Skip to content

มูลนิธิเอสซีจี และซีแพค จับมือ สอศ. ร่วมพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในโครงการ “อาชีวะฝีมือชน สู่ช่างมืออาชีพ” ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานทักษะฝีมือคุณภาพ

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษามาอย่าง ต่อเนื่องและบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้างจำกัด หรือ ซีแพค (CPAC) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการอาชีวะฝีมือชนสู่ช่างมืออาชีพ”

เรียนรู้ ป้องกัน “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

เด็กเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่และการป้องกันเป็นพิเศษ หลังจากเริ่มเปิดภาคเรียนเมื่อต้นเดือนกรกฎาคม แต่ละโรงเรียนมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้เด็กนักเรียนสวมหน้ากากอนามัย ระหว่างที่อยู่ในโรงเรียน ล้างมือบ่อยๆ พกของใช้ส่วนตัวไม่ใช้รวมกับผู้อื่น และเว้นระยะห่างเวลาทำกิจกรรมต่างๆ หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถสวมหน้ากากของผู้ใหญ่ได้ หน้ากากที่เหมาะสมจึงต้องมีลักษณะเฉพาะ เช่น ขนาดที่เหมาะกับใบหน้าของเด็ก วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งหน้ากากผ้าที่มีลักษณะเฉพาะสำหรับเด็กนี้มีราคาค่อนข้างสูง เด็กในถิ่นทุรกันดารที่ครอบครัวไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอในการซื้อทำให้เด็กๆ เหล่านี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงหน้ากากอนามัยที่เหมาะสม จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่กระจายเชื้อ โควิด-19 จากเด็กไปสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงชุมชนได้ หน้ากากผ้าเพื่อน้องๆ ในถิ่นทุรกันดาร มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์มอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็ก จำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท ให้กับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าระดับประถมต้น ป.1 – ป.4 เพื่อป้องกันตนเองจากการระบาดของโควิด-19 ภายใต้โครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 11

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พีซ-พีรกานต์ ทองเทียม หนุ่มปัตตานี กับมุมมองความคิดที่เปลี่ยนไปหลังเกิดผลกระทบจากวกฤตโควิด-19 “ในความมืดที่เราคิดว่ามองอะไรไม่เห็น แต่ผมได้เห็นอะไรบางอย่างในมุมที่เปลี่ยนไป ขณะที่ธุรกิจหนึ่งกำลังจะดับลง ธุรกิจใหม่ก็เริ่มต้นขึ้นมา ผมคิดได้ว่าที่จริงแล้วเรามีทางออกในทุกหนทาง แค่เราได้ลองเปลี่ยนมุมมอง” คำบอกเล่าผ่านมุมมองความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากได้เรียนรู้และปรับตัวเพื่อก้าวข้ามวิกฤตของ พีซ-พีรกานต์ ทองเทียบ หนุ่มชาวปัตตานีในวัยยี่สิบ พีซ อาศัยอยู่กับยายที่จังหวัดปัตตานี เรียนจบด้านการโรงแรมจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ขณะนี้กำลังเรียนที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะวิทยาการจัดการ ปี 1 เรียนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้าน ระหว่างนั้นก็มีรับทำเว็บไซต์พอมีรายได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ พอใช้ในแต่ละเดือน ช่วงที่ พีซ เรียนจบเป็นช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาด จากที่ตั้งใจว่าเรียนจบแล้วจะไปสมัครงานในสายงานโรงแรมตามที่ตัวเองได้เรียนมา พอเกิดวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจท่องเที่ยวกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม นั่นเป็นเหตุทำให้ความตั้งใจและความฝันในการทำงานที่โรงแรมของ พีซ สลายไปพร้อมกับการปิดตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว แต่ในวิกฤตก็มีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอ พีซ ได้รับเงินทุนจากโครงการ “พี่ตั้งต้น น้องตั้งไข่” ของมูลนิธิเอสซีจี ที่มอบเงินทุนให้กับนักเรียนทุนของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระครอบครัวในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยนำเงินทุนไปสร้างรายได้ ซึ่ง พีซ ได้นำเงินทุนตั้งต้นนี้มาทำน้ำพริกกากหมูสูตรคุณยาย แรงบันดาลใจจากเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดน้ำพริกกากหมูสูตรคุณยาย “วันหนึ่งผมไปที่โบสถ์กับยาย (โบสถ์คริสต์) ผมเห็นพี่ที่รู้จักเขาทำน้ำพริกกากหมูขาย

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกความร่วมมือ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ มอบหน้ากากผ้าให้น้อง 100,000 ชิ้น พร้อมชวนเด็กประถมฯ ประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนา ‘คน’ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติในอนาคต ร่วมกับ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์มอบหน้ากากผ้าจำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท

อสม. จิตอาสาหัวใจแกร่ง ฮีโร่ของชุมชน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทย ได้รับคำชื่นชมจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้มาจากนวัตกรรมที่มีชีวิตที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ อสม.หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั่นเอง ด้วยจำนวน อสม. กว่า 1,040,000 ชีวิต ที่แทรกซึมอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะห่างไกลแค่ไหน ยากลำบากเพียงใด จะมีมดงานเหล่านี้เข้าถึงทุกพื้นที่ เป็นด่านหน้าในการหาข่าวผู้มีความเสี่ยง เฝ้าระวัง ติดตาม รวมถึงให้ความรู้ด้านการป้องกัน ทำให้เกิดการควบคุมโรค สอดประสานกันอย่างเป็นระบบในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนั้น อสม. จึงเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขไทย นักสู้ด้วยหัวใจ “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะเป็นกลุ่มคนแรกที่เข้าไปช่วยเหลือ แม้เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ได้มีเท่าที่ต้องการ เราก็ทำด้วยของที่มี ทำด้วยความจริงใจ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องตรงนี้ พี่น้องปลื้มใจ เราก็ปลื้มใจ อยากทำแบบนี้ไปจนกว่าชีวิตของเราจะออกจากร่าง” อับดุลเลาะห์ มะเด – อสม. ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา จากการลงพื้นที่จริงของอับดุลเลาะห์ มะเด อสม. ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ทำให้พบเจออุปสรรคต่างๆ ทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก

ปรับไลฟ์สไตล์ชีวิตวิถีใหม่กับนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยให้ห่างไกลโควิด

หลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 โดยอนุญาตให้เปิดกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า สถานบันเทิง ฯลฯ ทำให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติแบบวิถีไหม โดยการสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน พกแอกอฮอล์เจล และเว้นระยะห่างในสังคม (Social Distancing) เมื่อรูปแบบวิถีชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนไปทำให้รูปแบบของ ธุรกิจ ร้านค้า และบริการด้านต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เช่น การคิดค้นรวมถึงพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ประชาชน หลายธุรกิจได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อช่วยรองรับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ของเราให้มีความปลอดภัยมากขึ้น มีตัวอย่างอะไรบ้างมาดูกัน หุ่นยนต์อัจฉริยะ หลังจากที่ห้างสรรพสินค้าได้กลับมาเปิดให้บริการตามปกติ ห้างฯ หลายแห่งมีการออกมาตรการของตัวเอง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่มาใช้บริการ และเป็นไปตามมาตรการของภาครัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดระลอก 2 บางแห่งได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในเรื่องการตรวจวัดอุณหภูมิ พ่นฉีด สเปรย์แอกอฮอล์ ทำความสะอาด ทำให้เพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยง ให้ประชาชนได้มาใช้บริการได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น หุ่นยนต์อัจฉริยะที่ช่วยคัดกรองความปลอดภัยของทุกคนก่อนเข้ามาใช้บริการภายในศูนย์การค้า ด้วยนวัตกรรมตรวจจับความร้อนและแจ้งเตือนที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก มีประสิทธิภาพความแม่นยำ สามารถแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีผู้อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส รวมทั้งติดตั้งเจลล้างมือฆ่าเชื้อแบบอัตโนมัติที่ด้านหลังหุ่นยนต์ด้วย นอกจากนี้หากลืมใส่หน้ากากอนามัยหุ่นยนต์อันเป็นสุดยอดนวัตกรรมยังสามารถช่วยเตือนได้อีกด้วย อ้างอิงhttps://travel.trueid.net/detail/vlXQKznOzAjphttps://www.therobotreport.com/coronavirus-response-growing-robotics-companies/ เดลิเวอรี โดรน เราอาจเคยได้ยินเรื่อง “โดรน” อากาศยานไร้คนขับที่สามารถบังคับได้จากระยะไกลกันมาบ้างแล้ว ในแง่ของการติดกล้องกับโดรนแล้วถ่ายในมุมสูงและกว้างทำให้ภาพหรือวิดีโอออกมาสวยงาม

โครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (THAI KIDS FIGHT COVID)

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ได้จัดโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)

มูลนิธิเอสซีจี มอบ “ห้องน้ำเพื่อประชาชน”ให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับบริษัท เน็กซเตอร์ ดิจิตอล จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และ SCG CHEMICALS

อสม.Kits ส่งต่อความห่วงใย กำลังใจจากมูลนิธิเอสซีจี

เปิดหัวใจ อสม.บ้านน้ำตวง จ.น่าน ที่อุทิศตนทำงานอย่างเสียสละดูแลทุกคนในหมู่บ้านอย่างไม่ย่อท้อ โดยมูลนิธิเอสซีจีได้ส่งต่อความห่วงใยด้วยชุด อสม.Kits  แด่นักรบด่านหน้าเพื่อปฏิบัติภารกิจเสี่ยงที่ต้องต่อสู้กับไวรัสโควิด 19 เราขอชื่นชมและเป็นกำลังใจ