เอสซีจีและมูลนิธิเอสซีจี เร่งส่งมอบนวัตกรรมโควิด 19 เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในภาวะเร่งด่วน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้หลายโรงพยาบาลเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่ให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 15-25 ปี ทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาปลดล็อคพรสวรรค์ ประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2564 หรือ Young Thai Artist Award 2021
แม้เป็นช่วงสงกรานต์ เราก็ไม่หยุดส่งความช่วยเหลือ ยังคงเดินหน้าการช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้ มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP ร่วมส่งมอบ "เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” และมุ้ง จำนวน 200 ชุด ให้แก่โรงพยาบาลสนาม
มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูปจำนวน 8 ห้อง มูลค่า 640,000 บาท ให้โรงพยาบาลสนามของกรุงเทพมหานคร โดยมี นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ นพ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เป็นตัวแทนรับมอบ
การต่อสู้กับโควิดระลอกใหม่กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจังหวัดสมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 คน และยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกต่อไป นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันและตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือศูนย์กักกัน คนเหล่านี้ใส่ “เสื้อสีฟ้า” พวกเขาคือ “หมออนามัย” ซึ่งปฏิบัติงานอย่างหนักเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 หมออนามัย คือใคร “หมออนามัย” หรือนักรบเสื้อฟ้า คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ (SWAB) งานทางระบาดวิทยา (การคัดกรอง การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน (การตรวจเยี่ยม/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมติดตามตรวจเคสที่ถูกกักกัน 14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องแก่ประชาชน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ผู้นำกองกำลังนักรบเสื้อฟ้าฟันฝ่าโควิด จากที่ทราบดีว่าตลาดกลางกุ้งเป็นศูนย์กลางระบาดของเชื้อโควิด-19 และในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครมีโรงงานกว่า
หลังจากการกลับมาของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ได้มีการยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” กับ “ไทยชนะ” ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อขจัดข้อสงสัยเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองแอปฯ ถึงวัตถุประสงค์การใช้งานและความจำเป็นในการดาวน์โหลดติดตั้ง
การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์ แรงงานต่างด้าวโดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการซึ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแรงงานต่างด้าวพักอยู่รวมกันอย่างแออัดจึงเกิดการติดเชื้อจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมกว่า 27,494 คน (ยอด ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564) และกระจายไปกว่า 30 จังหวัด มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยในความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องทันทีทั้งทางด้านนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและให้กำลังใจกับนักรบแถวหน้าและผู้ป่วยผ่านสื่อต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร” ขึ้น จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง โดย ณ เวลานั้นศูนย์ห่วงใยคนสาครบางแห่งยังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อที่อยู่ในศูนย์ฯ มูลนิธิเอสซีจีพร้อมเพื่อนพนักงานเอสซีจี และชมรมช้างปูนเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูปลดเสี่ยงติดเชื้อ (Modular Bathroom)” ทั้งหมด 32 ห้อง แยกชาย-หญิง และผู้สูงอายุ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 3,400,000 บาท มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร”เทศบาล ตำบลนาดี วัฒนาแฟลคตอรี่
มูลนิธิเอสซีจี ต้อนรับทีมงานมูลนิธิสายธาร เครือเบทาโกร นำโดยคุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการมูลนิธิสายธาร และ คุณนิวิฐ ตั้งเลิศไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิสายธาร
“โอมเริ่มต้นแรงบันดาลใจในการทำความดี จากการเห็นลูกพี่ลูกน้องทำงานกู้ภัย บวกกับตัวเองเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดแพร่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ผู้เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ พ่วงแบตเตอรี่ ลากรถ เก็บศพ อื่นๆ ก็ทำหมด ตลอด 24 ชม.ครับ
“ช่วงนี้ของผมก็คงเหมือนกับเพื่อนๆ คนอื่นๆ ต้องเรียนออน์ไลน์ที่บ้าน แต่อาจจะต่างตรงที่ว่าทางบ้านของผมฐานะค่อนข้างลำบาก ผมจึงต้องทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เหนื่อยแต่ก็ทำได้ครับ