“อย่าปล่อยให้คำพูดของคนอื่นทำร้ายเรา เราต้องเปลี่ยนความคิดให้เรื่องแย่ๆ เป็นเหมือนสีสันที่เกิดขึ้นกับชีวิต เพราะชีวิตคนเราไม่ได้ราบรื่นหรือมีความสุขตลอดเวลามันต้องมีช่วงที่แย่บ้างก็ถือว่าเป็นสีสันไปค่ะ” (เสียงหัวเราะร่าเริง) ฝ้าย เล่าถึงเรื่องที่เคยถูกไซเบอร์บูลลี่เกี่ยวกับความพิการของเธอในช่วงที่กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักจากการไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้า การถูกคนในสังคมโซเชียลพูดดูหมิ่นครั้งนั้นทำให้ ฝ้าย รู้สึกแย่มากจนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในห้องเกือบมีอาการซึมเศร้า แต่ด้วยความฝันอันยิ่งใหญ่ที่อยากเก็บเงินซื้อบ้านให้กับพ่อแม่ทำให้ ฝ้าย เอาชนะความอคติของคน และมองข้ามความผิดปกติของร่างกายที่พิการของตัวเอง พร้อมลุกขึ้นมาเปิดไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้าอีกครั้ง จนเป็นที่รู้จักในฐานะบิวเตอร์บล็อกเกอร์ไร้แขนที่ใช้เท้าแต่งหน้าสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน บกพร่องเพียงแค่ร่างกาย แต่หัวใจแข็งแรง ฝ้าย-บุญธิดา ชินวงษ์ สาวน้อยตัวเล็กที่มีความผิดปกติทางร่างกายมาแต่กำเนิด ไร้แขนทั้งสองข้าง มีขาที่ยาวไม่เท่ากัน มีปอดข้างเดียว และมีอาการหลังคด ตอนที่ยังเล็กๆ หมอบอกกับแม่ของฝ้ายว่าจะมีอายุอยู่ได้แค่ 9 ปี เพราะว่ามีปอดแค่ข้างเดียว แต่ ฝ้าย ก็เจริญเติบโตผ่านวัยเด็กมาได้ด้วยร่างกายที่แข็งแรง ขณะนี้ ฝ้าย เรียนอยู่ปี 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ และมีอาชีพเป็นบิ้วตี้บล็อกเกอร์ที่โด่งดัง ความสดใส ร่าเริง ของฝ้าย ทำให้ใครๆ ที่ได้ยินก็มีความสุข จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกคนได้รับผลกระทบกันหมดรวมถึง ฝ้าย จากที่เคยมีงานจ้างให้รีวิวสินค้าผ่านการไลฟ์โชว์แต่งหน้าก็ไม่มีลูกค้ารายได้ไม่เข้า แม้จะเป็นคนร่าเริงแต่วิกฤตนี้ก็ทำให้ ฝ้าย เริ่มรู้สึกแย่กับตัวเองและมีความเครียดเหมือนกับหลายคนที่กำลังเผชิญอยู่ แต่ด้วยความที่เป็นคนมีพื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็ง ฝ้าย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับสงครามโรคระบาดที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าหมื่นคนต่อวัน เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนจึงไม่เพียงพอจนต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม ถึงแม้ว่าจะขยายโรงพยาบาลสนามและมีเครื่องช่วยหายใจที่เพียงพอ แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบด่านหน้าที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคระบาดไม่สามารถขยายเพิ่มได้ อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานหนักกันอยู่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับเชื้อ ทำงานภายใต้ภาวะความกดดันที่บีบคั้นทางใจและมีความรู้สึกเหนื่อยล้า หากบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจะยิ่งทำให้อัตรากำลังนักรบด่านหน้าลดลงทันที ดังนั้นการมีอุปกรณ์เสริมที่สามารถเป็นเกราะป้องกันให้เหล่านักรบ ด่านหน้ามีความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ห้องเอกซเรย์ หัวใจหลักในการวินิจฉัย เพื่อรักษาผู้ป้วยโควิด-19 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน หนึ่งในโรงพยาบาลสนามที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวและสีเหลือง จำนวน 700 เตียง ในแต่ละวันต้องรับผู้ป่วยกว่า 200 ราย โดยแต่ละรายต้องเอกซเรย์ปอดประมาณ 3-4 ครั้ง และบางรายมีอาการปอดอักเสบจะต้องเอกซเรย์มากกว่านั้น ซึ่งหากพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบก็สามารถให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วมากขึ้น ดังนั้นการเอกซเรย์ปอดจึงมีความสำคัญในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงและรีบให้การรักษาได้ทันท่วงที แต่ด้วยข้อจำกัดของตู้เอกซเรย์ปอดของโรงพยาบาลฯ ที่เป็นเพียงตู้กระจกใสตู้ที่ผู้ป่วยจะต้องเข้าไปยืนแล้วใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ในตู้ นอกจากความไม่สะดวกสบายของผู้ป่วยที่ต้องเข้าไปเอกซเรย์แล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ด้วยความห่วงใยและเพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นนักรบด่านหน้าให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบของผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 มูลนิธิเอสซีจีจึงมอบห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ มูลค่า 2 ล้านบาท ห้องแรกของประเทศไทย ให้กับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เพื่อเป็น เกราะป้องกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์บุคลากรทางการแพทย์ ห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ (Modular X-Ray Unit) เป็นนวัตกรรมแรกของไทยที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ โดยทีม Living solution SCG
พลิกวิกฤตเปลี่ยนชีวิตสู่เจ้าของฟาร์มปูนา มีรายได้หลักแสนต่อเดือน และช่วยชุมชนให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน นิม – นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ เจ้าของฟาร์มปูนา จังหวัดอุดรธานี การได้ไปทำงานต่างประเทศเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนใฝ่ฝันเพราะเงินรายได้ที่ได้รับสูงกว่าเมื่อเทียบกับทำงานในประเทศแม้ว่าจะต้องอยู่ห่างไกลครอบครัวก็ยอมแลกเพื่อมีเงินจุนเจือเลี้ยงดูตัวเองและส่งให้ครอบครัว กระทั่งปลายปี 2562 เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขึ้นที่มลฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน และเริ่มแพร่ระบาดกระจายทั่วทั้งประเทศจีนรวมถึงลามออกไปยังประเทศอื่น ๆ ผู้คนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศจีนในตอนนั้นต้องเดินทางกลับประเทศเช่นเดียวกับ นิม-นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ สาวอุดรฯ วัย 28 ปีที่ทำงานอยู่ประเทศจีนถูกยกเลิกงานโดยไม่มีกำหนดจากพิษโควิด-19 ต้องกลับบ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลากลับไปทำงานเป็นปีแต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะได้กลับไปจนเงินเก็บที่มีใกล้หมด กระทั่งได้พบกับโอกาสทำฟาร์มเลี้ยงปูนาจนสามารถพลิกชีวิตจากคนตกงานเป็นเจ้าของฟาร์มปูนาสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน พร้อมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปูนาส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จุดเริ่มต้นจากการแชร์ นิม ทำงานอยู่เอเจนซี่ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เป็นนายหน้าส่งคนไทยไปทำงานที่ประเทศจีนซึ่งเป็นงานจัดแสดงสินค้าหรืองานแฟร์ที่มีการแสดงโชว์เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมไทย เช่น รำไทย มวยไทย เป็นต้น นิมเพิ่งได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เพียงสามเดือนก็เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีน แล้วช่วงต้นปี 2563 บริษัทยกเลิกงานแล้วส่งพนักงานกลับประเทศโดยไม่มีกำหนด นิมกลับมาอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลาที่จะบินกลับไปทำงานเกือบปีจนเงินเก็บเริ่มร่อยหรอ วันหนึ่งแม่แชร์เฟซบุ๊กเพจของฟาร์มเลี้ยงปูนา นิมเห็นสิ่งที่แม่แชร์ก็รู้สึกสนใจและมองเห็นโอกาสจึงปรึกษากับแม่ว่าจะลองเลี้ยงปูนาเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขาย ประกอบกับบ้านที่อยู่เป็นบ้านสวนมีพื้นที่หลังบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 งาน จึงวางแผนจะใช้พื้นที่หลังบ้านทำเป็นฟาร์มเลี้ยงปูนา แรกเริ่มแม่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงปูนาเหตุเพราะนิมไม่เคยทำการเกษตรเพาะเลี้ยงอะไรมาก่อนกลัวว่าจะลงทุนไปแล้วเสียเปล่า แต่นิมมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเริ่มต้นลองทำอะไรใหม่
ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ขอแค่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด คริส โปตระนันทร์ นักกฎหมายผู้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และร่วมก่อตั้งกลุ่ม “เส้นด้าย” รถรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยมักรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์กับครอบครัว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา เหตุการณ์การสูญเสียครั้งนี้ เป็นการจุดประเด็นให้คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง คริส โปตระนันทน์นักกฎหมายร่วมกับเพื่อนตั้งกลุ่มประชาชนอาสาในนาม “เส้นด้าย” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19ที่ประสบปัญหาการเดินทางไปเข้ารับการตรวจรักษาโดยไม่แพร่เชื้อแก่ประชาชน ความสูญเสียคือจุดเริ่มต้นของกลุ่มเส้นด้าย “เราเห็นสถานการณ์ที่หลายฝ่ายต้องเจอกับความยากลำบากในช่วงนั้น คือการจัดหารถรับ-ส่งผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากผู้มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการ เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงอาจทำให้การรักษาล่าช้า ซึ่งบางรายต้องรอรับการรักษาอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งสายไปจนเกิดความสูญเสีย” จากเหตุการณ์การสูญเสียของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงทีจึงเป็นสาเหตุให้คุณคริสปรึกษากับเพื่อน ๆ ที่มีทั้ง นักกฎหมาย แพทย์ และกู้ภัย ร่วมกันตั้งกลุ่มอาสาสมัครขึ้นมาชื่อว่า “เส้นด้าย” เพื่อให้บริการรถรับ-ส่งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พาผู้ป่วยติดเชื้อไปโรงพยาบาลหรือผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจโดยทีมเส้นด้ายช่วยประสานหาคิวตรวจให้ โดยสมาชิกในกลุ่มต่างนำทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ อาทิ รถกระบะที่นำไปติดหลังคาแครี่บอยสำหรับให้ผู้ป่วยติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงนั่งอยู่ข้างหลังเพื่อความปลอดภัยระหว่างการรับ-ส่ง และโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาทำเป็นเบอร์ Call Center สำหรับให้คนติดต่อ เป็นต้น “ผมก็เลยเริ่มกันเลยครับเพราะผมมีรถกระบะอยู่หลายคัน แล้วก็ไล่โทรศัพท์หาเพื่อนว่ามีใครมีรถกระบะเพิ่มบ้างส่วน Call Center ก็ไม่ได้มีอะไรยากใครมีโทรศัพท์เครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้ เรานำทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้เอามาช่วยกัน วันนั้นเป็นวันที่ 27 เมษายน ก็เลยตั้งเพจกัน
ขณะนี้คนไทยกำลังให้ความสนใจกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 และมีความตื่นตัวในการลงทะเบียนจองคิวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้หลายคนลืมเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาทิ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีด 1 เข็มทุกปี หรือวัคซีนโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีจำนวนหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุแล้วเป็นชนิดที่รุนแรงก็จะทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา และสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป การจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุดระบบการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 มีการปรับแผนใหม่โดยให้ชะลอการลงทะเบียนผ่าน LINE Official หมอพร้อมไว้ก่อน และให้แต่ละจังหวัดเริ่มดำเนินการเปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนในพื้นที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแทน ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนกับระบบหมอพร้อมไว้แล้วให้เป็นไปตามนัดหมายเดิม โดยระบบยังคงทำหน้าที่ติดตามการฉีดเข็มที่ 1, 2 ติดตามการรายงานผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน และออกใบรับรองการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-59 ปี และไม่ได้เป็นผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถลงทะเบียนได้ผ่าน3 ช่องทาง ดังนี้1. กลุ่มเข้าร่วมโครงการรัฐบาล อย่าง “เราชนะ” และ “คนละครึ่ง” สามารถลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านแอปฯ เป๋าตัง2. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com3. ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ ได้แก่
โควิด-19 ระลอกใหม่ สายพันธุ์อังกฤษ กำลังระบาดหนักในไทย ซึ่งมาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง เนื่องด้วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการทำให้การแพร่ระบาดกระจายอย่างรวดเร็วเกิดซูเปอร์ สเปรดเดอร์ (Super Spreader) และติดเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ปกติประมาณ 1.7 เท่า ซึ่งตอนนี้โควิดสายพันธุ์อังกฤษกำลังแพร่กระจายระบาดอยู่ในหลายประเทศ
ดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน แพท-นัดดา ทุพแหม่ง ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 4 “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี สู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน” แพท-นัดดา ทุพแหม่ง สาวสกลนครที่เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ สิบกว่าปีรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงอีกต่อไป จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดสกลนครเพื่อเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ที่หน้าบ้านควบคู่ไปกับการเลี้ยงไก่ไข่เป็นรายได้เสริม ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 คุณแพทไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากวิกฤตครั้งนี้เนื่องจากมีอาชีพทำกินที่บ้าน จึงมีรายได้เลี้ยงดูตัวเอง และในขณะเดียวกันคุณแพทได้ช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตให้พอลืมตาอ้าปากได้จากการเข้าร่วมโครงการ ‘ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีสู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน’ บ้าน คือ จุดเริ่มต้นของความรักและการแบ่งปัน บ้าน ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย บ้าน คือ ที่พักพิงจิตใจ มีความรัก ความอบอุ่นปลอดภัย และความผูกพันของคนในครอบครัวอยู่ในบ้านหลังนั้น แต่แล้ววันหนึ่งที่สมาชิกในบ้านพากันจากไป บ้านที่เป็นดังลมหายใจของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งก็มืดลงคุณแพทมีสมาชิกในบ้านคือ พ่อ แม่ และพี่ชาย พ่อของคุณแพทเสียชีวิตก่อนที่คุณแพทกลับไปอยู่บ้าน หลังจากนั้นได้ซักพักแม่และพี่ชายของคุณแพทก็เสียชีวิตไปในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้คุณแพทต้องอยู่คนเดียวจนเป็นโรคซึมเศร้า เคยคิดสั้นหลายครั้งกระทั่งครั้งล่าสุดคุณแพทเดินถือเชือกไปยังมุมของบ้านเพื่อที่จะจบชีวิตตัวเองตามครอบครัวไป มีกลุ่มเด็กแว้นในหมู่บ้าน ขับรถมอเตอร์ไซต์ผ่านไปมาส่งเสียงดังทำให้คุณแพทวางเชือกแล้วเดินออกมาหน้าบ้านตะโกนต่อว่าเด็กกลุ่มนั้นว่า“ไม่ทำตัวให้มีประโยชน์อะไรเลยเหรอ?” เด็กตะโกนสวนกลับมาว่า “ไม่รู้จะไปทำอะไร” คุณแพทจึงชวนเด็กแว้นกลุ่มนั้นไปล้างห้องน้ำวัด จากนั้นก็กลายเป็นการรวมกลุ่มเด็กเยาวชนในหมู่บ้านหลายสิบคนคุณแพทก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพาใจเฮ็ดบ้านแป้น ซึ่งนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่คุณแพทคิดสั้นหลังจากนั้นไม่เคยมีความคิดแบบนั้นอีกเลย “จากบ้านที่เคยมีเสียงคนคุยกันกลับไม่มีใครเลยซักคน ช่วงนั้นลุกขึ้นมาร้องไห้ทุกคืนแบบคนไร้สติเลยค่ะ ความรู้สึกเหมือนหมาน้อยตัวหนึ่งที่เดินตากฝนมองหาใครไม่เจอ หิวข้าวก็หิว เลยคิดว่าไม่อยู่แล้วไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไมเพราะไม่มีใครเหลือแล้วพอมาถึงจุดนี้แล้วเรามองย้อนกลับไปต้องขอบคุณเด็ก
การต่อสู้กับโควิดระลอกใหม่กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจังหวัดสมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 คน และยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกต่อไป นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันและตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือศูนย์กักกัน คนเหล่านี้ใส่ “เสื้อสีฟ้า” พวกเขาคือ “หมออนามัย” ซึ่งปฏิบัติงานอย่างหนักเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 หมออนามัย คือใคร “หมออนามัย” หรือนักรบเสื้อฟ้า คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ (SWAB) งานทางระบาดวิทยา (การคัดกรอง การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน (การตรวจเยี่ยม/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมติดตามตรวจเคสที่ถูกกักกัน 14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องแก่ประชาชน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ผู้นำกองกำลังนักรบเสื้อฟ้าฟันฝ่าโควิด จากที่ทราบดีว่าตลาดกลางกุ้งเป็นศูนย์กลางระบาดของเชื้อโควิด-19 และในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครมีโรงงานกว่า
หลังจากการกลับมาของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ได้มีการยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” กับ “ไทยชนะ” ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อขจัดข้อสงสัยเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองแอปฯ ถึงวัตถุประสงค์การใช้งานและความจำเป็นในการดาวน์โหลดติดตั้ง