การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์ แรงงานต่างด้าวโดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการซึ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแรงงานต่างด้าวพักอยู่รวมกันอย่างแออัดจึงเกิดการติดเชื้อจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมกว่า 27,494 คน (ยอด ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564) และกระจายไปกว่า 30 จังหวัด มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยในความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องทันทีทั้งทางด้านนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและให้กำลังใจกับนักรบแถวหน้าและผู้ป่วยผ่านสื่อต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร” ขึ้น จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง โดย ณ เวลานั้นศูนย์ห่วงใยคนสาครบางแห่งยังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อที่อยู่ในศูนย์ฯ มูลนิธิเอสซีจีพร้อมเพื่อนพนักงานเอสซีจี และชมรมช้างปูนเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูปลดเสี่ยงติดเชื้อ (Modular Bathroom)” ทั้งหมด 32 ห้อง แยกชาย-หญิง และผู้สูงอายุ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 3,400,000 บาท มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร”เทศบาล ตำบลนาดี วัฒนาแฟลคตอรี่
สร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง คือแนวคิดต้นแบบ ก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร มีความสนใจเรื่องของพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สวนสาธารณะในตัวเมืองเชียงใหม่ที่มีความหลากหลาย สามารถให้คนทุกระดับเข้าถึงได้ซึ่ง Community Garden คือรูปแบบของพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ คุณตี๋ ให้ความสนใจและคิดว่าควรจะมีพื้นที่สีเขียวรูปแบบนี้ในเมืองเชียงใหม่ หลังจากได้แนวคิดก็เริ่มหาข้อมูล และสำรวจพื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อดูว่าพอจะมีพื้นที่ใดบ้างที่นำมาปรับให้เป็นพื้นที่สีเขียวคุณภาพให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนสวนผักคนเมืองเชียงใหม่เกิดขึ้นจากการที่เคยลงพื้นที่สำรวจ แล้วพบว่าตัวเมือเชียงใหม่มีพื้นที่รกร้างกระจายอยู่ในเมืองเชียงใหม่มากมายที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ จึงได้นำเสนอกับเทศบาลนครเชียงใหม่ จนได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า เนื้อที่ประมาณ 2.5 ไร่ มาใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ผลิตอาหารคือปลูกผักและให้การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารในชื่อโคงการ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่” โดยมีกลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอที่เรียกว่าคณะผู้ก่อการเป็นหัวแรงสำคัญ ทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ “วิกฤตโควิด-19 มีประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเมืองเกิดขึ้นในช่วงที่ล็อคดาวน์ คนตกงานต้องไปต่อคิวรับอาหารที่แจกฟรี ผมเลยคิดว่าถ้ามีพื้นที่ Community Garden หรือ Urban Farm ที่เป็นพื้นที่ปลูกผักเพื่อเอาไว้เก็บกินและเป็นที่เรียนรู้ให้กับคนในเมืองน่าจะเป็นประโยชน์มาก เพราะการปลูกผักกินเองเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในเมือง”คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร กล่าว จากพื้นที่รกร้าง สู่อาหารช่วยคนไร้บ้าน พื้นที่ทำโครงการสวนผักคนเมืองเดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีกองขยะสูง 4 เมตร เป็นของเทศบาลฯ ซึ่งอยู่ติดกับคลองแม่ข่า คณะผู้ก่อการ (กลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ) ได้เปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยจัดสรรพื้นที่เป็น โซนผักหมุนเวียน โซนผลไม้ ต้นไม้ และมีพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งการจัดการระบบของสวนผัก คนเมืองมีอยู่ 3
พิษโควิดกับ วิกฤตน้อง 4 ขา วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบกับคนเท่านั้นแต่มีผลต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างบรรดาสัตว์สี่ขาทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย สุนัข และแมว เป็นต้น ที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเจ็บป่วยล้มตาย บ้านช้างจุดเริ่มต้นที่พักพิงของสัตว์น้อยใหญ่ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือช้างไทย รณรงค์ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศ ก่อตั้งโดย คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ จุดเริ่มต้นจากช้าง 9 เชือก ที่เป็นช้างลากไม้และช้างในคณะละครสัตว์ที่ปลดระวางและมีเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาช้างป่าที่พื้นที่ป่าถูกลุกล้ำจากสภาพแวดล้อม ไฟป่า หรือการคุกคามของมนุษย์ ทำให้มูลนิธิฯ ต้องดูแลช้างเหล่านี้โดยมีบ้านให้พวกช้างอยู่เป็นหลักแหล่ง ด้วยความที่ คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ได้เห็นสัตว์ที่ทุกข์ทรมาน เช่น สุนัขจรจัดนอนบาดเจ็บอยู่ข้างถนน แมวแร่รอนผอมโซ จึงนำกลับมารักษาและให้อยู่ที่มูลนิธิฯ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือสัตว์ยากไร้อื่น ๆ นอกเหนือจากช้างก็มีตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ม้า วัว ควาย กระต่าย ลิง สุนัข และแมว
วิกฤต ทำให้ได้พบโอกาส เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชายคนหนึ่งใส่ชุดเชฟกำลังยืนปรุงอาหารในกระทะอย่างคล่องแคล่วอยู่กับรถเข็นคันเล็ก ๆ ที่ถูกดัดแปลงมาสำหรับขายอาหารตามสั่ง ทั้งสองข้างของรถเข็นถูกล้อมด้วยลูกค้าที่ยืนต่อคิวรออาหารรสชาติเยี่ยม ราคาถูกจากฝีมือผู้ชายที่ใส่ชุดเชฟคนนี้ เขาคือ เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารอาหารจีนในโรงแรมชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ชีวิตของเชฟวรรณต้องพลิกผันจากการเป็นเชฟทำอาหารอยู่ภัตตาคารหรูในโรงแรม มาเป็นเชฟรถเข็นขายอาหารตามสั่ง เชฟวรรณกับวันที่ไม่ได้เป็นเชฟในภัตตาคาร เชียงใหม่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและมีลูกค้าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหายไป ซึ่งกระทบธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง รวมถึงภัตตาคารอาหารจีนชื่อดังที่เชฟวรรณทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ต้องยอมปิดตัวลงเช่นกัน ทำให้รายได้ของเชฟวรรณจากที่เคยได้รับเดือนละสองหมื่นกว่าบาทกลายเป็นศูนย์บาทเพียงชั่วข้ามคืน ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวยังเท่าเดิม “ช่วงแรกเจ้าของขอลดเงินเดือนจากสองหมื่นเหลือหมื่นนิด ๆ พอช่วงโควิด-19 หนัก ๆ เขาไม่มีเงินจ้างเพราะว่าไม่มีลูกค้า ที่ร้านส่วนใหญ่ที่มาคือนักท่องเที่ยวชาวจีน พอไม่มีนักท่องเที่ยวร้านก็ไปต่อไม่ได้ ต้องปิดในที่สุด” เข้าใจ ยอมรับ ลุกแล้วเดินต่อไป ช่วงที่ตกงานเชฟวรรณได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ การปฏิบัติธรรมครั้งนั้นช่วยให้เชฟวรรณมีจิตใจที่สงบความเครียดหายไป จึงคิดหาช่องทางหารายได้ให้เร็วที่สุด เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบมากมาย เชฟวรรณตัดสินใจรวบรวมเงินที่ยังพอมีอยู่บ้างโดยไม่รอความช่วยเหลือจากใคร นำเงินมาซื้อรถเข็นเพื่อดัดแปลงทำเป็นรถเข็นสำหรับขายอาหารตามสั่ง แล้วเดินตระเวนขายไปตามจุดต่าง ๆ ทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขายในราคาย่อมเยาเพื่อให้ชาวบ้านได้กินอาหารอร่อยฝีมือระดับภัตตาคารในราคาที่ไม่แพง “ผมเข้าใจนายจ้างเพราะเขาเองก็มีภาระที่ต้องแบกรับเยอะเหมือนกัน เครียดและท้อไปก็เท่านั้นเพราะทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน คิดหาวิธีเอาความรู้ที่มีมาทำให้มีรายได้ดีกว่า ยอมรับว่าช่วงแรกที่ตัดสินใจออกมาเข็นรถขายอาหาร ผมรู้สึกอายมากเพราะในชีวิตไม่เคยต้องออกมาเข็นขายอะไรแบบนี้
กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตร้าเซนเนก้า บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 AZD1222 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในหนังสือแสดงเจตจำนงระบุว่าทุกฝ่ายตกลงจะทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมศักยภาพด้านกำลังการผลิตของ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ให้พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนจำนวนมากเพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้า จะจัดสรรวัคซีนวิจัยดังกล่าวโดยไม่มุ่งหวังผลกำไรในช่วง แพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกันนี้จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมมือกับสยามไบโอไซเอนซ์ในการติดตั้งกระบวนการผลิต ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการผลักดันโดยกระทรวงสาธารณสุข ที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการผลิตในประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะได้รับวัคซีนวิจัย AZD1222 หลังจากผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยมีเป้าหมายเริ่มจัดสรรวัคซีนสำหรับประชาชนชาวไทยได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 หนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ประธานกรรมการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ที่กรุงเทพฯ และ มร. เจมส์ ทีก ประธานประจำประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้า ผ่านการประชุมออนไลน์จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมี
คุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง โอกาส คือ สิ่งที่ทุกคนสามารถหยิบยื่นให้กันได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ที่ช่วยให้ชีวิตยังไปต่อได้ ซึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ เราต่างก็เห็นผู้คนลุกขึ้นมาช่วยเหลือ แบ่งปันน้ำใจให้แก่กันและกัน ในรูปแบบที่ตัวเองสามารถทำได้ เช่นเดียวกับ โครงการปันโอกาส โดยมูลนิธิเอสซีจี ที่เปิดโอกาสให้พนักงานเอสซีจีได้รวมตัวกันแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนำความรู้ความสามารถที่มีไปทำประโยชน์ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ พนักงานได้เสนอโครงการ ที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือ สังคมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกกว่า 20 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการห้องเรียนสร้างบุญเรียนรู้ สู่ความมั่นคงทางอาหาร” โดยคุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับโครงการที่เขาลงมือทำร่วมกับชุมชน ตำบล เบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งมอบความรู้และเทคนิคการปลูกผักหาเลี้ยงชีพให้กับคนในชุมชน แก้ปัญหาความเดือนร้อนของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยการ “ให้เบ็ด” แทนการ “ให้ปลา” ตามรอย “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดนั้นไปหาปลากินได้ทุกเมื่อ ปลูกความรู้
มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย จึงร่วมกันจัดโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19 โดยเริ่มต้นด้วยการส่งมอบหน้ากากผ้า 100,000 ชิ้น ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าทั่วประเทศ รวมถึงการจัดประกวดวาดภาพระบายสีเพื่อให้เด็กไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและป้องกันตัวเองในชีวิตประจำวัน ส่งหน้ากากผ้าถึงน้องๆ หน้ากากผ้า ถึงมือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งน้องๆ จะได้รับคนละ 2 ชิ้น เพื่อใช้สลับกันโดยหน้ากากผ้าสำหรับเด็กนี้มีขนาดเหมาะกับใบหน้าของเด็กด้วยการเสริมโครงลวดที่จมูกเพื่อให้กระชับใบหน้า พร้อมสายคล้องหูปรับขนาดได้ ปลอดภัยด้วยการใช้ผ้าฝ้ายออร์แกนิค 100%มีสีสันดึงดูดให้น่าใช้และเด็กๆ สามารถเขียนชื่อตัวเองที่หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการสลับหรือสูญหาย อีกทั้งยังมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมให้ความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใส่หน้ากาก การล้างมือ อย่างถูกวิธี หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้เด็กไทยได้สวมหน้ากากผ้าที่เหมาะสมอีกทั้งยังช่วยให้เด็กสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลโควิด-19 รวมถึงการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากเด็กสู่เด็ก หรือจากเด็กสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงคนในชุมชนได้อีกด้วย จินตนาการสู่ภาพวาด “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” นอกจากการส่งมอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็กแล้วมูลนิธิเอสซีจียังจัดประกวดวาดภาพระบายสีโดยให้เด็กทั่วประเทศที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่งภาพวาดเข้าประกวดในโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก โควิด-19 รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องอยู่ร่วมกันที่โรงเรียน โดยมีเงินรางวัลรวม 160,000 บาท และถ้วยรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากประธานมูลนิธิธรรมมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งมีน้องๆ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า
เรียนรู้ ต่อยอด สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง น้อย – รังสรรค์ แก้วสุสวรรณ หนึ่งในผู้ร่วมโครงการปันโอกาส ส่งเสริมรายได้จากการแปรรูปอาหารทะเลแดดเดียว ในช่วงเช้ามืดของทุกวันกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกว่า 30 ลำ ของบ้านปากคลองตากวน ต.มาบตาพุด จ.ระยอง จะออกเรือแล่นสู่ทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย และปลาหมึก เพื่อนำมาขายที่ตลาดแพปลาที่มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อของทะเลไปขายต่อให้กับนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และโรงแรม ทำให้ชาวประมงเรือเล็กมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงชุมชนเล็กๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรือเล็กที่ออกจากฝั่ง กลับเข้าฝั่งมาด้วยความเศร้า “ชาวบ้านยังชีพด้วยการออกเรือไปหาปลามาขาย เมื่อเกิดโควิด-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ของกลุ่มชาวประมงต้องหยุดชะงัก เพราะเอาไปขายไม่ได้เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว อีกทั้งธุรกิจโรงแรมก็ซบเซาร้านอาหารทะเลก็ปิดกระทบเป็นลูกโซ่ ชาวบ้านที่จับสัตว์ทะเลมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไง” คำบอกเล่าของพี่น้อย-รังสรรค์ แก้วสุวรรณ พนักงานธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านชุนชนบ้านปากคลองตากวนได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวประมงเรือเล็กของชาวบ้านที่ขาดรายได้ในช่วงนี้ จากเดิมที่มีเรือประมงหลายสิบลำออกไปจับสัตว์น้ำแต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ลำเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยว ตลาดแพปลาปิด แต่ชาวประมงบางคนก็ยังต้องออกเรือไปหาสัตว์น้ำ อย่างน้อยสามารถนำมาทำอาหารกินเลี้ยงชีวิตตัวเองและครอบครัวให้พอดำรงอยู่ได้ ให้แนวคิดการแปรรูปอาหารกับชาวบ้าน เพื่อการเรียนรู้และปรับตัวให้อยู่รอด ปัญหาการขาดรายได้ของชาวประมงชุมชนบ้านปากคลองตากวนทำให้พี่น้อยและทีมได้ร่วมหาแนวทางและช่องทางการขายให้กับชาวบ้าน จนได้แนวความคิดการแปรรูปอาหารทะเล ด้วยการทำเป็นปลาแดดเดียว ปลาหมึกอบแห้ง ปลาเค็มหรือตากแห้ง
เรียนรู้การพึ่งพาตนเอง สู่การดำเนินชีวิต ที่มั่นคงอย่างยั่งยืน อุ้ม – คนึงนิตย์ ชนะโม ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 สมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสาน ผู้จัดอมรมโครงการต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19 เราอยู่ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีวิกฤตเกิดขึ้นมากมายที่เราต้องเผชิญ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้จากการทำธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองด้วยหวังจะมีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเองและคนในครอบครัว แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อตั้งหลัก จุดเริ่มต้นของการให้ อุ้ม-คนึงนิตย์ ชนะโม หนึ่งในสมาชิกโครงการ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 และสมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสานที่รวมตัวกันทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ เห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เป็นกลุ่มที่ต้องการผู้แนะนำในการเริ่มต้นทำอาชีพอะไรบางอย่างให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว อุ้ม จึงได้จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดทักษะวิชาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาและความเชี่ยวชาญในการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีความรู้ มีแนวทางการพึ่งพาตนเองและนำไปปรับใช้ได้จริงกับพื้นที่ของตัวเอง โอกาสที่ได้รับ ตอบโจทย์กับสิ่งที่ทำ อุ้ม ได้นำเสนอความคิดนี้กับมูลนิธิเอสซีจีและได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดอบรมการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการสร้างพื้นที่อาหาร การเก็บเมล็ดพันธุ์ และการทำนาเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและการทำเกษตรพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ ‘ต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19’ ที่บ้านอาจารย์ตุ๊หล่าง แก่นคำกล้า พิลาน้อย ต.ป่าติ้ว อ.กุดชุม จ.ยโสธร เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับข้าวหลากหลายสายพันธุ์
เด็กเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และการป้องกันเป็นพิเศษ หลังจากเริ่มเปิดภาคเรียนเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม แต่ละโรงเรียนมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้เด็กนักเรียนสวมหน้ากากอนามัย ระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน ล้างมือบ่อยๆ พกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้รวมกับผู้อื่น และเว้นระยะห่างเวลาทำกิจกรรมต่างๆ หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถสวมหน้ากากของผู้ใหญ่ได้ หน้ากากที่เหมาะสมจึงต้องมีลักษณะเฉพาะ เช่น ขนาดที่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งหน้ากากผ้าที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับเด็กนี้มีราคาค่อนข้างสูง เด็กในถิ่นทุรกันดารที่ครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอในการซื้อทำให้เด็กๆ เหล่านี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ โควิด-19 จากเด็กไปสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงชุมชนได้ หน้ากากผ้าเพื่อน้องๆ ในถิ่นทุรกันดาร มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์มอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็ก จำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท ให้กับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าระดับประถมต้น ป.1 – ป.4 เพื่อป้องกันตนเองจากการระบาดของโควิด-19 ภายใต้โครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 11