สร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง คือแนวคิดต้นแบบ ก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร มีความสนใจเรื่องของพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สวนสาธารณะในตัวเมืองเชียงใหม่ที่มีความหลากหลาย สามารถให้คนทุกระดับเข้าถึงได้ซึ่ง Community Garden คือรูปแบบของพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ คุณตี๋ ให้ความสนใจและคิดว่าควรจะมีพื้นที่สีเขียวรูปแบบนี้ในเมืองเชียงใหม่ หลังจากได้แนวคิดก็เริ่มหาข้อมูล และสำรวจพื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อดูว่าพอจะมีพื้นที่ใดบ้างที่นำมาปรับให้เป็นพื้นที่สีเขียวคุณภาพให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนสวนผักคนเมืองเชียงใหม่เกิดขึ้นจากการที่เคยลงพื้นที่สำรวจ แล้วพบว่าตัวเมือเชียงใหม่มีพื้นที่รกร้างกระจายอยู่ในเมืองเชียงใหม่มากมายที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ จึงได้นำเสนอกับเทศบาลนครเชียงใหม่ จนได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า เนื้อที่ประมาณ 2.5 ไร่ มาใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ผลิตอาหารคือปลูกผักและให้การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารในชื่อโคงการ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่” โดยมีกลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอที่เรียกว่าคณะผู้ก่อการเป็นหัวแรงสำคัญ ทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ “วิกฤตโควิด-19 มีประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเมืองเกิดขึ้นในช่วงที่ล็อคดาวน์ คนตกงานต้องไปต่อคิวรับอาหารที่แจกฟรี ผมเลยคิดว่าถ้ามีพื้นที่ Community Garden หรือ Urban Farm ที่เป็นพื้นที่ปลูกผักเพื่อเอาไว้เก็บกินและเป็นที่เรียนรู้ให้กับคนในเมืองน่าจะเป็นประโยชน์มาก เพราะการปลูกผักกินเองเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในเมือง”คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร กล่าว จากพื้นที่รกร้าง สู่อาหารช่วยคนไร้บ้าน พื้นที่ทำโครงการสวนผักคนเมืองเดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีกองขยะสูง 4 เมตร เป็นของเทศบาลฯ ซึ่งอยู่ติดกับคลองแม่ข่า คณะผู้ก่อการ (กลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ) ได้เปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยจัดสรรพื้นที่เป็น โซนผักหมุนเวียน โซนผลไม้ ต้นไม้ และมีพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งการจัดการระบบของสวนผัก คนเมืองมีอยู่ 3
พิษโควิดกับ วิกฤตน้อง 4 ขา วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบกับคนเท่านั้นแต่มีผลต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างบรรดาสัตว์สี่ขาทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย สุนัข และแมว เป็นต้น ที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเจ็บป่วยล้มตาย บ้านช้างจุดเริ่มต้นที่พักพิงของสัตว์น้อยใหญ่ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือช้างไทย รณรงค์ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศ ก่อตั้งโดย คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ จุดเริ่มต้นจากช้าง 9 เชือก ที่เป็นช้างลากไม้และช้างในคณะละครสัตว์ที่ปลดระวางและมีเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาช้างป่าที่พื้นที่ป่าถูกลุกล้ำจากสภาพแวดล้อม ไฟป่า หรือการคุกคามของมนุษย์ ทำให้มูลนิธิฯ ต้องดูแลช้างเหล่านี้โดยมีบ้านให้พวกช้างอยู่เป็นหลักแหล่ง ด้วยความที่ คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ได้เห็นสัตว์ที่ทุกข์ทรมาน เช่น สุนัขจรจัดนอนบาดเจ็บอยู่ข้างถนน แมวแร่รอนผอมโซ จึงนำกลับมารักษาและให้อยู่ที่มูลนิธิฯ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือสัตว์ยากไร้อื่น ๆ นอกเหนือจากช้างก็มีตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ม้า วัว ควาย กระต่าย ลิง สุนัข และแมว
มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับสำนักงานภาคใต้ และผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ จำนวน 400 ชุด แก่ผู้ประสบอุทกภัย ใน อ.เมือง อ.สิชล และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความห่วงใย เป็นกำลังใจไปสู่พี่น้องให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน
"น้องฟ้าใส - อนันตญา ชินวงศ์" และ "น้องเจมส์ - โยธิน บุญยงค์" นักเรียนทุน Sharing the dream โดยมูลนิธิเอสซีจี เข้าร่วมกิจกรรม "The 1st Youth Symposium on SDGs" เวทีหารือของเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ครั้งที่ 1
"คุณสุวิมล จิวาลักษณ์" กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี นำทีมพาน้องๆ ต้นกล้าชุมชน ที่ขับเคลื่อนงานด้านการเกษตร ศึกษาดูงานเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่
คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี เป็นประธานในงานประกาศผล มอบรางวัล และเปิดนิทรรศการ โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 (Young Thai Artist Award 2019)
มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่สนับสนุนการเรียนอาชีวศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มอบทุนการศึกษารวมกว่า 1.5 ล้านบาท แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ที่เข้าร่วมศูนย์ความเป็นเลิศทางอาชีวศึกษา (Excellent Center)
มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งมั่นพัฒนาคน และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้ดำเนินโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 (Young Thai Artist Award 2020) รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ
SCG Foundation, a public charity focusing on empowering people and promoting youth's ability, is hosting the Young Thai Artist Award 2020 for a trophy bestowed by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn.
แลกเปลี่ยน ข้าวกับปลา ฝ่าวิกฤติ คุณไมตรี จงไทรจักร์ กรรมการและผุ้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ในสมัยโบราณมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายมีการเพาะปลูกและผลิตอาหารเพื่อบริโภคกันภายในครัวเรือน ต่อมามนุษย์เริ่มมีการติดต่อกันระหว่างครัวเรือน ความต้องการในการบริโภคก็เปลี่ยนไป เริ่มมีรูปแบบการแลกเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของหรือผลผลิตที่มีไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ต้องการกับครัวเรือนอื่นตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ หลังจากนั้นมนุษย์พบรูปแบบการแลกเปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดสิ่งของบางอย่างให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนนั่นคือ เงิน และเงินจึงถูกใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน แต่หลายครั้งที่เกิดสถานการณ์วิกฤตที่ เงิน ไม่สามารถเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ เช่น วิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้คนได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจและอาชีพที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นหลัก ช่วงที่ปิดประเทศไม่มีนักท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็ดำเนินไปไม่ได้ จำเป็นต้องปิดตัวและพนักงานถูกเลิกจ้าง ชุมชนชาวบ้านที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยดังเช่น ชุมชนชาวเลที่ทำอาชีพประมง จุดเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนข้าวกับปลา ช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ชุมชนชาวเล โดยเฉพาะจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันแทบทุกครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะพึ่งพารายได้หลักจากการท่องเที่ยว ชาวเลที่จับปลาเป็นอาชีพหาเช้ากินค่ำแทบไม่มีเงินซื้อข้าวกิน เช่นเดียวกับชุมชนทางภาคเหนือและภาคอีสานก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดจังหวัดเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านในชุมชนขาดรายได้และไม่มีเงินพอที่จะหาซื้ออาหารมาประทังชีวิตคนภายในครอบครัว มูลนิธิชุมชนไท เป็นองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการพัฒนาคนจนในเมืองและชนบท มองเห็นถึงปัญหานี้จึงร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายประสานความร่วมมือกันเปิดพื้นที่ให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้ใช้ศักยภาพด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่มีของชุมชน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่มาของ “โครงการข้าวชาวนาแลกปลาชาวเล” เริ่มต้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต นำปลาจากท้องทะเลมาแปรรูปตากแห้งเพื่อส่งไปแลกกับข้าวสารจาก ชาวปกาเกอะญอ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ทำการตกลงกัน การแลกเปลี่ยนสัดส่วนอยู่ที่ ¼ คือ ปลา 1