เรียนรู้ ต่อยอด สู่วิถีชีวิตที่มั่นคง น้อย – รังสรรค์ แก้วสุสวรรณ หนึ่งในผู้ร่วมโครงการปันโอกาส ส่งเสริมรายได้จากการแปรรูปอาหารทะเลแดดเดียว ในช่วงเช้ามืดของทุกวันกลุ่มชาวประมงเรือเล็กกว่า 30 ลำ ของบ้านปากคลองตากวน ต.มาบตาพุด จ.ระยอง จะออกเรือแล่นสู่ทะเลเพื่อจับสัตว์น้ำ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย และปลาหมึก เพื่อนำมาขายที่ตลาดแพปลาที่มีพ่อค้าแม่ค้ารับซื้อของทะเลไปขายต่อให้กับนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และโรงแรม ทำให้ชาวประมงเรือเล็กมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัวเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สถานการณ์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงชุมชนเล็กๆ เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เรือเล็กที่ออกจากฝั่ง กลับเข้าฝั่งมาด้วยความเศร้า “ชาวบ้านยังชีพด้วยการออกเรือไปหาปลามาขาย เมื่อเกิดโควิด-19 ส่งผลกระทบให้รายได้ของกลุ่มชาวประมงต้องหยุดชะงัก เพราะเอาไปขายไม่ได้เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว อีกทั้งธุรกิจโรงแรมก็ซบเซาร้านอาหารทะเลก็ปิดกระทบเป็นลูกโซ่ ชาวบ้านที่จับสัตว์ทะเลมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปต่อยังไง” คำบอกเล่าของพี่น้อย-รังสรรค์ แก้วสุวรรณ พนักงานธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่ใกล้ชิดกับชาวบ้านชุนชนบ้านปากคลองตากวนได้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวประมงเรือเล็กของชาวบ้านที่ขาดรายได้ในช่วงนี้ จากเดิมที่มีเรือประมงหลายสิบลำออกไปจับสัตว์น้ำแต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ลำเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีนักท่องเที่ยว ตลาดแพปลาปิด แต่ชาวประมงบางคนก็ยังต้องออกเรือไปหาสัตว์น้ำ อย่างน้อยสามารถนำมาทำอาหารกินเลี้ยงชีวิตตัวเองและครอบครัวให้พอดำรงอยู่ได้ ให้แนวคิดการแปรรูปอาหารกับชาวบ้าน เพื่อการเรียนรู้และปรับตัวให้อยู่รอด ปัญหาการขาดรายได้ของชาวประมงชุมชนบ้านปากคลองตากวนทำให้พี่น้อยและทีมได้ร่วมหาแนวทางและช่องทางการขายให้กับชาวบ้าน จนได้แนวความคิดการแปรรูปอาหารทะเล ด้วยการทำเป็นปลาแดดเดียว ปลาหมึกอบแห้ง ปลาเค็มหรือตากแห้ง
เรียนรู้การพึ่งพาตนเอง สู่การดำเนินชีวิต ที่มั่นคงอย่างยั่งยืน อุ้ม – คนึงนิตย์ ชนะโม ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 สมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสาน ผู้จัดอมรมโครงการต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19 เราอยู่ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีวิกฤตเกิดขึ้นมากมายที่เราต้องเผชิญ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีผู้คนจำนวนมากต้องสูญเสียรายได้จากการทำธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองด้วยหวังจะมีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคงเพื่อเลี้ยงปากท้องตัวเองและคนในครอบครัว แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้ขาดรายได้จึงจำเป็นต้องเดินทางกลับถิ่นฐานบ้านเกิดเพื่อตั้งหลัก จุดเริ่มต้นของการให้ อุ้ม-คนึงนิตย์ ชนะโม หนึ่งในสมาชิกโครงการ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 5 และสมาชิกกลุ่มชาวนาไทอีสานที่รวมตัวกันทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ เห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 เป็นกลุ่มที่ต้องการผู้แนะนำในการเริ่มต้นทำอาชีพอะไรบางอย่างให้มีรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัว อุ้ม จึงได้จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดทักษะวิชาจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาและความเชี่ยวชาญในการทำเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ให้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีความรู้ มีแนวทางการพึ่งพาตนเองและนำไปปรับใช้ได้จริงกับพื้นที่ของตัวเอง โอกาสที่ได้รับ ตอบโจทย์กับสิ่งที่ทำ อุ้ม ได้นำเสนอความคิดนี้กับมูลนิธิเอสซีจีและได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดอบรมการเรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านการสร้างพื้นที่อาหาร การเก็บเมล็ดพันธุ์ และการทำนาเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงทางอาหารและการทำเกษตรพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการ ‘ต้นกล้าชุมชนโครงการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู COVID-19’ ที่บ้านอาจารย์ตุ๊หล่าง แก่นคำกล้า พิลาน้อย ต.ป่าติ้ว อ.กุดชุม จ.ยโสธร เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับข้าวหลากหลายสายพันธุ์
พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พีซ-พีรกานต์ ทองเทียม หนุ่มปัตตานี กับมุมมองความคิดที่เปลี่ยนไปหลังเกิดผลกระทบจากวกฤตโควิด-19 “ในความมืดที่เราคิดว่ามองอะไรไม่เห็น แต่ผมได้เห็นอะไรบางอย่างในมุมที่เปลี่ยนไป ขณะที่ธุรกิจหนึ่งกำลังจะดับลง ธุรกิจใหม่ก็เริ่มต้นขึ้นมา ผมคิดได้ว่าที่จริงแล้วเรามีทางออกในทุกหนทาง แค่เราได้ลองเปลี่ยนมุมมอง” คำบอกเล่าผ่านมุมมองความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากได้เรียนรู้และปรับตัวเพื่อก้าวข้ามวิกฤตของ พีซ-พีรกานต์ ทองเทียบ หนุ่มชาวปัตตานีในวัยยี่สิบ พีซ อาศัยอยู่กับยายที่จังหวัดปัตตานี เรียนจบด้านการโรงแรมจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี ขณะนี้กำลังเรียนที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คณะวิทยาการจัดการ ปี 1 เรียนแบบออนไลน์อยู่ที่บ้าน ระหว่างนั้นก็มีรับทำเว็บไซต์พอมีรายได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ พอใช้ในแต่ละเดือน ช่วงที่ พีซ เรียนจบเป็นช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 กำลังระบาด จากที่ตั้งใจว่าเรียนจบแล้วจะไปสมัครงานในสายงานโรงแรมตามที่ตัวเองได้เรียนมา พอเกิดวิกฤตโควิด-19 ธุรกิจท่องเที่ยวกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม นั่นเป็นเหตุทำให้ความตั้งใจและความฝันในการทำงานที่โรงแรมของ พีซ สลายไปพร้อมกับการปิดตัวของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว แต่ในวิกฤตก็มีโอกาสอยู่ในนั้นเสมอ พีซ ได้รับเงินทุนจากโครงการ “พี่ตั้งต้น น้องตั้งไข่” ของมูลนิธิเอสซีจี ที่มอบเงินทุนให้กับนักเรียนทุนของมูลนิธิฯ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระครอบครัวในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยนำเงินทุนไปสร้างรายได้ ซึ่ง พีซ ได้นำเงินทุนตั้งต้นนี้มาทำน้ำพริกกากหมูสูตรคุณยาย แรงบันดาลใจจากเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดน้ำพริกกากหมูสูตรคุณยาย “วันหนึ่งผมไปที่โบสถ์กับยาย (โบสถ์คริสต์) ผมเห็นพี่ที่รู้จักเขาทำน้ำพริกกากหมูขาย
เป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทย ได้รับคำชื่นชมจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ในการต่อสู้กับโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนี้มาจากนวัตกรรมที่มีชีวิตที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ อสม.หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านนั่นเอง ด้วยจำนวน อสม. กว่า 1,040,000 ชีวิต ที่แทรกซึมอยู่ทั่วทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะห่างไกลแค่ไหน ยากลำบากเพียงใด จะมีมดงานเหล่านี้เข้าถึงทุกพื้นที่ เป็นด่านหน้าในการหาข่าวผู้มีความเสี่ยง เฝ้าระวัง ติดตาม รวมถึงให้ความรู้ด้านการป้องกัน ทำให้เกิดการควบคุมโรค สอดประสานกันอย่างเป็นระบบในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ดังนั้น อสม. จึงเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขไทย นักสู้ด้วยหัวใจ “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เราจะเป็นกลุ่มคนแรกที่เข้าไปช่วยเหลือ แม้เครื่องมือ อุปกรณ์ไม่ได้มีเท่าที่ต้องการ เราก็ทำด้วยของที่มี ทำด้วยความจริงใจ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องตรงนี้ พี่น้องปลื้มใจ เราก็ปลื้มใจ อยากทำแบบนี้ไปจนกว่าชีวิตของเราจะออกจากร่าง” อับดุลเลาะห์ มะเด – อสม. ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา จากการลงพื้นที่จริงของอับดุลเลาะห์ มะเด อสม. ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ทำให้พบเจออุปสรรคต่างๆ ทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก
โอกาสในวิกฤต มองชีวิตในมุมบวก เอก อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ช่างภาพอิสระ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 หลายชีวิตต้องเผชิญปัญหาจากการตกงาน ขาดรายได้ ชีวิตถึงจุดเปลี่ยนแบบไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นวิกฤตที่ทำให้สภาพสังคมที่เราคุ้นเคยเปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตจึงยากลำบากมากขึ้น ในขณะที่หลายๆ คนไม่มีแรงจะสู้ต่อ หลายๆ คนรู้สึกท้อถอย กลับมีคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่คิดจะยอมแพ้ ไม่คิดจะหันหลังให้กับอุปสรรคตรงหน้า เขามองแค่ว่าถ้าเขาเข้มแข็งและมองหาโอกาสในวิกฤต อย่างน้อยตัวเขาเองและคนรอบข้างคงพอจะมีความหวัง เพราะเขาเชื่อว่าพลังที่ดีที่สุดในยามนี้คือพลังบวกนั่นเอง ไม่หยุดความคิด พิชิตโอกาสรอบตัว สถานการณ์ชีวิตของคนตัวเล็กแต่ใจสู้กับวิกฤตครั้งนี้ของ ช่างภาพหนุ่ม เอก อนุวัฒ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา คงไม่ต่างจากคนอื่นมากนัก อาชีพช่างภาพเป็นอาชีพแรกๆ ที่ไม่มีงานหมุนเวียนเข้ามาในช่วงวิกฤตโควิด-19 และเป็นเวลาเกือบสองเดือน ที่แทบไม่มีงานให้ถ่ายทำ แต่เอก ก็ไม่ได้ใช้ช่วงเวลานี้หมดเปลืองไปเฉยๆ มันเป็นช่วงเวลาที่เขาได้มองไปรอบตัว ได้อยู่กับตัวเองและครุ่นคิดว่าสิ่งใดบ้างที่เขาจะทำได้ สิ่งใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและครอบครัวที่สุด เอกค้นพบว่าคุณย่าของเขามีสูตรอาหารโบราณแบบฉบับชาววัง ที่เขาเคยกิน แต่คุณย่าไม่ได้ทำบ่อยนัก เขาคิดว่าสูตรอาหารพวกนี้ น่าจะถูกส่งต่อให้คนอื่นได้ชิมในช่วงโควิดบ้าง เขาเลยบอกคุณย่าว่า งั้นมาทำอาหารขายกันเถอะ คนจะได้กินอาหารสูตรชาววังอร่อยๆ เพราะอย่างน้อยของอร่อยก็คงทำให้คนกินยิ้มได้ “ในช่วงโควิดผมในฐานะช่างภาพอิสระ ก็ได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน แต่ผมก็ลุกขึ้นสู้ด้วยการทำอาหารขายทางออนไลน์