ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา และสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
การจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19
ล่าสุดระบบการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 มีการปรับแผนใหม่โดยให้ชะลอการลงทะเบียนผ่าน LINE Official หมอพร้อมไว้ก่อน และให้แต่ละจังหวัดเริ่มดำเนินการเปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนในพื้นที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแทน ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนกับระบบหมอพร้อมไว้แล้วให้เป็นไปตามนัดหมายเดิม โดยระบบยังคงทำหน้าที่ติดตามการฉีดเข็มที่ 1, 2 ติดตามการรายงานผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน และออกใบรับรองการฉีดวัคซีน
สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-59 ปี และไม่ได้เป็นผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถลงทะเบียนได้ผ่าน3 ช่องทาง ดังนี้
1. กลุ่มเข้าร่วมโครงการรัฐบาล อย่าง “เราชนะ” และ “คนละครึ่ง” สามารถลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านแอปฯ เป๋าตัง
2. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com
3. ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ 7-11, Top Daily, FamilyMart และ Mini Big C โดยนำบัตรประชาชน และเบอร์โทรศัพท์มือถือที่สามารถติดต่อได้ ไปเพื่อให้พนักงานลงทะเบียน
โดยสามารถลงทะเบียนได้ทุกวัน เวลา 06.00 – 22.00น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม เป็นต้นไป หรือติดต่อสอบถามได้ที่ สายด่วนวัคซีน 1516 เวลา 08.00 – 20.00น.
สำหรับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้ติดตามข่าวสารข้อมูลช่องทางการลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ที่เขตพื้นที่ของจังหวัดตัวเอง และสำหรับประชาชนที่ไม่สะดวกในช่องทางออนไลน์ดังกล่าวสามารถติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านหรือผ่าน อสม. ประจำหมู่บ้านได้เหมือนเดิม โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมและเก็บเข้าระบบหลังบ้านของหมอพร้อม
เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน เพื่อเพิ่มความมั่นใจ
เพื่อให้การฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ประโยชน์สูงสุดและป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ด้วยการตรวจสอบสุขภาพร่างกายนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ต้องไม่มีไข้หรืออาการเจ็บป่วยมีโรคประจำตัวอาการหนัก เช่น โรคหัวใจที่มีภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากมีโรคประจำตัวหรือกินยารักษาประจำ มีประวัติแพ้ยาหรือวัคซีน หรือการตั้งครรภ์ ต้องแจ้งให้แพทย์ประจำตัวประเมินและแพทย์ที่สถานบริการทราบก่อนฉีด พกบัตรประชาชนและวันเวลานัดการฉีดวัคซีนไปด้วย ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขมีข้อแนะนำเป็นข้อ ๆ ดังนี้
- สองวันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก หรือยกน้ำหนัก และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- วันที่ฉีดควรกินน้ำอย่างน้อย 500-1,000 ซีซี งดชา กาแฟ หรือของที่มีคาเฟอีน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ฉีดแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัดและหลังฉีดสองวันอย่าใช้แขนนั้น อย่าเกร็งยกของหนัก
- หลังฉีดวัคซีนแล้วให้รอดูอาการในบริเวณที่ฉีดอย่างน้อย 30 นาที ค่อยกลับเพื่อเฝ้าสังเกตอาการแพ้ หากมีอาการรุนแรงจะได้รับการดูแลรักษาอย่าง
ทันท่วงที - หากมีไข้หรือปวดเมื่อยมากทนไม่ไหวสามารถกินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละหนึ่งเม็ดซ้ำได้ถ้าจำเป็นแต่ให้ห่าง 6 ชั่วโมง (ห้ามกินยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)
- การฉีดวัคซีนโควิด-19 ควรห่างกับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 1 เดือน
- หากกินยาละลายลิ่มเลือดอยู่ให้กินยาตามปกติ แต่เมื่อฉีดยาแล้วให้กดนิ่งตรงตำแหน่งที่ฉีดต่ออีก 1 นาที
จุดบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล
ปัจจุบันทางกรุงเทพมหานครได้เพิ่มหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลหรือของภาคเอกชนทั้งหมด 25 แห่ง มีรายชื่อดังนี้
1. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
2. มหาวิทยาลัยศรีปทุม (ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีไทยบริหารธุรกิจ)
3. ศูนย์ฉีดวัคซีนเอสซีจี
4. ไทยพีบีเอส
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
6. ทรู ดิจิทัล พาร์ค
7. เดอะสตรีท รัชดา
8. สามย่านมิตรทาวน์
9. เอเชียทีค
10. เซ็นทรัลเวิลด์
11. เซ็นทรัล ลาดพร้าว
12. เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
13. เซ็นทรัล อิสต์วิลล์
14. โรบินสันไลฟ์สไตล์ ลาดกระบัง
15. เดอะมอลล์ บางกะปิ
16. เดอะมอลล์ บางแค
17. สยามพารากอน
18. ดิเอ็มโพเรียม
19. ไอคอนสยาม
20. ธัญญาพาร์ค
21. โลตัส พระราม 4
22. โลตัส มีนบุรี
23. บิ๊กซี บางบอน
24. บิ๊กซี ร่มเกล้า
25. PTT Station พระราม 2 ขาออก (กม.12)
การฉีดวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค ซึ่งนอกจากเพื่อปกป้องตัวเองแล้วยังช่วยเหลือสังคมลดภาระ
ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องด้วยการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ยังป้องกันคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ยังไม่มีวัคซีนอีกด้วย และถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ยังคงต้องรักษามาตรฐานการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัดด้วยการ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์เมื่อออกนอกบ้านและพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง หากคนไทยทุกคนช่วยกันรักษามาตรฐานนี้ เชื่อว่าไม่นานจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 แล้วกลับสู่สภาวะปกติได้ในเร็ววัน
การฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร
https://www.facebook.com/watch/?v=368857271079404
จัดทำ โดย สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
การฉีดวัคซีนสามารถป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อ ป้องกันการเกิดโรค ซึ่งนอกจากเพื่อปกป้องตัวเองแล้วยังช่วยเหลือสังคมลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องด้วยการลดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ยังป้องกันคนในครอบครัวโดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ยังไม่มีวัคซีนอีกด้วย และถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ยังคงต้องรักษามาตรฐานการป้องกันพื้นฐานอย่างเคร่งครัดด้วยการ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่าง
พกเจลแอลกอฮอล์เมื่อออกนอกบ้านและพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปในพื้นที่เสี่ยง หากคนไทยทุกคนช่วยกันรักษามาตรฐานนี้ เชื่อว่าไม่นานจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 แล้วกลับสู่สภาวะปกติได้ในเร็ววัน
การฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร
https://www.facebook.com/watch/?v=368857271079404
จัดทำ โดย สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยามหิดล
ข้อมูลอ้างอิง
- เช็คช่องทางลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด “กทม.-ต่างจังหวัด” ที่นี่! (prachachat.net)
- https://www.prachachat.net/general/news-676256
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/937022
- https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/934525
- https://www.prachachat.net/general/news-658990
- https://mgronline.com/qol/detail/9640000040741
- https://www.dailynews.co.th/economic/843013
- เครดิตรูปภาพ จากอินเทอร์เน็ต