มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สานต่อเรื่องการเก็บตัวฝึกซ้อมนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี เพื่อส่งเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัลและประกาศนียบัตรแก่น้องๆ ทั้งในระดับประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)
อสม.คือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณค่า เป็นคนที่ทุ่มเทเสียสละทำเพื่อหมู่บ้าน ทำเพื่อทุกคนในครอบครัวทำด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ อย่างไม่รู้จักย่อท้อเพื่อให้ทุกคนในชุนชมอุ่นใจและมีความสุข ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ติดตามการทำงานของ อสม.หญิง ซุปเปอร์ฮีโร่ของชุมชนบ้านน้ำตวง จ.น่าน ที่การันตีว่าทุกตารางนิ้วปลอดผู้ติดเชื้อ
บรรยากาศการตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี "เด็กไทยสู้ภัยโควิด (Thai Kids Fight COVID)"
เรียนรู้ ต่อยอด สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง น้อย – รังสรรค์ แก้วสุสวรรณ หนึ่งในผู้ร่วมโครงการปันโอกาส ส่งเสริมรายได้จากการแปรรูปอาหารทะเลแดดเดียว ในช่วงเช้ามืดของทุกวันกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกว่า 30 ลำ ของบ้านปากคลองตากวน ต.มาบตาพุด จ.ระยอง จะออกเรือแล่นสู่ทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย และปลาหมึก เพื่อนำมาขายที่ตลาดแพปลาที่มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อของทะเลไปขายต่อให้กับนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และโรงแรม ทำให้ชาวประมงเรือเล็กมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงชุมชนเล็กๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรือเล็กที่ออกจากฝั่ง กลับเข้าฝั่งมาด้วยความเศร้า “ชาวบ้านยังชีพด้วยการออกเรือไปหาปลามาขาย เมื่อเกิดโควิด-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ของกลุ่มชาวประมงต้องหยุดชะงัก เพราะเอาไปขายไม่ได้เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว อีกทั้งธุรกิจโรงแรมก็ซบเซาร้านอาหารทะเลก็ปิดกระทบเป็นลูกโซ่ ชาวบ้านที่จับสัตว์ทะเลมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไง” คำบอกเล่าของพี่น้อย-รังสรรค์ แก้วสุวรรณ พนักงานธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านชุนชนบ้านปากคลองตากวนได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวประมงเรือเล็กของชาวบ้านที่ขาดรายได้ในช่วงนี้ จากเดิมที่มีเรือประมงหลายสิบลำออกไปจับสัตว์น้ำแต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ลำเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยว ตลาดแพปลาปิด แต่ชาวประมงบางคนก็ยังต้องออกเรือไปหาสัตว์น้ำ อย่างน้อยสามารถนำมาทำอาหารกินเลี้ยงชีวิตตัวเองและครอบครัวให้พอดำรงอยู่ได้ ให้แนวคิดการแปรรูปอาหารกับชาวบ้าน เพื่อการเรียนรู้และปรับตัวให้อยู่รอด ปัญหาการขาดรายได้ของชาวประมงชุมชนบ้านปากคลองตากวนทำให้พี่น้อยและทีมได้ร่วมหาแนวทางและช่องทางการขายให้กับชาวบ้าน จนได้แนวความคิดการแปรรูปอาหารทะเล ด้วยการทำเป็นปลาแดดเดียว ปลาหมึกอบแห้ง ปลาเค็มหรือตากแห้ง
ผลการตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี
เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ ประถมศึกษาตอนปลาย
คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วย คุณอนุวัฒน์ จงยินดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิเอสซีจี และ คุณวรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการเก็บตัวฝึกซ้อมและให้กำลังใจกับนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี
มูลนิธิเอสซีจี ส่งต่อความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง ผ่านหนังสั้น “จดหมายจากปลายเท้า” นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของ 4 บุคคล
ผลการคัดเลือก การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 "เด็กไทยสู้ภัยโควิด" ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ ประถมศึกษาตอนปลาย
เรียนรู้การพึ่งพาตนเอง สู่การดำเนินชีวิต ที่มั่นคงอย่างยั่งยืน อุ้ม – คนึงนิตย์ ชนะโม ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 สมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสาน ผู้จัดอมรมโครงการต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19 เราอยู่ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีวิกฤตเกิดขึ้นมากมายที่เราต้องเผชิญ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้จากการทำธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองด้วยหวังจะมีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเองและคนในครอบครัว แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อตั้งหลัก จุดเริ่มต้นของการให้ อุ้ม-คนึงนิตย์ ชนะโม หนึ่งในสมาชิกโครงการ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 และสมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสานที่รวมตัวกันทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ เห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เป็นกลุ่มที่ต้องการผู้แนะนำในการเริ่มต้นทำอาชีพอะไรบางอย่างให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว อุ้ม จึงได้จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดทักษะวิชาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาและความเชี่ยวชาญในการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีความรู้ มีแนวทางการพึ่งพาตนเองและนำไปปรับใช้ได้จริงกับพื้นที่ของตัวเอง โอกาสที่ได้รับ ตอบโจทย์กับสิ่งที่ทำ อุ้ม ได้นำเสนอความคิดนี้กับมูลนิธิเอสซีจีและได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดอบรมการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการสร้างพื้นที่อาหาร การเก็บเมล็ดพันธุ์ และการทำนาเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและการทำเกษตรพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ ‘ต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19’ ที่บ้านอาจารย์ตุ๊หล่าง แก่นคำกล้า พิลาน้อย ต.ป่าติ้ว อ.กุดชุม จ.ยโสธร เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับข้าวหลากหลายสายพันธุ์