Skip to content

วิกฤตสร้างโอกาส สู่การพึ่งพาตัวเอง อย่างยั่งยืน

คุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง โอกาส คือ สิ่งที่ทุกคนสามารถหยิบยื่นให้กันได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ที่ช่วยให้ชีวิตยังไปต่อได้ ซึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ เราต่างก็เห็นผู้คนลุกขึ้นมาช่วยเหลือ แบ่งปันน้ำใจให้แก่กันและกัน ในรูปแบบที่ตัวเองสามารถทำได้ เช่นเดียวกับ โครงการปันโอกาส โดยมูลนิธิเอสซีจี ที่เปิดโอกาสให้พนักงานเอสซีจีได้รวมตัวกันแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนำความรู้ความสามารถที่มีไปทำประโยชน์ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ พนักงานได้เสนอโครงการ ที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือ สังคมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกกว่า 20 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการห้องเรียนสร้างบุญเรียนรู้ สู่ความมั่นคงทางอาหาร” โดยคุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับโครงการที่เขาลงมือทำร่วมกับชุมชน ตำบล เบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งมอบความรู้และเทคนิคการปลูกผักหาเลี้ยงชีพให้กับคนในชุมชน แก้ปัญหาความเดือนร้อนของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยการ “ให้เบ็ด” แทนการ “ให้ปลา” ตามรอย “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดนั้นไปหาปลากินได้ทุกเมื่อ ปลูกความรู้

ส่งมอบความห่วงใย สร้างการตระหนักรู้ ให้เด็กไทยห่างไกลโควิด

มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย จึงร่วมกันจัดโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19 โดยเริ่มต้นด้วยการส่งมอบหน้ากากผ้า 100,000 ชิ้น ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าทั่วประเทศ รวมถึงการจัดประกวดวาดภาพระบายสีเพื่อให้เด็กไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและป้องกันตัวเองในชีวิตประจำวัน ส่งหน้ากากผ้าถึงน้องๆ หน้ากากผ้า ถึงมือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งน้องๆ จะได้รับคนละ 2 ชิ้น เพื่อใช้สลับกันโดยหน้ากากผ้าสำหรับเด็กนี้มีขนาดเหมาะกับใบหน้าของเด็กด้วยการเสริมโครงลวดที่จมูกเพื่อให้กระชับใบหน้า พร้อมสายคล้องหูปรับขนาดได้ ปลอดภัยด้วยการใช้ผ้าฝ้ายออร์แกนิค 100%มีสีสันดึงดูดให้น่าใช้และเด็กๆ สามารถเขียนชื่อตัวเองที่หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการสลับหรือสูญหาย อีกทั้งยังมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมให้ความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใส่หน้ากาก การล้างมือ อย่างถูกวิธี หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้เด็กไทยได้สวมหน้ากากผ้าที่เหมาะสมอีกทั้งยังช่วยให้เด็กสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลโควิด-19 รวมถึงการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากเด็กสู่เด็ก หรือจากเด็กสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงคนในชุมชนได้อีกด้วย จินตนาการสู่ภาพวาด “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” นอกจากการส่งมอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็กแล้วมูลนิธิเอสซีจียังจัดประกวดวาดภาพระบายสีโดยให้เด็กทั่วประเทศที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่งภาพวาดเข้าประกวดในโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก โควิด-19 รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องอยู่ร่วมกันที่โรงเรียน โดยมีเงินรางวัลรวม 160,000 บาท และถ้วยรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากประธานมูลนิธิธรรมมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งมีน้องๆ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ช่อง One 31 ให้การสนับสนุนงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ในรายการ “เก่งจริงชิงค่าเทอม”

"เก่งจริงชิงค่าเทอม" รายการเกมโชว์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่เรียนดี เกรดเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป แต่ไม่มีทุนการศึกษา

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าเตรียมความพร้อม​ เพิ่มศักยภาพให้ให้เยาวชนไทยสู่การแข่งขันระดับโลก พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้อย่างเต็มที่​

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สานต่อเรื่องการเก็บตัวฝึกซ้อมนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี เพื่อส่งเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46

มูลนิธิเอสซีจีมอบรางวัลประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัลและประกาศนียบัตรแก่น้องๆ ทั้งในระดับประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)

อสม.หญิง ซุปเปอร์ฮีโร่ของชุมชนบ้านน้ำตวง จ.น่าน

อสม.คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณค่า เป็นคนที่ทุ่มเทเสียสละทำเพื่อหมู่บ้าน ทำเพื่อทุกคนในครอบครัวทำด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ อย่างไม่รู้จักย่อท้อเพื่อให้ทุกคนในชุนชมอุ่นใจและมีความสุข ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ติดตามการทำงานของ อสม.หญิง ซุปเปอร์ฮีโร่ของชุมชนบ้านน้ำตวง จ.น่าน  ที่การันตีว่าทุกตารางนิ้วปลอดผู้ติดเชื้อ

เรียนรู้ ต่อยอด สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง

เรียนรู้ ต่อยอด สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง น้อย – รังสรรค์ แก้วสุสวรรณ หนึ่งในผู้ร่วมโครงการปันโอกาส ส่งเสริมรายได้จากการแปรรูปอาหารทะเลแดดเดียว ในช่วงเช้ามืดของทุกวันกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกว่า 30 ลำ ของบ้านปากคลองตากวน ต.มาบตาพุด จ.ระยอง จะออกเรือแล่นสู่ทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย และปลาหมึก เพื่อนำมาขายที่ตลาดแพปลาที่มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อของทะเลไปขายต่อให้กับนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และโรงแรม ทำให้ชาวประมงเรือเล็กมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงชุมชนเล็กๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรือเล็กที่ออกจากฝั่ง กลับเข้าฝั่งมาด้วยความเศร้า “ชาวบ้านยังชีพด้วยการออกเรือไปหาปลามาขาย เมื่อเกิดโควิด-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ของกลุ่มชาวประมงต้องหยุดชะงัก เพราะเอาไปขายไม่ได้เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว อีกทั้งธุรกิจโรงแรมก็ซบเซาร้านอาหารทะเลก็ปิดกระทบเป็นลูกโซ่ ชาวบ้านที่จับสัตว์ทะเลมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไง” คำบอกเล่าของพี่น้อย-รังสรรค์ แก้วสุวรรณ พนักงานธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านชุนชนบ้านปากคลองตากวนได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวประมงเรือเล็กของชาวบ้านที่ขาดรายได้ในช่วงนี้ จากเดิมที่มีเรือประมงหลายสิบลำออกไปจับสัตว์น้ำแต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ลำเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยว ตลาดแพปลาปิด แต่ชาวประมงบางคนก็ยังต้องออกเรือไปหาสัตว์น้ำ อย่างน้อยสามารถนำมาทำอาหารกินเลี้ยงชีวิตตัวเองและครอบครัวให้พอดำรงอยู่ได้ ให้แนวคิดการแปรรูปอาหารกับชาวบ้าน เพื่อการเรียนรู้และปรับตัวให้อยู่รอด ปัญหาการขาดรายได้ของชาวประมงชุมชนบ้านปากคลองตากวนทำให้พี่น้อยและทีมได้ร่วมหาแนวทางและช่องทางการขายให้กับชาวบ้าน จนได้แนวความคิดการแปรรูปอาหารทะเล ด้วยการทำเป็นปลาแดดเดียว ปลาหมึกอบแห้ง ปลาเค็มหรือตากแห้ง

ประกาศผล​ การตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

ผลการตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ ประถมศึกษาตอนปลาย

มอบกำลังใจให้นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี เก็บตัวฝึกซ้อมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วย​ คุณอนุวัฒน์ จงยินดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิเอสซีจี และ คุณวรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปเยี่ยม​ชมการเก็บตัวฝึกซ้อมและให้กำลังใจ​กับนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี