คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนมอบทุนการศึกษาหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 19 ทุน มูลค่า 475,000 บาท
มูลนิธิเอสซีจีขอเชิญสัมผัสพลังศิลป์ของยุวศิลปินเลือดใหม่ ในนิทรรศการโครงการรางวัลยุวศิลปินไทยประจำปี 2563 รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี และ ประเสริฐ เด่นขจรเกียรติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปให้กำลังใจนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจีคนเก่งที่กำลังเก็บตัวฝึกซ้อมในฐานะตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 13
มูลนิธิเอสซีจี มอบถุงยังชีพ 700 ชุด พร้อมสุขากระดาษ 300 ชุด ลงพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นคราชสีมา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยมีเพื่อนพนักงาน จาก บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด(สำนักงานภาคอีสาน) CPAC ภาคอีสาน บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน)
วิกฤต ทำให้ได้พบโอกาส เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารชื่อดังในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ชายคนหนึ่งใส่ชุดเชฟกำลังยืนปรุงอาหารในกระทะอย่างคล่องแคล่วอยู่กับรถเข็นคันเล็ก ๆ ที่ถูกดัดแปลงมาสำหรับขายอาหารตามสั่ง ทั้งสองข้างของรถเข็นถูกล้อมด้วยลูกค้าที่ยืนต่อคิวรออาหารรสชาติเยี่ยม ราคาถูกจากฝีมือผู้ชายที่ใส่ชุดเชฟคนนี้ เขาคือ เชฟวรรณ-ศรีวรรณ สุขสบาย อดีตเชฟภัตตาคารอาหารจีนในโรงแรมชื่อดังของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ชีวิตของเชฟวรรณต้องพลิกผันจากการเป็นเชฟทำอาหารอยู่ภัตตาคารหรูในโรงแรม มาเป็นเชฟรถเข็นขายอาหารตามสั่ง เชฟวรรณกับวันที่ไม่ได้เป็นเชฟในภัตตาคาร เชียงใหม่เป็นจังหวัดท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและมีลูกค้าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวจีนหายไป ซึ่งกระทบธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่โดยตรง รวมถึงภัตตาคารอาหารจีนชื่อดังที่เชฟวรรณทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ต้องยอมปิดตัวลงเช่นกัน ทำให้รายได้ของเชฟวรรณจากที่เคยได้รับเดือนละสองหมื่นกว่าบาทกลายเป็นศูนย์บาทเพียงชั่วข้ามคืน ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวยังเท่าเดิม “ช่วงแรกเจ้าของขอลดเงินเดือนจากสองหมื่นเหลือหมื่นนิด ๆ พอช่วงโควิด-19 หนัก ๆ เขาไม่มีเงินจ้างเพราะว่าไม่มีลูกค้า ที่ร้านส่วนใหญ่ที่มาคือนักท่องเที่ยวชาวจีน พอไม่มีนักท่องเที่ยวร้านก็ไปต่อไม่ได้ ต้องปิดในที่สุด” เข้าใจ ยอมรับ ลุกแล้วเดินต่อไป ช่วงที่ตกงานเชฟวรรณได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ การปฏิบัติธรรมครั้งนั้นช่วยให้เชฟวรรณมีจิตใจที่สงบความเครียดหายไป จึงคิดหาช่องทางหารายได้ให้เร็วที่สุด เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบมากมาย เชฟวรรณตัดสินใจรวบรวมเงินที่ยังพอมีอยู่บ้างโดยไม่รอความช่วยเหลือจากใคร นำเงินมาซื้อรถเข็นเพื่อดัดแปลงทำเป็นรถเข็นสำหรับขายอาหารตามสั่ง แล้วเดินตระเวนขายไปตามจุดต่าง ๆ ทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขายในราคาย่อมเยาเพื่อให้ชาวบ้านได้กินอาหารอร่อยฝีมือระดับภัตตาคารในราคาที่ไม่แพง “ผมเข้าใจนายจ้างเพราะเขาเองก็มีภาระที่ต้องแบกรับเยอะเหมือนกัน เครียดและท้อไปก็เท่านั้นเพราะทุกคนก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน คิดหาวิธีเอาความรู้ที่มีมาทำให้มีรายได้ดีกว่า ยอมรับว่าช่วงแรกที่ตัดสินใจออกมาเข็นรถขายอาหาร ผมรู้สึกอายมากเพราะในชีวิตไม่เคยต้องออกมาเข็นขายอะไรแบบนี้
กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และแอสตร้าเซนเนก้า บริษัทผู้ผลิตชีวภัณฑ์ชั้นนำสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 AZD1222 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในหนังสือแสดงเจตจำนงระบุว่าทุกฝ่ายตกลงจะทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมศักยภาพด้านกำลังการผลิตของ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ให้พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนจำนวนมากเพื่อให้ประเทศไทยและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้า จะจัดสรรวัคซีนวิจัยดังกล่าวโดยไม่มุ่งหวังผลกำไรในช่วง แพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมกันนี้จะถ่ายทอดเทคโนโลยีและร่วมมือกับสยามไบโอไซเอนซ์ในการติดตั้งกระบวนการผลิต ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการผลักดันโดยกระทรวงสาธารณสุข ที่สร้างความเชื่อมั่นต่อการผลิตในประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะได้รับวัคซีนวิจัย AZD1222 หลังจากผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยมีเป้าหมายเริ่มจัดสรรวัคซีนสำหรับประชาชนชาวไทยได้ภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 หนังสือแสดงเจตจำนงดังกล่าวลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พล.อ.อ. สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ประธานกรรมการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี ที่กรุงเทพฯ และ มร. เจมส์ ทีก ประธานประจำประเทศไทย แอสตร้าเซนเนก้า ผ่านการประชุมออนไลน์จากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมี
ทั้งนี้ มูลนิธิเอสซีจี ยังร่วมสมทบทุนในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนภายในประเทศเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท คาดวัคซีนชุดแรกจะพร้อมใช้ในประเทศไทยภายในกลางปี 2564
คุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง โอกาส คือ สิ่งที่ทุกคนสามารถหยิบยื่นให้กันได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เปรียบเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจ ที่ช่วยให้ชีวิตยังไปต่อได้ ซึ่งในช่วงวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นนี้ เราต่างก็เห็นผู้คนลุกขึ้นมาช่วยเหลือ แบ่งปันน้ำใจให้แก่กันและกัน ในรูปแบบที่ตัวเองสามารถทำได้ เช่นเดียวกับ โครงการปันโอกาส โดยมูลนิธิเอสซีจี ที่เปิดโอกาสให้พนักงานเอสซีจีได้รวมตัวกันแสดงออกซึ่งการมีจิตสาธารณะนำความรู้ความสามารถที่มีไปทำประโยชน์ และพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นแก่หมู่บ้าน ชุมชน และสังคม อันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้ พนักงานได้เสนอโครงการ ที่มุ่งเน้นเพื่อช่วยเหลือ สังคมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกกว่า 20 โครงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โครงการห้องเรียนสร้างบุญเรียนรู้ สู่ความมั่นคงทางอาหาร” โดยคุณสุทน แสนตันเจริญ จากเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ได้ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับโครงการที่เขาลงมือทำร่วมกับชุมชน ตำบล เบิกไพร อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เพื่อส่งมอบความรู้และเทคนิคการปลูกผักหาเลี้ยงชีพให้กับคนในชุมชน แก้ปัญหาความเดือนร้อนของชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ด้วยการ “ให้เบ็ด” แทนการ “ให้ปลา” ตามรอย “ศาสตร์พระราชา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถใช้ความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนเบ็ดนั้นไปหาปลากินได้ทุกเมื่อ ปลูกความรู้
มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กไทยในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพราะเด็กเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย จึงร่วมกันจัดโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโควิด-19 โดยเริ่มต้นด้วยการส่งมอบหน้ากากผ้า 100,000 ชิ้น ให้กับเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและเด็กนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้าทั่วประเทศ รวมถึงการจัดประกวดวาดภาพระบายสีเพื่อให้เด็กไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและป้องกันตัวเองในชีวิตประจำวัน ส่งหน้ากากผ้าถึงน้องๆ หน้ากากผ้า ถึงมือน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งน้องๆ จะได้รับคนละ 2 ชิ้น เพื่อใช้สลับกันโดยหน้ากากผ้าสำหรับเด็กนี้มีขนาดเหมาะกับใบหน้าของเด็กด้วยการเสริมโครงลวดที่จมูกเพื่อให้กระชับใบหน้า พร้อมสายคล้องหูปรับขนาดได้ ปลอดภัยด้วยการใช้ผ้าฝ้ายออร์แกนิค 100%มีสีสันดึงดูดให้น่าใช้และเด็กๆ สามารถเขียนชื่อตัวเองที่หน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการสลับหรือสูญหาย อีกทั้งยังมีบุคลากรทางการแพทย์มาร่วมให้ความรู้ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใส่หน้ากาก การล้างมือ อย่างถูกวิธี หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใส่ใจเป็นพิเศษเพื่อให้เด็กไทยได้สวมหน้ากากผ้าที่เหมาะสมอีกทั้งยังช่วยให้เด็กสามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลโควิด-19 รวมถึงการลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากเด็กสู่เด็ก หรือจากเด็กสู่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย รวมถึงคนในชุมชนได้อีกด้วย จินตนาการสู่ภาพวาด “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” นอกจากการส่งมอบหน้ากากผ้าสำหรับเด็กแล้วมูลนิธิเอสซีจียังจัดประกวดวาดภาพระบายสีโดยให้เด็กทั่วประเทศที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษา ส่งภาพวาดเข้าประกวดในโครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เพื่อให้เด็กได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจาก โควิด-19 รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเมื่อเด็กต้องอยู่ร่วมกันที่โรงเรียน โดยมีเงินรางวัลรวม 160,000 บาท และถ้วยรางวัลพร้อมประกาศนียบัตรจากประธานมูลนิธิธรรมมาภิบาลทางการแพทย์ ซึ่งมีน้องๆ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า
"เก่งจริงชิงค่าเทอม" รายการเกมโชว์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่เรียนดี เกรดเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป แต่ไม่มีทุนการศึกษา