“อย่าปล่อยให้คำพูดของคนอื่นทำร้ายเรา เราต้องเปลี่ยนความคิดให้เรื่องแย่ๆ เป็นเหมือนสีสันที่เกิดขึ้นกับชีวิต เพราะชีวิตคนเราไม่ได้ราบรื่นหรือมีความสุขตลอดเวลามันต้องมีช่วงที่แย่บ้างก็ถือว่าเป็นสีสันไปค่ะ” (เสียงหัวเราะร่าเริง) ฝ้าย เล่าถึงเรื่องที่เคยถูกไซเบอร์บูลลี่เกี่ยวกับความพิการของเธอในช่วงที่กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักจากการไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้า การถูกคนในสังคมโซเชียลพูดดูหมิ่นครั้งนั้นทำให้ ฝ้าย รู้สึกแย่มากจนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในห้องเกือบมีอาการซึมเศร้า แต่ด้วยความฝันอันยิ่งใหญ่ที่อยากเก็บเงินซื้อบ้านให้กับพ่อแม่ทำให้ ฝ้าย เอาชนะความอคติของคน และมองข้ามความผิดปกติของร่างกายที่พิการของตัวเอง พร้อมลุกขึ้นมาเปิดไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้าอีกครั้ง จนเป็นที่รู้จักในฐานะบิวเตอร์บล็อกเกอร์ไร้แขนที่ใช้เท้าแต่งหน้าสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน บกพร่องเพียงแค่ร่างกาย แต่หัวใจแข็งแรง ฝ้าย-บุญธิดา ชินวงษ์ สาวน้อยตัวเล็กที่มีความผิดปกติทางร่างกายมาแต่กำเนิด ไร้แขนทั้งสองข้าง มีขาที่ยาวไม่เท่ากัน มีปอดข้างเดียว และมีอาการหลังคด ตอนที่ยังเล็กๆ หมอบอกกับแม่ของฝ้ายว่าจะมีอายุอยู่ได้แค่ 9 ปี เพราะว่ามีปอดแค่ข้างเดียว แต่ ฝ้าย ก็เจริญเติบโตผ่านวัยเด็กมาได้ด้วยร่างกายที่แข็งแรง ขณะนี้ ฝ้าย เรียนอยู่ปี 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ และมีอาชีพเป็นบิ้วตี้บล็อกเกอร์ที่โด่งดัง ความสดใส ร่าเริง ของฝ้าย ทำให้ใครๆ ที่ได้ยินก็มีความสุข จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกคนได้รับผลกระทบกันหมดรวมถึง ฝ้าย จากที่เคยมีงานจ้างให้รีวิวสินค้าผ่านการไลฟ์โชว์แต่งหน้าก็ไม่มีลูกค้ารายได้ไม่เข้า แม้จะเป็นคนร่าเริงแต่วิกฤตนี้ก็ทำให้ ฝ้าย เริ่มรู้สึกแย่กับตัวเองและมีความเครียดเหมือนกับหลายคนที่กำลังเผชิญอยู่ แต่ด้วยความที่เป็นคนมีพื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็ง ฝ้าย
พลิกวิกฤตเปลี่ยนชีวิตสู่เจ้าของฟาร์มปูนา มีรายได้หลักแสนต่อเดือน และช่วยชุมชนให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน นิม – นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ เจ้าของฟาร์มปูนา จังหวัดอุดรธานี การได้ไปทำงานต่างประเทศเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนใฝ่ฝันเพราะเงินรายได้ที่ได้รับสูงกว่าเมื่อเทียบกับทำงานในประเทศแม้ว่าจะต้องอยู่ห่างไกลครอบครัวก็ยอมแลกเพื่อมีเงินจุนเจือเลี้ยงดูตัวเองและส่งให้ครอบครัว กระทั่งปลายปี 2562 เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขึ้นที่มลฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน และเริ่มแพร่ระบาดกระจายทั่วทั้งประเทศจีนรวมถึงลามออกไปยังประเทศอื่น ๆ ผู้คนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศจีนในตอนนั้นต้องเดินทางกลับประเทศเช่นเดียวกับ นิม-นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ สาวอุดรฯ วัย 28 ปีที่ทำงานอยู่ประเทศจีนถูกยกเลิกงานโดยไม่มีกำหนดจากพิษโควิด-19 ต้องกลับบ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลากลับไปทำงานเป็นปีแต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะได้กลับไปจนเงินเก็บที่มีใกล้หมด กระทั่งได้พบกับโอกาสทำฟาร์มเลี้ยงปูนาจนสามารถพลิกชีวิตจากคนตกงานเป็นเจ้าของฟาร์มปูนาสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน พร้อมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปูนาส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จุดเริ่มต้นจากการแชร์ นิม ทำงานอยู่เอเจนซี่ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เป็นนายหน้าส่งคนไทยไปทำงานที่ประเทศจีนซึ่งเป็นงานจัดแสดงสินค้าหรืองานแฟร์ที่มีการแสดงโชว์เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมไทย เช่น รำไทย มวยไทย เป็นต้น นิมเพิ่งได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เพียงสามเดือนก็เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีน แล้วช่วงต้นปี 2563 บริษัทยกเลิกงานแล้วส่งพนักงานกลับประเทศโดยไม่มีกำหนด นิมกลับมาอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลาที่จะบินกลับไปทำงานเกือบปีจนเงินเก็บเริ่มร่อยหรอ วันหนึ่งแม่แชร์เฟซบุ๊กเพจของฟาร์มเลี้ยงปูนา นิมเห็นสิ่งที่แม่แชร์ก็รู้สึกสนใจและมองเห็นโอกาสจึงปรึกษากับแม่ว่าจะลองเลี้ยงปูนาเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขาย ประกอบกับบ้านที่อยู่เป็นบ้านสวนมีพื้นที่หลังบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 งาน จึงวางแผนจะใช้พื้นที่หลังบ้านทำเป็นฟาร์มเลี้ยงปูนา แรกเริ่มแม่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงปูนาเหตุเพราะนิมไม่เคยทำการเกษตรเพาะเลี้ยงอะไรมาก่อนกลัวว่าจะลงทุนไปแล้วเสียเปล่า แต่นิมมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเริ่มต้นลองทำอะไรใหม่
ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ขอแค่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด คริส โปตระนันทร์ นักกฎหมายผู้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และร่วมก่อตั้งกลุ่ม “เส้นด้าย” รถรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยมักรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์กับครอบครัว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา เหตุการณ์การสูญเสียครั้งนี้ เป็นการจุดประเด็นให้คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง คริส โปตระนันทน์นักกฎหมายร่วมกับเพื่อนตั้งกลุ่มประชาชนอาสาในนาม “เส้นด้าย” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19ที่ประสบปัญหาการเดินทางไปเข้ารับการตรวจรักษาโดยไม่แพร่เชื้อแก่ประชาชน ความสูญเสียคือจุดเริ่มต้นของกลุ่มเส้นด้าย “เราเห็นสถานการณ์ที่หลายฝ่ายต้องเจอกับความยากลำบากในช่วงนั้น คือการจัดหารถรับ-ส่งผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากผู้มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการ เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงอาจทำให้การรักษาล่าช้า ซึ่งบางรายต้องรอรับการรักษาอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งสายไปจนเกิดความสูญเสีย” จากเหตุการณ์การสูญเสียของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงทีจึงเป็นสาเหตุให้คุณคริสปรึกษากับเพื่อน ๆ ที่มีทั้ง นักกฎหมาย แพทย์ และกู้ภัย ร่วมกันตั้งกลุ่มอาสาสมัครขึ้นมาชื่อว่า “เส้นด้าย” เพื่อให้บริการรถรับ-ส่งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พาผู้ป่วยติดเชื้อไปโรงพยาบาลหรือผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจโดยทีมเส้นด้ายช่วยประสานหาคิวตรวจให้ โดยสมาชิกในกลุ่มต่างนำทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ อาทิ รถกระบะที่นำไปติดหลังคาแครี่บอยสำหรับให้ผู้ป่วยติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงนั่งอยู่ข้างหลังเพื่อความปลอดภัยระหว่างการรับ-ส่ง และโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาทำเป็นเบอร์ Call Center สำหรับให้คนติดต่อ เป็นต้น “ผมก็เลยเริ่มกันเลยครับเพราะผมมีรถกระบะอยู่หลายคัน แล้วก็ไล่โทรศัพท์หาเพื่อนว่ามีใครมีรถกระบะเพิ่มบ้างส่วน Call Center ก็ไม่ได้มีอะไรยากใครมีโทรศัพท์เครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้ เรานำทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้เอามาช่วยกัน วันนั้นเป็นวันที่ 27 เมษายน ก็เลยตั้งเพจกัน
ดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน แพท-นัดดา ทุพแหม่ง ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 4 “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี สู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน” แพท-นัดดา ทุพแหม่ง สาวสกลนครที่เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ สิบกว่าปีรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงอีกต่อไป จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดสกลนครเพื่อเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ที่หน้าบ้านควบคู่ไปกับการเลี้ยงไก่ไข่เป็นรายได้เสริม ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 คุณแพทไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากวิกฤตครั้งนี้เนื่องจากมีอาชีพทำกินที่บ้าน จึงมีรายได้เลี้ยงดูตัวเอง และในขณะเดียวกันคุณแพทได้ช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตให้พอลืมตาอ้าปากได้จากการเข้าร่วมโครงการ ‘ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีสู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน’ บ้าน คือ จุดเริ่มต้นของความรักและการแบ่งปัน บ้าน ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย บ้าน คือ ที่พักพิงจิตใจ มีความรัก ความอบอุ่นปลอดภัย และความผูกพันของคนในครอบครัวอยู่ในบ้านหลังนั้น แต่แล้ววันหนึ่งที่สมาชิกในบ้านพากันจากไป บ้านที่เป็นดังลมหายใจของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งก็มืดลงคุณแพทมีสมาชิกในบ้านคือ พ่อ แม่ และพี่ชาย พ่อของคุณแพทเสียชีวิตก่อนที่คุณแพทกลับไปอยู่บ้าน หลังจากนั้นได้ซักพักแม่และพี่ชายของคุณแพทก็เสียชีวิตไปในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้คุณแพทต้องอยู่คนเดียวจนเป็นโรคซึมเศร้า เคยคิดสั้นหลายครั้งกระทั่งครั้งล่าสุดคุณแพทเดินถือเชือกไปยังมุมของบ้านเพื่อที่จะจบชีวิตตัวเองตามครอบครัวไป มีกลุ่มเด็กแว้นในหมู่บ้าน ขับรถมอเตอร์ไซต์ผ่านไปมาส่งเสียงดังทำให้คุณแพทวางเชือกแล้วเดินออกมาหน้าบ้านตะโกนต่อว่าเด็กกลุ่มนั้นว่า“ไม่ทำตัวให้มีประโยชน์อะไรเลยเหรอ?” เด็กตะโกนสวนกลับมาว่า “ไม่รู้จะไปทำอะไร” คุณแพทจึงชวนเด็กแว้นกลุ่มนั้นไปล้างห้องน้ำวัด จากนั้นก็กลายเป็นการรวมกลุ่มเด็กเยาวชนในหมู่บ้านหลายสิบคนคุณแพทก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพาใจเฮ็ดบ้านแป้น ซึ่งนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่คุณแพทคิดสั้นหลังจากนั้นไม่เคยมีความคิดแบบนั้นอีกเลย “จากบ้านที่เคยมีเสียงคนคุยกันกลับไม่มีใครเลยซักคน ช่วงนั้นลุกขึ้นมาร้องไห้ทุกคืนแบบคนไร้สติเลยค่ะ ความรู้สึกเหมือนหมาน้อยตัวหนึ่งที่เดินตากฝนมองหาใครไม่เจอ หิวข้าวก็หิว เลยคิดว่าไม่อยู่แล้วไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไมเพราะไม่มีใครเหลือแล้วพอมาถึงจุดนี้แล้วเรามองย้อนกลับไปต้องขอบคุณเด็ก
การต่อสู้กับโควิดระลอกใหม่กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจังหวัดสมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 คน และยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกต่อไป นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันและตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือศูนย์กักกัน คนเหล่านี้ใส่ “เสื้อสีฟ้า” พวกเขาคือ “หมออนามัย” ซึ่งปฏิบัติงานอย่างหนักเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 หมออนามัย คือใคร “หมออนามัย” หรือนักรบเสื้อฟ้า คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ (SWAB) งานทางระบาดวิทยา (การคัดกรอง การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน (การตรวจเยี่ยม/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมติดตามตรวจเคสที่ถูกกักกัน 14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องแก่ประชาชน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ผู้นำกองกำลังนักรบเสื้อฟ้าฟันฝ่าโควิด จากที่ทราบดีว่าตลาดกลางกุ้งเป็นศูนย์กลางระบาดของเชื้อโควิด-19 และในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครมีโรงงานกว่า
สร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง คือแนวคิดต้นแบบ ก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร มีความสนใจเรื่องของพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สวนสาธารณะในตัวเมืองเชียงใหม่ที่มีความหลากหลาย สามารถให้คนทุกระดับเข้าถึงได้ซึ่ง Community Garden คือรูปแบบของพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ คุณตี๋ ให้ความสนใจและคิดว่าควรจะมีพื้นที่สีเขียวรูปแบบนี้ในเมืองเชียงใหม่ หลังจากได้แนวคิดก็เริ่มหาข้อมูล และสำรวจพื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อดูว่าพอจะมีพื้นที่ใดบ้างที่นำมาปรับให้เป็นพื้นที่สีเขียวคุณภาพให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนสวนผักคนเมืองเชียงใหม่เกิดขึ้นจากการที่เคยลงพื้นที่สำรวจ แล้วพบว่าตัวเมือเชียงใหม่มีพื้นที่รกร้างกระจายอยู่ในเมืองเชียงใหม่มากมายที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ จึงได้นำเสนอกับเทศบาลนครเชียงใหม่ จนได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า เนื้อที่ประมาณ 2.5 ไร่ มาใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ผลิตอาหารคือปลูกผักและให้การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารในชื่อโคงการ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่” โดยมีกลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอที่เรียกว่าคณะผู้ก่อการเป็นหัวแรงสำคัญ ทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ “วิกฤตโควิด-19 มีประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเมืองเกิดขึ้นในช่วงที่ล็อคดาวน์ คนตกงานต้องไปต่อคิวรับอาหารที่แจกฟรี ผมเลยคิดว่าถ้ามีพื้นที่ Community Garden หรือ Urban Farm ที่เป็นพื้นที่ปลูกผักเพื่อเอาไว้เก็บกินและเป็นที่เรียนรู้ให้กับคนในเมืองน่าจะเป็นประโยชน์มาก เพราะการปลูกผักกินเองเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในเมือง”คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร กล่าว จากพื้นที่รกร้าง สู่อาหารช่วยคนไร้บ้าน พื้นที่ทำโครงการสวนผักคนเมืองเดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีกองขยะสูง 4 เมตร เป็นของเทศบาลฯ ซึ่งอยู่ติดกับคลองแม่ข่า คณะผู้ก่อการ (กลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ) ได้เปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยจัดสรรพื้นที่เป็น โซนผักหมุนเวียน โซนผลไม้ ต้นไม้ และมีพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งการจัดการระบบของสวนผัก คนเมืองมีอยู่ 3
พิษโควิดกับ วิกฤตน้อง 4 ขา วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบกับคนเท่านั้นแต่มีผลต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างบรรดาสัตว์สี่ขาทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย สุนัข และแมว เป็นต้น ที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเจ็บป่วยล้มตาย บ้านช้างจุดเริ่มต้นที่พักพิงของสัตว์น้อยใหญ่ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือช้างไทย รณรงค์ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศ ก่อตั้งโดย คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ จุดเริ่มต้นจากช้าง 9 เชือก ที่เป็นช้างลากไม้และช้างในคณะละครสัตว์ที่ปลดระวางและมีเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาช้างป่าที่พื้นที่ป่าถูกลุกล้ำจากสภาพแวดล้อม ไฟป่า หรือการคุกคามของมนุษย์ ทำให้มูลนิธิฯ ต้องดูแลช้างเหล่านี้โดยมีบ้านให้พวกช้างอยู่เป็นหลักแหล่ง ด้วยความที่ คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ได้เห็นสัตว์ที่ทุกข์ทรมาน เช่น สุนัขจรจัดนอนบาดเจ็บอยู่ข้างถนน แมวแร่รอนผอมโซ จึงนำกลับมารักษาและให้อยู่ที่มูลนิธิฯ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือสัตว์ยากไร้อื่น ๆ นอกเหนือจากช้างก็มีตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ม้า วัว ควาย กระต่าย ลิง สุนัข และแมว
แลกเปลี่ยน ข้าวกับปลา ฝ่าวิกฤติ คุณไมตรี จงไทรจักร์ กรรมการและผุ้จัดการมูลนิธิชุมชนไท ในสมัยโบราณมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเรียบง่ายมีการเพาะปลูกและผลิตอาหารเพื่อบริโภคกันภายในครัวเรือน ต่อมามนุษย์เริ่มมีการติดต่อกันระหว่างครัวเรือน ความต้องการในการบริโภคก็เปลี่ยนไป เริ่มมีรูปแบบการแลกเปลี่ยนโดยการนำสิ่งของหรือผลผลิตที่มีไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของที่ต้องการกับครัวเรือนอื่นตามสัดส่วนที่ได้ตกลงกันไว้ หลังจากนั้นมนุษย์พบรูปแบบการแลกเปลี่ยนใหม่ โดยกำหนดสิ่งของบางอย่างให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนนั่นคือ เงิน และเงินจึงถูกใช้เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน แต่หลายครั้งที่เกิดสถานการณ์วิกฤตที่ เงิน ไม่สามารถเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ เช่น วิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ผู้คนได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจและอาชีพที่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวเป็นหลัก ช่วงที่ปิดประเทศไม่มีนักท่องเที่ยว ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็ดำเนินไปไม่ได้ จำเป็นต้องปิดตัวและพนักงานถูกเลิกจ้าง ชุมชนชาวบ้านที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยดังเช่น ชุมชนชาวเลที่ทำอาชีพประมง จุดเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนข้าวกับปลา ช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ชุมชนชาวเล โดยเฉพาะจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันแทบทุกครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างหนักเพราะพึ่งพารายได้หลักจากการท่องเที่ยว ชาวเลที่จับปลาเป็นอาชีพหาเช้ากินค่ำแทบไม่มีเงินซื้อข้าวกิน เช่นเดียวกับชุมชนทางภาคเหนือและภาคอีสานก็ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดจังหวัดเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของโควิด-19 ทำให้ชาวบ้านในชุมชนขาดรายได้และไม่มีเงินพอที่จะหาซื้ออาหารมาประทังชีวิตคนภายในครอบครัว มูลนิธิชุมชนไท เป็นองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกระบวนการพัฒนาคนจนในเมืองและชนบท มองเห็นถึงปัญหานี้จึงร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายประสานความร่วมมือกันเปิดพื้นที่ให้ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ได้ใช้ศักยภาพด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่มีของชุมชน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นที่มาของ “โครงการข้าวชาวนาแลกปลาชาวเล” เริ่มต้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ชาวราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต นำปลาจากท้องทะเลมาแปรรูปตากแห้งเพื่อส่งไปแลกกับข้าวสารจาก ชาวปกาเกอะญอ ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ทำการตกลงกัน การแลกเปลี่ยนสัดส่วนอยู่ที่ ¼ คือ ปลา 1
วิกฤต ทำให้ได้พบโอกาส เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชายคนหนึ่งใส่ชุดเชฟกำลังยืนปรุงอาหารในกระทะอย่างคล่องแคล่วอยู่กับรถเข็นคันเล็ก ๆ ที่ถูกดัดแปลงมาสำหรับขายอาหารตามสั่ง ทั้งสองข้างของรถเข็นถูกล้อมด้วยลูกค้าที่ยืนต่อคิวรออาหารรสชาติเยี่ยม ราคาถูกจากฝีมือผู้ชายที่ใส่ชุดเชฟคนนี้ เขาคือ เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารอาหารจีนในโรงแรมชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ชีวิตของเชฟวรรณต้องพลิกผันจากการเป็นเชฟทำอาหารอยู่ภัตตาคารหรูในโรงแรม มาเป็นเชฟรถเข็นขายอาหารตามสั่ง เชฟวรรณกับวันที่ไม่ได้เป็นเชฟในภัตตาคาร เชียงใหม่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและมีลูกค้าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหายไป ซึ่งกระทบธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง รวมถึงภัตตาคารอาหารจีนชื่อดังที่เชฟวรรณทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ต้องยอมปิดตัวลงเช่นกัน ทำให้รายได้ของเชฟวรรณจากที่เคยได้รับเดือนละสองหมื่นกว่าบาทกลายเป็นศูนย์บาทเพียงชั่วข้ามคืน ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวยังเท่าเดิม “ช่วงแรกเจ้าของขอลดเงินเดือนจากสองหมื่นเหลือหมื่นนิด ๆ พอช่วงโควิด-19 หนัก ๆ เขาไม่มีเงินจ้างเพราะว่าไม่มีลูกค้า ที่ร้านส่วนใหญ่ที่มาคือนักท่องเที่ยวชาวจีน พอไม่มีนักท่องเที่ยวร้านก็ไปต่อไม่ได้ ต้องปิดในที่สุด” เข้าใจ ยอมรับ ลุกแล้วเดินต่อไป ช่วงที่ตกงานเชฟวรรณได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ การปฏิบัติธรรมครั้งนั้นช่วยให้เชฟวรรณมีจิตใจที่สงบความเครียดหายไป จึงคิดหาช่องทางหารายได้ให้เร็วที่สุด เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบมากมาย เชฟวรรณตัดสินใจรวบรวมเงินที่ยังพอมีอยู่บ้างโดยไม่รอความช่วยเหลือจากใคร นำเงินมาซื้อรถเข็นเพื่อดัดแปลงทำเป็นรถเข็นสำหรับขายอาหารตามสั่ง แล้วเดินตระเวนขายไปตามจุดต่าง ๆ ทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขายในราคาย่อมเยาเพื่อให้ชาวบ้านได้กินอาหารอร่อยฝีมือระดับภัตตาคารในราคาที่ไม่แพง “ผมเข้าใจนายจ้างเพราะเขาเองก็มีภาระที่ต้องแบกรับเยอะเหมือนกัน เครียดและท้อไปก็เท่านั้นเพราะทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน คิดหาวิธีเอาความรู้ที่มีมาทำให้มีรายได้ดีกว่า ยอมรับว่าช่วงแรกที่ตัดสินใจออกมาเข็นรถขายอาหาร ผมรู้สึกอายมากเพราะในชีวิตไม่เคยต้องออกมาเข็นขายอะไรแบบนี้
คุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง โอกาส คือ สิ่งที่ทุกคนสามารถหยิบยื่นให้กันได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ที่ช่วยให้ชีวิตยังไปต่อได้ ซึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ เราต่างก็เห็นผู้คนลุกขึ้นมาช่วยเหลือ แบ่งปันน้ำใจให้แก่กันและกัน ในรูปแบบที่ตัวเองสามารถทำได้ เช่นเดียวกับ โครงการปันโอกาส โดยมูลนิธิเอสซีจี ที่เปิดโอกาสให้พนักงานเอสซีจีได้รวมตัวกันแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนำความรู้ความสามารถที่มีไปทำประโยชน์ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ พนักงานได้เสนอโครงการ ที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือ สังคมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกกว่า 20 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการห้องเรียนสร้างบุญเรียนรู้ สู่ความมั่นคงทางอาหาร” โดยคุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับโครงการที่เขาลงมือทำร่วมกับชุมชน ตำบล เบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งมอบความรู้และเทคนิคการปลูกผักหาเลี้ยงชีพให้กับคนในชุมชน แก้ปัญหาความเดือนร้อนของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยการ “ให้เบ็ด” แทนการ “ให้ปลา” ตามรอย “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดนั้นไปหาปลากินได้ทุกเมื่อ ปลูกความรู้