZONE และ ANTE ROOM สำหรับบุคลากรเพื่อเตรียมตัวเข้าปฏิบัติงาน โดยแบ่งเป็น Locker room สำหรับเก็บสัมภาระ เปลี่ยนชุด PPE โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ ใช้ระบบห้องความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) 
  3. EXIT ZONE และ ANTE ROOM สำหรับบุคลากรออกหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และถอดชุด PPE โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ใช้ระบบห้องความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM)  
  4. Bathroom สำหรับบุคลากรใช้ชำระล้างร่างกายก่อนและหลังการปฏิบัติหน้าที่