ชุด PPE จำนวน 700 ชุด จากโครงการ "สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19" โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งถึงมือแพทย์และเจ้าหน้าที่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครแล้ว
เพื่อนพนักงานเอสซีจีและสมาชิกชมรมช้างปูน ที่ร่วมโครงการ ”สะพานบุญ สะพานใจ” สู้ภัยโควิด โดยมูลนิธิเอสซีจี ร่วมเป็นตัวแทนส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) จำนวน 4 ห้อง ให้กับศูนย์ห่วงใยคนสาคร ที่ 9 จ.สมุทรสาคร
มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) ให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร 8 ส่วนเพิ่มเติมวัฒนาแฟคตอรี่ 2 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร แห่งที่ 2 มูลค่า 640,000 บาท โดยมีนายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครเป็นผู้รับมอบ
มูลนิธิเอสซีจีส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ห้องความดันอากาศบวก Positive Pressure Room เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อขณะทำการคัดกรองและตรวจวินิจฉัย ให้โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 2 ตู้ มูลค่า 200,000 บาท
คลิปนี้มี 2 ภาษา ทั้งไทยและเมียนมา เป็นการสาธิตวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เช่นการใส่หน้ากาก ล้างมือ และรักษาระยะห่าง โดยได้รับความร่วมมือจากพี่น้อง อสต.(อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว) และ อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน) มาสาธิตให้ดูด้วย เพื่อส่งความห่วงใยไปให้ถึงทุกคน
มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้ามอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แก่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ 1) ห้องแยกเชื้อความดันบวกแบบเคลื่อนที่ 2) แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ 3)แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan 4) ชุด PPE 200 ชุด 5) หน้ากากอนามัย N95 500 ชิ้น 6) เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermoscan) 500 ชุด 7) ถุงมือทางการแพทย์ 3,000 คู่ 8) หน้ากากผ้าสำหรับเด็ก 2,000 ชิ้น
สร้างพื้นที่สีเขียวในเมือง คือแนวคิดต้นแบบ ก่อนเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร มีความสนใจเรื่องของพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สวนสาธารณะในตัวเมืองเชียงใหม่ที่มีความหลากหลาย สามารถให้คนทุกระดับเข้าถึงได้ซึ่ง Community Garden คือรูปแบบของพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ คุณตี๋ ให้ความสนใจและคิดว่าควรจะมีพื้นที่สีเขียวรูปแบบนี้ในเมืองเชียงใหม่ หลังจากได้แนวคิดก็เริ่มหาข้อมูล และสำรวจพื้นที่ในตัวเมืองเชียงใหม่เพื่อดูว่าพอจะมีพื้นที่ใดบ้างที่นำมาปรับให้เป็นพื้นที่สีเขียวคุณภาพให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนสวนผักคนเมืองเชียงใหม่เกิดขึ้นจากการที่เคยลงพื้นที่สำรวจ แล้วพบว่าตัวเมือเชียงใหม่มีพื้นที่รกร้างกระจายอยู่ในเมืองเชียงใหม่มากมายที่ไม่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ จึงได้นำเสนอกับเทศบาลนครเชียงใหม่ จนได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า เนื้อที่ประมาณ 2.5 ไร่ มาใช้พัฒนาเป็นพื้นที่ผลิตอาหารคือปลูกผักและให้การเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารในชื่อโคงการ “สวนผักคนเมืองเชียงใหม่” โดยมีกลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอที่เรียกว่าคณะผู้ก่อการเป็นหัวแรงสำคัญ ทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาครัฐ “วิกฤตโควิด-19 มีประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเมืองเกิดขึ้นในช่วงที่ล็อคดาวน์ คนตกงานต้องไปต่อคิวรับอาหารที่แจกฟรี ผมเลยคิดว่าถ้ามีพื้นที่ Community Garden หรือ Urban Farm ที่เป็นพื้นที่ปลูกผักเพื่อเอาไว้เก็บกินและเป็นที่เรียนรู้ให้กับคนในเมืองน่าจะเป็นประโยชน์มาก เพราะการปลูกผักกินเองเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในเมือง”คุณตี๋–ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร กล่าว จากพื้นที่รกร้าง สู่อาหารช่วยคนไร้บ้าน พื้นที่ทำโครงการสวนผักคนเมืองเดิมเป็นพื้นที่รกร้างมีกองขยะสูง 4 เมตร เป็นของเทศบาลฯ ซึ่งอยู่ติดกับคลองแม่ข่า คณะผู้ก่อการ (กลุ่มสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ) ได้เปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่ใครก็สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ โดยจัดสรรพื้นที่เป็น โซนผักหมุนเวียน โซนผลไม้ ต้นไม้ และมีพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งการจัดการระบบของสวนผัก คนเมืองมีอยู่ 3
พิษโควิดกับ วิกฤตน้อง 4 ขา วิกฤตโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบกับคนเท่านั้นแต่มีผลต่อเพื่อนร่วมโลกอย่างบรรดาสัตว์สี่ขาทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย สุนัข และแมว เป็นต้น ที่ถูกปล่อยทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเจ็บป่วยล้มตาย บ้านช้างจุดเริ่มต้นที่พักพิงของสัตว์น้อยใหญ่ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ให้การดูแลและให้ความช่วยเหลือช้างไทย รณรงค์ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศ ก่อตั้งโดย คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ จุดเริ่มต้นจากช้าง 9 เชือก ที่เป็นช้างลากไม้และช้างในคณะละครสัตว์ที่ปลดระวางและมีเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ เนื่องจากปัญหาช้างป่าที่พื้นที่ป่าถูกลุกล้ำจากสภาพแวดล้อม ไฟป่า หรือการคุกคามของมนุษย์ ทำให้มูลนิธิฯ ต้องดูแลช้างเหล่านี้โดยมีบ้านให้พวกช้างอยู่เป็นหลักแหล่ง ด้วยความที่ คุณเล็ก-แสงเดือน ชัยเลิศ ประธานมูลนิธิฯ ได้เดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ได้เห็นสัตว์ที่ทุกข์ทรมาน เช่น สุนัขจรจัดนอนบาดเจ็บอยู่ข้างถนน แมวแร่รอนผอมโซ จึงนำกลับมารักษาและให้อยู่ที่มูลนิธิฯ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการช่วยเหลือสัตว์ยากไร้อื่น ๆ นอกเหนือจากช้างก็มีตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ม้า วัว ควาย กระต่าย ลิง สุนัข และแมว