Skip to content

จองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 และการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน

ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั้งภาครัฐและเอกชนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา และสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวานและโรคอ้วน รวมถึงกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป การจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุดระบบการจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 มีการปรับแผนใหม่โดยให้ชะลอการลงทะเบียนผ่าน LINE Official หมอพร้อมไว้ก่อน และให้แต่ละจังหวัดเริ่มดำเนินการเปิดแพลตฟอร์มให้ประชาชนในพื้นที่ได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแทน ส่วนผู้ที่ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนกับระบบหมอพร้อมไว้แล้วให้เป็นไปตามนัดหมายเดิม โดยระบบยังคงทำหน้าที่ติดตามการฉีดเข็มที่ 1, 2 ติดตามการรายงานผลข้างเคียงจากการรับวัคซีน และออกใบรับรองการฉีดวัคซีน สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 18-59 ปี และไม่ได้เป็นผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง สามารถลงทะเบียนได้ผ่าน3 ช่องทาง ดังนี้1. กลุ่มเข้าร่วมโครงการรัฐบาล อย่าง “เราชนะ” และ “คนละครึ่ง” สามารถลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนผ่านแอปฯ เป๋าตัง2. ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ไทยร่วมใจ.com3. ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถลงทะเบียนผ่านร้านสะดวกซื้อ ได้แก่

รู้ทันโควิดสายพันธุ์อังกฤษ พร้อมขั้นตอนการรักษาและข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องพักที่โรงพยาบาลสนาม

โควิด-19 ระลอกใหม่ สายพันธุ์อังกฤษ กำลังระบาดหนักในไทย ซึ่งมาจากคลัสเตอร์สถานบันเทิง เนื่องด้วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่แสดงอาการทำให้การแพร่ระบาดกระจายอย่างรวดเร็วเกิดซูเปอร์ สเปรดเดอร์ (Super Spreader) และติดเชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ปกติประมาณ 1.7 เท่า ซึ่งตอนนี้โควิดสายพันธุ์อังกฤษกำลังแพร่กระจายระบาดอยู่ในหลายประเทศ

ดำเนินชีวิตอย่าง มั่นคงและยั่งยืน

ดำเนินชีวิตอย่างมั่นคงและยั่งยืน แพท-นัดดา ทุพแหม่ง ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 4 “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี สู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน” แพท-นัดดา ทุพแหม่ง สาวสกลนครที่เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ สิบกว่าปีรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงอีกต่อไป จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่จังหวัดสกลนครเพื่อเปิดร้านกาแฟเล็กๆ ที่หน้าบ้านควบคู่ไปกับการเลี้ยงไก่ไข่เป็นรายได้เสริม ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 คุณแพทไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากวิกฤตครั้งนี้เนื่องจากมีอาชีพทำกินที่บ้าน จึงมีรายได้เลี้ยงดูตัวเอง และในขณะเดียวกันคุณแพทได้ช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตให้พอลืมตาอ้าปากได้จากการเข้าร่วมโครงการ ‘ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีสู้วิกฤต COVID-19 ของคนอยากอยู่บ้าน’ บ้าน คือ จุดเริ่มต้นของความรักและการแบ่งปัน บ้าน ไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัย บ้าน คือ ที่พักพิงจิตใจ มีความรัก ความอบอุ่นปลอดภัย และความผูกพันของคนในครอบครัวอยู่ในบ้านหลังนั้น แต่แล้ววันหนึ่งที่สมาชิกในบ้านพากันจากไป บ้านที่เป็นดังลมหายใจของชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งก็มืดลงคุณแพทมีสมาชิกในบ้านคือ พ่อ แม่ และพี่ชาย พ่อของคุณแพทเสียชีวิตก่อนที่คุณแพทกลับไปอยู่บ้าน หลังจากนั้นได้ซักพักแม่และพี่ชายของคุณแพทก็เสียชีวิตไปในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้คุณแพทต้องอยู่คนเดียวจนเป็นโรคซึมเศร้า เคยคิดสั้นหลายครั้งกระทั่งครั้งล่าสุดคุณแพทเดินถือเชือกไปยังมุมของบ้านเพื่อที่จะจบชีวิตตัวเองตามครอบครัวไป มีกลุ่มเด็กแว้นในหมู่บ้าน ขับรถมอเตอร์ไซต์ผ่านไปมาส่งเสียงดังทำให้คุณแพทวางเชือกแล้วเดินออกมาหน้าบ้านตะโกนต่อว่าเด็กกลุ่มนั้นว่า“ไม่ทำตัวให้มีประโยชน์อะไรเลยเหรอ?” เด็กตะโกนสวนกลับมาว่า “ไม่รู้จะไปทำอะไร” คุณแพทจึงชวนเด็กแว้นกลุ่มนั้นไปล้างห้องน้ำวัด จากนั้นก็กลายเป็นการรวมกลุ่มเด็กเยาวชนในหมู่บ้านหลายสิบคนคุณแพทก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนจิตอาสาพาใจเฮ็ดบ้านแป้น ซึ่งนั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่คุณแพทคิดสั้นหลังจากนั้นไม่เคยมีความคิดแบบนั้นอีกเลย “จากบ้านที่เคยมีเสียงคนคุยกันกลับไม่มีใครเลยซักคน ช่วงนั้นลุกขึ้นมาร้องไห้ทุกคืนแบบคนไร้สติเลยค่ะ ความรู้สึกเหมือนหมาน้อยตัวหนึ่งที่เดินตากฝนมองหาใครไม่เจอ หิวข้าวก็หิว เลยคิดว่าไม่อยู่แล้วไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไมเพราะไม่มีใครเหลือแล้วพอมาถึงจุดนี้แล้วเรามองย้อนกลับไปต้องขอบคุณเด็ก

โครงการ “สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19” มอบนวัตกรรม “แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT SCAN” ให้ รพ.ค่ายธนะรัชต์ จ.ประจวบคีรีขันธ์

มูลนิธิเอสซีจี​ และเพื่อนพนักงานเอสซีจี ได้ส่งมอบ "แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT SCAN" ให้​ รพ.ค่​ายธนะรัชต์​ เรียบร้อยแล้ว

เอสซีจี และมูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าช่วยไทยพ้นโควิด 19 ระลอกใหม่ 
เร่งส่งมอบเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี นวัตกรรมเพื่อสังคมจากกระดาษรีไซเคิล 100% แข็งแรง ปลอดภัยช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และบุคลากรทางการแพทย์

เอสซีจีและมูลนิธิเอสซีจี เร่งส่งมอบนวัตกรรมโควิด 19 เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในภาวะเร่งด่วน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้หลายโรงพยาบาลเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP ร่วมส่งมอบ “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” เพื่อรองรับผู้ป่วยจากการระบาดของโควิด – 19 ระลอกเมษายน 2564

แม้เป็นช่วงสงกรานต์ เราก็ไม่หยุดส่งความช่วยเหลือ ยังคงเดินหน้าการช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้ มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP ร่วมส่งมอบ "เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” และมุ้ง จำนวน 200 ชุด ให้แก่โรงพยาบาลสนาม

นักรบเสื้อฟ้า (หมออนามัย) ผู้ปิดทองหลังพระ

การต่อสู้กับโควิดระลอกใหม่กว่า 2 เดือนที่ผ่านมา โดยจังหวัดสมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อกว่า 10,000 คน และยังคงเดินหน้าตรวจเชิงรุกต่อไป นอกจากบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันและตรวจคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือศูนย์กักกัน คนเหล่านี้ใส่ “เสื้อสีฟ้า” พวกเขาคือ “หมออนามัย” ซึ่งปฏิบัติงานอย่างหนักเพื่อควบคุมและป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด-19 หมออนามัย คือใคร “หมออนามัย” หรือนักรบเสื้อฟ้า คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด คอยเฝ้าระวังการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยทำงานควบคู่กับอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั้งการดูแลรักษา การตรวจหาเชื้อ (SWAB) งานทางระบาดวิทยา (การคัดกรอง การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรค การสอบสวนโรค) งานอนามัยชุมชน (การตรวจเยี่ยม/ตรวจสอบกลุ่มเสี่ยง การเยี่ยมติดตามตรวจเคสที่ถูกกักกัน 14 วัน) งานส่งเสริมสุขภาพและการให้สุขศึกษา (การดูแลสุขภาพตนเอง การกินร้อน ช้อนส่วนตัว ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อในแหล่งสัมผัสโรคหรือสัมผัสกลุ่มเสี่ยง การรณรงค์สร้างจิตสำนึกต่าง ๆ การส่งต่อผู้ป่วย) การเยียวยาและการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการสื่อสารข้อมูลสถานการณ์โรคที่ถูกต้องแก่ประชาชน ฯลฯ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการระบาดไปยังพื้นที่อื่น ผู้นำกองกำลังนักรบเสื้อฟ้าฟันฝ่าโควิด จากที่ทราบดีว่าตลาดกลางกุ้งเป็นศูนย์กลางระบาดของเชื้อโควิด-19 และในเขตอำเภอเมืองสมุทรสาครมีโรงงานกว่า

“หมอชนะ” เเละ “ไทยชนะ” เราจะชนะโควิด-19 ไปด้วยกัน

หลังจากการกลับมาของโควิด-19 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ได้มีการยกระดับการบังคับใช้มาตรการป้องกันโรคให้ประชาชนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและให้มีการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” ซึ่งหลายคนอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” กับ “ไทยชนะ” ว่าแตกต่างกันอย่างไร เพื่อขจัดข้อสงสัยเรามาทำความรู้จักกับทั้งสองแอปฯ ถึงวัตถุประสงค์การใช้งานและความจำเป็นในการดาวน์โหลดติดตั้ง

มูลนิธิเอสซีจีเดินหน้ามอบเกราะป้องกันโควิด-19 ระลอกใหม่ ให้เหล่านักรบชุดขาว และผู้ที่ได้รับผลกระทบ

การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์ แรงงานต่างด้าวโดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการซึ่งทำให้เกิดการแพร่ระบาดสู่ผู้อื่นได้ง่าย อีกทั้งแรงงานต่างด้าวพักอยู่รวมกันอย่างแออัดจึงเกิดการติดเชื้อจำนวนมาก ส่งผลให้มียอดผู้ป่วยสะสมกว่า 27,494 คน (ยอด ณ วันที่ 18 มีนาคม 2564) และกระจายไปกว่า 30 จังหวัด มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยในความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่ได้รับผลกระทบ จึงได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องทันทีทั้งทางด้านนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ต่าง ๆ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลและให้กำลังใจกับนักรบแถวหน้าและผู้ป่วยผ่านสื่อต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ที่จังหวัดสมุทรสาครมีผู้ติดเชื้อนับหมื่นคน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร” ขึ้น จำนวนทั้งหมด 10 แห่ง โดย ณ เวลานั้นศูนย์ห่วงใยคนสาครบางแห่งยังไม่มีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ติดเชื้อที่อยู่ในศูนย์ฯ มูลนิธิเอสซีจีพร้อมเพื่อนพนักงานเอสซีจี และชมรมช้างปูนเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรม “ห้องน้ำสำเร็จรูปลดเสี่ยงติดเชื้อ (Modular Bathroom)” ทั้งหมด 32 ห้อง แยกชาย-หญิง และผู้สูงอายุ รวมมูลค่าทั้งสิ้น 3,400,000 บาท มอบให้กับโรงพยาบาลสนาม “ศูนย์ห่วงใยคนสาคร”เทศบาล ตำบลนาดี วัฒนาแฟลคตอรี่

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบถุงน้ำใจ ห่วงใยผู้ได้รับผลกระทบโควิด -19

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมมอบถุงน้ำใจ ซึ่งบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค พร้อมด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ และปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย จำนวน 100 ชุด