Skip to content

นวัตกรรมห้องเอกซเรย์โมดูล่าร์ เกราะป้องกันนักรบด่านหน้าสู้โควิด-19 แห่งแรกของไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับสงครามโรคระบาดที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าหมื่นคนต่อวัน เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนจึงไม่เพียงพอจนต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม ถึงแม้ว่าจะขยายโรงพยาบาลสนามและมีเครื่องช่วยหายใจที่เพียงพอ แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบด่านหน้าที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคระบาดไม่สามารถขยายเพิ่มได้ อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานหนักกันอยู่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับเชื้อ ทำงานภายใต้ภาวะความกดดันที่บีบคั้นทางใจและมีความรู้สึกเหนื่อยล้า หากบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจะยิ่งทำให้อัตรากำลังนักรบด่านหน้าลดลงทันที ดังนั้นการมีอุปกรณ์เสริมที่สามารถเป็นเกราะป้องกันให้เหล่านักรบ ด่านหน้ามีความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ห้องเอกซเรย์ หัวใจหลักในการวินิจฉัย เพื่อรักษาผู้ป้วยโควิด-19 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน หนึ่งในโรงพยาบาลสนามที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวและสีเหลือง จำนวน 700 เตียง ในแต่ละวันต้องรับผู้ป่วยกว่า 200 ราย โดยแต่ละรายต้องเอกซเรย์ปอดประมาณ 3-4 ครั้ง และบางรายมีอาการปอดอักเสบจะต้องเอกซเรย์มากกว่านั้น ซึ่งหากพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบก็สามารถให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วมากขึ้น ดังนั้นการเอกซเรย์ปอดจึงมีความสำคัญในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงและรีบให้การรักษาได้ทันท่วงที แต่ด้วยข้อจำกัดของตู้เอกซเรย์ปอดของโรงพยาบาลฯ ที่เป็นเพียงตู้กระจกใสตู้ที่ผู้ป่วยจะต้องเข้าไปยืนแล้วใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ในตู้ นอกจากความไม่สะดวกสบายของผู้ป่วยที่ต้องเข้าไปเอกซเรย์แล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ด้วยความห่วงใยและเพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นนักรบด่านหน้าให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบของผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 มูลนิธิเอสซีจีจึงมอบห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ มูลค่า 2 ล้านบาท ห้องแรกของประเทศไทย ให้กับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เพื่อเป็น เกราะป้องกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์บุคลากรทางการแพทย์ ห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ (Modular X-Ray Unit) เป็นนวัตกรรมแรกของไทยที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ โดยทีม Living solution SCG

มูลนิธิเอสซีจีเดินหน้ามอบเกราะป้องกันโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้เหล่านักรบชุดขาว และผู้ที่ได้รับผลกระทบ

การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์ แรงงานต่างด้าวโดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการซึ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแรงงานต่างด้าวพักอยู่รวมกันอย่างแออัดจึงเกิดการติดเชื้อจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมกว่า 27,494 คน (ยอด ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564) และกระจายไปกว่า 30 จังหวัด มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยในความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องทันทีทั้งทางด้านนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและให้กำลังใจกับนักรบแถวหน้าและผู้ป่วยผ่านสื่อต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร” ขึ้น จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง โดย ณ เวลานั้นศูนย์ห่วงใยคนสาครบางแห่งยังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อที่อยู่ในศูนย์ฯ มูลนิธิเอสซีจีพร้อมเพื่อนพนักงานเอสซีจี และชมรมช้างปูนเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูปลดเสี่ยงติดเชื้อ (Modular Bathroom)” ทั้งหมด 32 ห้อง แยกชาย-หญิง และผู้สูงอายุ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 3,400,000 บาท มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร”เทศบาล ตำบลนาดี วัฒนาแฟลคตอรี่

กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตร้าเซนเนก้า ผนึกกำลังผลิตวัคซีนโควิด-19 สำหรับไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเป้าพร้อมใช้กลางปีหน้า

กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตร้าเซนเนก้า บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 AZD1222 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในหนังสือแสดงเจตจำนงระบุว่าทุกฝ่ายตกลงจะทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมศักยภาพด้านกำลังการผลิตของ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ให้พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนจำนวนมากเพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้า จะจัดสรรวัคซีนวิจัยดังกล่าวโดยไม่มุ่งหวังผลกำไรในช่วง แพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกันนี้จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมมือกับสยามไบโอไซเอนซ์ในการติดตั้งกระบวนการผลิต ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการผลักดันโดยกระทรวงสาธารณสุข ที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการผลิตในประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะได้รับวัคซีนวิจัย AZD1222 หลังจากผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยมีเป้าหมายเริ่มจัดสรรวัคซีนสำหรับประชาชนชาวไทยได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 หนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ประธานกรรมการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ที่กรุงเทพฯ และ มร. เจมส์ ทีก ประธานประจำประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้า ผ่านการประชุมออนไลน์จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมี

ส่งมอบความห่วงใย สร้างการตระหนักรู้ ให้เด็กไทยห่างไกลโควิด

มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย จึงร่วมกันจัดโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19 โดยเริ่มต้นด้วยการส่งมอบหน้ากากผ้า 100,000 ชิ้น ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าทั่วประเทศ รวมถึงการจัดประกวดวาดภาพระบายสีเพื่อให้เด็กไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและป้องกันตัวเองในชีวิตประจำวัน ส่งหน้ากากผ้าถึงน้องๆ หน้ากากผ้า ถึงมือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งน้องๆ จะได้รับคนละ 2 ชิ้น เพื่อใช้สลับกันโดยหน้ากากผ้าสำหรับเด็กนี้มีขนาดเหมาะกับใบหน้าของเด็กด้วยการเสริมโครงลวดที่จมูกเพื่อให้กระชับใบหน้า พร้อมสายคล้องหูปรับขนาดได้ ปลอดภัยด้วยการใช้ผ้าฝ้ายออร์แกนิค 100%มีสีสันดึงดูดให้น่าใช้และเด็กๆ สามารถเขียนชื่อตัวเองที่หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการสลับหรือสูญหาย อีกทั้งยังมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมให้ความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใส่หน้ากาก การล้างมือ อย่างถูกวิธี หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้เด็กไทยได้สวมหน้ากากผ้าที่เหมาะสมอีกทั้งยังช่วยให้เด็กสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลโควิด-19 รวมถึงการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากเด็กสู่เด็ก หรือจากเด็กสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงคนในชุมชนได้อีกด้วย จินตนาการสู่ภาพวาด “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” นอกจากการส่งมอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็กแล้วมูลนิธิเอสซีจียังจัดประกวดวาดภาพระบายสีโดยให้เด็กทั่วประเทศที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่งภาพวาดเข้าประกวดในโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก โควิด-19 รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องอยู่ร่วมกันที่โรงเรียน โดยมีเงินรางวัลรวม 160,000 บาท และถ้วยรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากประธานมูลนิธิธรรมมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งมีน้องๆ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า

เรียนรู้ ป้องกัน “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

เด็กเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และการป้องกันเป็นพิเศษ หลังจากเริ่มเปิดภาคเรียนเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม แต่ละโรงเรียนมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้เด็กนักเรียนสวมหน้ากากอนามัย ระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน ล้างมือบ่อยๆ พกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้รวมกับผู้อื่น และเว้นระยะห่างเวลาทำกิจกรรมต่างๆ หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถสวมหน้ากากของผู้ใหญ่ได้ หน้ากากที่เหมาะสมจึงต้องมีลักษณะเฉพาะ เช่น ขนาดที่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งหน้ากากผ้าที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับเด็กนี้มีราคาค่อนข้างสูง เด็กในถิ่นทุรกันดารที่ครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอในการซื้อทำให้เด็กๆ เหล่านี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ โควิด-19 จากเด็กไปสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงชุมชนได้ หน้ากากผ้าเพื่อน้องๆ ในถิ่นทุรกันดาร มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์มอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็ก จำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท ให้กับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าระดับประถมต้น ป.1 – ป.4 เพื่อป้องกันตนเองจากการระบาดของโควิด-19 ภายใต้โครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 11

อสม. กองกำลังชุมชนสู้ศึกโควิด-19

จากการที่ประเทศไทยมีรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเกิดจากความร่วมมือของคนไทยและทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังมีบุคลากรอีกหนึ่งกลุ่มสำคัญนั่นคือ อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการลงพื้นที่ค้นหากลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง รวมถึงให้ความรู้เรื่องสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับแพทย์และพยาบาล เพราะเป็นผู้เสียสละในการสู้ศึกกับโควิด-19 นับเป็นผลงานระดับโลกที่องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยกล่าวชื่นชม อสม. ซูเปอร์ฮีโร่ชุมชน จากอุดมการณ์ ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’ และ ‘ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม’ ได้นำมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานของมูลนิธิเอสซีจี ด้วยตระหนักว่าสังคมจะเข้มแข็งอย่างยั่งยืนได้ ต้องเริ่มจากทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ คือต้องเป็นทั้ง ‘คนเก่งและดี’ ซึ่ง อสม. เป็นกลุ่มบุคคลตัวอย่างที่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน เสียสละและทุ่มเทปกป้องชุมชน อย่างไม่ย่อท้อ เพื่อช่วยให้เหล่าฮีโร่หัวใจอาสาได้ ทำหน้าที่ของพวกเขาได้อย่างเต็มที่มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งต่อความห่วยใยด้วย “อสม.Kit” 600 ชุด เป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและดูแลระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งประกอบด้วย เครื่องวัดอุณหภูมิ (Infrared Thermometer) แอลกอฮอล์ชนิดเจล สเปรย์แอลกอฮอล์ หน้ากากสะท้อนน้ำที่สามารถป้องกันละอองฝอย เสื้อกันฝน และถุงมือทางการแพทย์ โดยทั้งหมดถูกบรรจุในกระเป๋าที่พกพาได้อย่างคล่องตัว เหมาะต่อการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายผ่านเครือข่ายต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายนักพัฒนาชุมชนทั่วประเทศ บรรยากาศการบรรจุชุด อสม.Kit โดยพนักงาน SCG จิตอาสา พร้อมลงพื้นที่ด้วยความมั่นใจ นางสาวบุรดี สันหมุด,

แอลกอฮอล์และเฟสชิลด์ บอร์ดี้การ์ดในความปกติใหม่ (New Normal) สู้ภัยโควิด-19

นับแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ล้างมือ (Alcohol Hand sanitizer) และหน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญแห่งความปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกคนต้องมีติดตัวยามอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งทำให้พฤติกรรมในด้านสุขอนามัยและการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่มากกว่านั้นแอลกอฮอล์ล้างมือและหน้ากากป้องกันใบหน้ายังถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลหลากหลายอาชีพให้ลุล่วงและปลอดภัย โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องเสียสละเป็นด่านหน้าเพื่อเราทุกคนในสังคม เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงแต่นักรบเสื้อขาวเพียงเท่านั้นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสจากการปฏิบัติหน้าที่ หากแต่ยังมีเจ้าหน้าที่ในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ต้องให้บริการประชาชนด้วยความเสียสละ แม้จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองในยามเกิดวิกฤตโควิด-19 หนึ่งในนั้นก็คือเจ้าหน้าที่จัดการขยะและเจ้าหน้าที่กวาดถนน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในขณะปฏิบัติหน้าที่ เพราะต้องสัมผัสกับขยะที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดต่างๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ในขณะที่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคที่ต้องใช้งานทุกวันอย่างหน้ากากป้องกันใบหน้าและแอลกอฮอล์ที่ยังมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ต้องใช้อย่างจำกัด เพราะเราเห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของทุกๆ สาขาอาชีพที่ร่วมกันฝ่าฟันวิกฤต อีกทั้งยังมีความห่วงใยพี่น้องบุคลากรที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่แม้จะต้องเผชิญกับความเสี่ยง เพราะรู้ว่าทุกคนยังมีครอบครัวอันเป็นที่รักอยู่เบื้องหลัง และต้องดูแลทั้งกำลังกาย และกำลังใจ ส่วนหนึ่งของเหล่านักรบชุดขาวที่ได้รับแอลกอฮอล์เจล จากมูลนิธิเอสซีจี มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จัดทำแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองจาก อย. เพื่อส่งมอบกำลังใจนี้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ สถาบันบำราศนราดูร, สถาบันโรคทรวงอก, โรงพยาบาลสมเด็จพระนั่งเกล้า อีกทั้งยังส่งผ่านกรุงเทพมหานครเพื่อมอบให้กับเจ้าหน้าที่จัดการขยะ และเจ้าหน้าที่กวาดถนน ได้นำไปใช้ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งร่วมบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลอีกหลายแห่งเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์จำเป็นทางการแพทย์ นอกจากนี้มูลนิธิฯ

ห่วงใย แบ่งปัน สร้างกำลังใจไม่สิ้นสุด

ในภาวะวิกฤตโควิด-19 มีคนมากมายที่ได้รับผลกระทบ บ้างตกงาน บ้างถูกลดเงินเดือน บ้างเจ็บป่วยบางคนหมดหวัง หมดกำลังใจในการเดินหน้า ไปต่อ แต่ท่ามกลางความหมดหวังเหล่านั้น กลับมีน้ำใจหยิบยื่นมาให้ ทำให้อย่างน้อยเราก็รู้ว่า….คนไทยไม่เคยทิ้งกัน และพร้อมจะดูแลซึ่งกันและกัน เริ่มจากดูแลคนใกล้ตัว “ถุงน้ำใจ” แทนความห่วงใย ในสถานการณ์วิกฤตของสังคมที่เกิดขึ้น หลายบริษัทต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น Work From Home (WFH) และงดการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในบริษัท แต่ยังคงมีบางหน้าที่ ซึ่งมีภารกิจที่ต้องเข้ามาดูแลไม่เว้นแต่ละวัน เช่น แม่บ้าน พนักงานขนย้าย พนักงานขับรถ แม้จะต้องมาปฏิบัติงานทุกวัน แต่ด้วยภารกิจที่น้อยลง ทำให้ค่าตอบแทนล่วงเวลาลดลงด้วย แม้เป็นจำนวนไม่มาก แต่สำหรับบางคนนับว่าเป็นเงินที่มีคุณค่าที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขาและครอบครัวให้อยู่รอดไปได้ในแต่ละเดือน มูลนิธิเอสซีจีตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง จึงขอส่งกำลังใจด้วยการมอบ “ถุงน้ำใจ” ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความห่วงใย เสมือนคำขอบคุณเพื่อ ตอบแทนความรักและความเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยภายในถุง “น้ำใจ” บรรจุสินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ ผงซักฟอก รวมไปถึง หน้ากากผ้า และแอลกอฮอล์เจล

มาทำความรู้จักกับนวัตกรรมป้องกันโควิด-19

มูลนิธิเอสซีจีมีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 เพื่อช่วยให้สามารถปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค พร้อมตัวกรองอากาศ HEPA Filter และระบบ Bio-polar Ion เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจหลุดรอดเข้ามา โดยพื้นที่ของผู้ที่มีความเสี่ยงและเข้ามาคัดกรองจะเป็นพื้นที่โล่งภายนอกเพื่อให้อากาศถ่ายเท ส่วนการสอบถามอาการจะคุยผ่านทาง intercom ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit) ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ โดยแพทย์อยู่ห้องความดันบวกเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจะสะอาดและปลอดภัย ส่วนคนไข้อยู่ในห้องความดันลบเพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งไปนอกห้อง โดยแพทย์จะตรวจคนไข้และดำเนินการเก็บตัวอย่าง (Swab) ผ่านช่องที่เจาะไว้และมีถุงมือสวมใส่ป้องกันการติดเชื้อ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่(Negative Pressure Isolation Room) นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ผลิตจากโครงโลหะที่มีความแข็งแรง ครอบด้วยผ้าใบ และพลาสติก PVC แบบใส

ร่วมติดอาวุธและเกราะป้องกันให้เหล่านักรบเสื้อขาวด้วยนวัตกรรมป้องกันโควิด-19

หากเปรียบการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นยุทธศาสตร์การรบกับศัตรูที่มองไม่เห็นและไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ทหารด่านหน้าที่ต้องต่อสู้ก็คือ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ ซึ่งต้องรับมือการตรวจและคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ก่อนส่งต่อเพื่อการรักษาเฉพาะในขั้นตอนต่อไป ทว่าการสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าผู้ป่วยรายนั้นติดเชื้อไวรัสและเป็นพาหะของโรคโควิด-19 หรือไม่ จึงทำให้บุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อไวรัสโดยตรง ดังนั้นการติดอาวุธและเครื่องป้องกันด้วยนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบชุดขาว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 มูลนิธิเอสซีจี มีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 โดยมีจุดเริ่มต้นจากทีมนักวิจัยของเอสซีจีได้ร่วมพูดคุยกับคณะแพทย์ของโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นเสมือนการผนึกกำลังของนักรบทัพหน้าและทัพหลัง เพื่อช่วยปฏิบัติภารกิจสร้างยุทธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ในการปกป้องเชื้อไวรัสภายในระยะเวลาอันสั้น จนกระทั่งเกิดเป็นนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค ห้องตรวจหาเชื้อ ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการตรวจวินิจฉัย (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้าย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan ออกแบบให้มีขนาดพอดีสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ