นับแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก อุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรค โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ล้างมือ (Alcohol Hand sanitizer) และหน้ากากป้องกันใบหน้า (Face Shield) ได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญแห่งความปกติใหม่ (New Normal) ที่ทุกคนต้องมีติดตัวยามอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งทำให้พฤติกรรมในด้านสุขอนามัยและการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง แต่มากกว่านั้นแอลกอฮอล์ล้างมือและหน้ากากป้องกันใบหน้ายังถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลหลากหลายอาชีพให้ลุล่วงและปลอดภัย โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องเสียสละเป็นด่านหน้าเพื่อเราทุกคนในสังคม เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงแต่นักรบเสื้อขาวเพียงเท่านั้นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสจากการปฏิบัติหน้าที่ หากแต่ยังมีเจ้าหน้าที่ในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ต้องให้บริการประชาชนด้วยความเสียสละ แม้จะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองในยามเกิดวิกฤตโควิด-19 หนึ่งในนั้นก็คือเจ้าหน้าที่จัดการขยะและเจ้าหน้าที่กวาดถนน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในขณะปฏิบัติหน้าที่ เพราะต้องสัมผัสกับขยะที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดต่างๆ ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ในขณะที่อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคที่ต้องใช้งานทุกวันอย่างหน้ากากป้องกันใบหน้าและแอลกอฮอล์ที่ยังมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ต้องใช้อย่างจำกัด เพราะเราเห็นถึงคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของทุกๆ สาขาอาชีพที่ร่วมกันฝ่าฟันวิกฤต อีกทั้งยังมีความห่วงใยพี่น้องบุคลากรที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่แม้จะต้องเผชิญกับความเสี่ยง เพราะรู้ว่าทุกคนยังมีครอบครัวอันเป็นที่รักอยู่เบื้องหลัง และต้องดูแลทั้งกำลังกาย และกำลังใจ ส่วนหนึ่งของเหล่านักรบชุดขาวที่ได้รับแอลกอฮอล์เจล จากมูลนิธิเอสซีจี มูลนิธิฯ จึงได้ร่วมกับศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จัดทำแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองจาก อย. เพื่อส่งมอบกำลังใจนี้ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ อาทิ สถาบันบำราศนราดูร, สถาบันโรคทรวงอก, โรงพยาบาลสมเด็จพระนั่งเกล้า อีกทั้งยังส่งผ่านกรุงเทพมหานครเพื่อมอบให้กับเจ้าหน้าที่จัดการขยะ และเจ้าหน้าที่กวาดถนน ได้นำไปใช้ขณะปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งร่วมบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลอีกหลายแห่งเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์จำเป็นทางการแพทย์ นอกจากนี้มูลนิธิฯ
ในภาวะวิกฤตโควิด-19 มีคนมากมายที่ได้รับผลกระทบ บ้างตกงาน บ้างถูกลดเงินเดือน บ้างเจ็บป่วยบางคนหมดหวัง หมดกำลังใจในการเดินหน้า ไปต่อ แต่ท่ามกลางความหมดหวังเหล่านั้น กลับมีน้ำใจหยิบยื่นมาให้ ทำให้อย่างน้อยเราก็รู้ว่า….คนไทยไม่เคยทิ้งกัน และพร้อมจะดูแลซึ่งกันและกัน เริ่มจากดูแลคนใกล้ตัว “ถุงน้ำใจ” แทนความห่วงใย ในสถานการณ์วิกฤตของสังคมที่เกิดขึ้น หลายบริษัทต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็น Work From Home (WFH) และงดการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในบริษัท แต่ยังคงมีบางหน้าที่ ซึ่งมีภารกิจที่ต้องเข้ามาดูแลไม่เว้นแต่ละวัน เช่น แม่บ้าน พนักงานขนย้าย พนักงานขับรถ แม้จะต้องมาปฏิบัติงานทุกวัน แต่ด้วยภารกิจที่น้อยลง ทำให้ค่าตอบแทนล่วงเวลาลดลงด้วย แม้เป็นจำนวนไม่มาก แต่สำหรับบางคนนับว่าเป็นเงินที่มีคุณค่าที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของพวกเขาและครอบครัวให้อยู่รอดไปได้ในแต่ละเดือน มูลนิธิเอสซีจีตระหนักถึงความเดือดร้อนของพี่น้อง จึงขอส่งกำลังใจด้วยการมอบ “ถุงน้ำใจ” ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความห่วงใย เสมือนคำขอบคุณเพื่อ ตอบแทนความรักและความเสียสละในการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา โดยภายในถุง “น้ำใจ” บรรจุสินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ ปลากระป๋อง น้ำมันพืช น้ำปลา น้ำตาล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สบู่ ผงซักฟอก รวมไปถึง หน้ากากผ้า และแอลกอฮอล์เจล
มูลนิธิเอสซีจีมีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 เพื่อช่วยให้สามารถปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ และคนไทยให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค พร้อมตัวกรองอากาศ HEPA Filter และระบบ Bio-polar Ion เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจหลุดรอดเข้ามา โดยพื้นที่ของผู้ที่มีความเสี่ยงและเข้ามาคัดกรองจะเป็นพื้นที่โล่งภายนอกเพื่อให้อากาศถ่ายเท ส่วนการสอบถามอาการจะคุยผ่านทาง intercom ห้องตรวจหาเชื้อ (Modular Swab Unit) ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ โดยแพทย์อยู่ห้องความดันบวกเพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจะสะอาดและปลอดภัย ส่วนคนไข้อยู่ในห้องความดันลบเพื่อไม่ให้เชื้อฟุ้งไปนอกห้อง โดยแพทย์จะตรวจคนไข้และดำเนินการเก็บตัวอย่าง (Swab) ผ่านช่องที่เจาะไว้และมีถุงมือสวมใส่ป้องกันการติดเชื้อ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่(Negative Pressure Isolation Room) นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ผลิตจากโครงโลหะที่มีความแข็งแรง ครอบด้วยผ้าใบ และพลาสติก PVC แบบใส
หากเปรียบการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นยุทธศาสตร์การรบกับศัตรูที่มองไม่เห็นและไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน ทหารด่านหน้าที่ต้องต่อสู้ก็คือ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ ซึ่งต้องรับมือการตรวจและคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ก่อนส่งต่อเพื่อการรักษาเฉพาะในขั้นตอนต่อไป ทว่าการสังเกตอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยด้วยตาเปล่าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถระบุได้ทันทีว่าผู้ป่วยรายนั้นติดเชื้อไวรัสและเป็นพาหะของโรคโควิด-19 หรือไม่ จึงทำให้บุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้มีความเสี่ยงสูงในการรับเชื้อไวรัสโดยตรง ดังนั้นการติดอาวุธและเครื่องป้องกันด้วยนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบชุดขาว จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 มูลนิธิเอสซีจี มีความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างยิ่ง จึงร่วมมือกับเอสซีจี เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิด-19 โดยมีจุดเริ่มต้นจากทีมนักวิจัยของเอสซีจีได้ร่วมพูดคุยกับคณะแพทย์ของโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นเสมือนการผนึกกำลังของนักรบทัพหน้าและทัพหลัง เพื่อช่วยปฏิบัติภารกิจสร้างยุทธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ตอบโจทย์ในการปกป้องเชื้อไวรัสภายในระยะเวลาอันสั้น จนกระทั่งเกิดเป็นนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ ห้องคัดกรอง ออกแบบให้ทีมแพทย์และพยาบาลอยู่ในห้องความดันบวกที่ปิดสนิท มีประตูเข้าออก 2 ชั้น เพื่อไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง อากาศจึงสะอาดและปลอดภัยด้วยระบบระบายอากาศเข้าออก แสง UV เพื่อฆ่าเชื้อโรค ห้องตรวจหาเชื้อ ออกแบบให้แยกพื้นที่ของแพทย์จากผู้รับการตรวจหาเชื้อออกจากกัน โดยเข้าออกคนละทาง เพื่อลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจามจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการตรวจวินิจฉัย (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้าย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan นวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan ออกแบบให้มีขนาดพอดีสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ
เพราะสังคมไทยคือสังคมแห่งการแบ่งปัน ไม่ว่าวิกฤตที่ผ่านมาจะเป็นอย่างไร เมื่อคนไทยร่วมมือกัน เสียสละแรงกายแรงใจ เราก็จะผ่านมันไปได้ด้วยรอยยิ้มเสมอ เป็นพลังของการทำความดีโดยไม่หวังผลใดตอบแทน เป็นจิตใจที่มุ่งหวังให้สังคมดีขึ้น และนั่นคือพลังของ ‘จิตอาสา’ นั่นเอง ในวิกฤตโควิด-19 นี้ก็เช่นกันที่เราได้เห็นถึงพลังเล็กๆ จากเหล่าจิตอาสาที่ร่วมมือกันเพื่อประคับประคองเพื่อนร่วมสังคมยามลำบาก เป็นการบรรเทาความทุกข์ยากแก่ผู้ด้อยโอกาสกว่า เป็นการส่งต่อพลังบวกและความปรารถนาดีต่อกัน มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นและมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสนับสนุนจิตสาธารณะเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้จริง เราจึงเป็นสะพานเชื่อมโยงจิตอาสาและความต้องการของผู้ด้อยโอกาสให้ทอดถึงกันผ่านโครงการความร่วมมือจากหน่วยงานในหลายๆ ภาคส่วน อาทิ โครงการหน้ากากผ้า สร้างเกราะป้องกัน แบ่งปันความห่วงใย ในห้วงวิกฤตที่สังคมไทยขาดแคลนหน้ากากอนามัย ไม่ว่าใครก็ต้องการด้วยกันทั้งสิ้น บางคนที่มีโอกาสมากกว่าก็อาจจะหาช่องทางในการซื้อได้ มีหลายคนยอมเสียสละเพื่อให้คนที่มีความจำเป็นกว่า เช่น บุคลากรทางการแพทย์ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ไม่มีแม้แต่ช่องทางหรือกำลังทรัพย์ที่จะจัดหาหน้ากากอนามัยให้ตัวเองและครอบครัวได้ ด้วยเหตุนี้ทางมูลนิธิเอสซีจีจึงเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนจิตอาสา ทั้งพนักงานของเอสซีจีเองและบุคคลทั่วไป มาร่วมกันผลิตหน้ากากผ้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ที่จำเป็นแต่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เริ่มจากพี่น้องร่วมงานใกล้ตัวอาทิ พี่ๆ พนักงานรักษาความปลอดภัย ที่ต้องเป็นด่านหน้าในการพบปะกับผู้ที่เข้ามาติดต่อพี่ๆ แม่บ้านที่ยังคงต้องเข้ามาทำงานทุกวันเพราะเป็นกำลังหลักของครอบครัว และพี่ๆพนักงานเดินเอกสารที่มีความเสี่ยงต้องสัมผัสกับสิ่งของต่างๆมากมาย นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ยังได้รับความร่วมมือที่ดียิ่งจากชุมชนในเครือข่าย“ ต้นกล้าชุมชน” ที่มีจิตอาสาร่วมกันผลิตหน้ากากผ้าในราคาย่อมเยาช่วยสร้างรายได้ให้ชุมชนทำให้ผลิตได้กว่า1,500ชิ้น โดยได้ความร่วมมืออันดีจากThaiPBS ในการส่งต่อหน้ากากผ้าเหล่านี้ไปยังมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เพื่อมอบให้กับเด็กๆ ที่ไร้บ้านและขาดโอกาส ซึ่งช่วยสร้างรอยยิ้มและความปลอดภัย จะเห็นได้ว่าจากแค่จิตอาสาของคนไม่กี่คนที่อยากช่วยเหลือคนอื่นก็สามารถรวมกันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้ เป็นรอยยิ้ม เป็นกำลังใจที่เราได้มอบให้แก่กัน โครงการปันโอกาส อีกหนึ่งโครงการ ที่มูลนิธิเอสซีจีส่งเสริมเรื่องจิตอาสาต่อเนื่องมากว่า 14 ปี
คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งมอบชุดอุปกรณ์ปฏิบัติหน้าที่ (อสม.Kits) แก่นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง และส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของฮีโร่เหล่านี้
มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 18-25 ปีทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาปล่อยของ ประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 หรือ Young Thai Artist Award 2020
มูลนิธิเอสซีจี ติดตั้ง “ตู้ปันน้ำใจ” เพื่อเป็นตู้น้ำใจ ร่วมแบ่งปัน ซึ่ง “โครงการตู้ปันน้ำใจ” เป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงกันระหว่าง “ผู้ให้” ที่มีกำลังหรือพอมีเหลือเพื่อแบ่งปัน กับ “ผู้รับ” ที่กำลังประสบภาวะยากลำบากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
คุณวิชาญ จิตร์ภักดี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี (คนแรกจากซ้าย) และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Chamber) แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
มูลนิธิเอสซีจี โดย คุณแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ พร้อมด้วย คุณสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ร่วมส่งมอบห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบเคลื่อนที่ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี