จากปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและสภาการพยาบาลได้พยายามแก้ปัญหาด้วยการผลิตบุคลากร “ผู้ช่วยพยาบาล” เข้ามาช่วยและแบ่งเบางานของพยาบาล แต่ปัญหานี้ก็ยังไม่คลี่คลายลงมากนัก เพราะอัตราส่วนพยาบาลต่อจำนวนประชากร ยังคงเป็น 1 ต่อ 250 และตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2577 จะต้องผลิตบุคลากรเพิ่มให้มากขึ้นเพื่อให้อัตราส่วนพยาบาลต่อประชากรเป็น 1 ต่อ 200 ก็ตาม โรงพยาบาลศิริราช ในฐานะโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ นอกจากการผลิตแพทย์และพยาบาลให้กับวงการแพทย์แล้ว ยังได้เปิดหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรมาช่วยในส่วนงานของโรงพยาบาลศิริราชและสถานพยาบาลในเครือข่ายเอง โดยเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนภายใต้การบริหารจัดการของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจากความต้องการผู้ช่วยพยาบาล ทำให้เกิดเป็นความร่วมมือกับมูลนิธิเอสซีจี ในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนในหลักสูตรนี้มาตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมามูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนทุนการศึกษาให้เด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการให้ทุนในสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ส่งเสริมให้เด็ก และเยาวชน ได้มีการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ ทั้งทักษะวิชาชีพและทักษะชีวิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง เช่นการสนับสนุนทุนการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร “ผู้ช่วยพยาบาล” กับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 179 ทุน เป็นงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท รศ. นพ. ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าส่งเสริมแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอดในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้มีโอกาสต่อยอดทักษะและความสามารถ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำทักษะทั้ง Hard Skill และ Soft Skill มาใช้พัฒนาตนเองในแต่ละบริบทของสถานการณ์เพื่อให้อยู่รอดได้ โดยเฉพาะในแวดวงงานศิลปะ ในโครงการต่างๆ เช่นโครงการ “ยุวศิลปินไทย” หรือ Young Thai Artist Award เพื่อให้ศิลปินรุ่นเยาว์ได้มีพื้นที่แสดงผลงานเพื่อจะเป็นฐานและโอกาสที่จะได้พัฒนาความสามารถด้านศิลปะ เพื่อก้าวเข้าสู่วงการงานด้านศิลปะอย่างเต็มตัว โดยปีนี้ เป็นโอกาสพิเศษครบรอบ 20 ปี และได้ใช้วาระความพิเศษนี้ พูดคุยกับยุวศิลปินน้องใหม่เจ้าของรางวัลยอดเยี่ยมสาขาวรรณกรรมและสาขาภาพยนตร์ ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิด Learn to Earn และการใช้ทักษะทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ในการทำงานศิลปะของตนเอง อติรุจ ดือเระ เจ้าของรางวัลยอดเยี่ยมสาขาวรรณกรรม Young Thai Artist Award ประจำปี 2567 จากผลงาน “เริงรำและร่ำไห้ในรั้วบ้านเดียวกัน” เล่าว่าตนเองเป็นคนชอบเขียนมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่คิดมาก่อนว่างานเขียนจะส่งผลกับชีวิตตนเอง
มูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนรู้จักและเข้าใจถึงแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด ด้วยการนำทักษะที่มีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill มาใช้ในแต่ละโอกาส เพื่อให้อยู่รอดได้ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนและต่อยอดความรู้ความสามารถของเด็กและเยาวชนไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในทุกด้าน โดยเฉพาะการเรียนรู้และการพัฒนาที่จะต้องทำตลอดชีวิต เพื่อที่จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา
มูลนิธิเอสซีจี ส่งเสริมแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด ผ่านโครงการยุวศิลปินไทย Young Thai Artist Award ที่ศิลปินสามารถผสมผสานทักษะ Hard Skill และ Soft Skill ในการสร้างชิ้นงานศิลปะจนประสบความสำเร็จในชีวิต
มูลนิธิเอสซีจี เชิญชวนผู้สนใจในงานศิลปะ ร่วมงาน Young Thai Artist Award 2024 ในวันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 13.00-17.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีหลากหลายกิจกรรมดังนี้
จากความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนเยาวชนไทยในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพ เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา นอกจากที่มูลนิธิเอสซีจีให้การสนับสนุนเรื่องทุนการศึกษาแล้ว ยังสนับสนุนการแข่งขันฝีมือแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง
เครื่องจักสานจากไม้ไผ่ในอดีต ได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในกิจวัตรประจำวันในหลายๆ พื้นที่ของประเทศไทย แม้ว่าในปัจจุบันงานเครื่องจักสานจะมีการพัฒนารูปแบบให้มีความสวยงาม คงทน เพื่อนำมาใช้เป็นของสะสม ของประดับมากขึ้น แต่การผลิตเพื่อใช้งานในพื้นที่ชนบทก็ยังคงมีอยู่ และงานจักสานส่วนใหญ่ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งมักจะพบปัญหา “มอด” กัดกินผิวไม้ที่นำมาใช้จักสาน ทำให้อุปกรณ์เครื่องใช้ชิ้นนั้นชำรุด
แม้เราจะคุ้นเคยกับคำกล่าวที่ว่า “การเรียนรู้ไม่สิ้นสุด” หรือ “Lifelong Learning” กันมานาน แต่คงไม่มียุคไหนจะเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ได้ชัดเจนเท่าในยุคนี้แล้ว… ยุคที่ว่าคือยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท และได้เปลี่ยนชีวิตแบบพลิกฝ่ามือ ยุคที่ AI คืบคลานเข้ามาแทนที่หลายสิ่ง นับจากนี้ต่อไปโฉมหน้าของโลกและชีวิตผู้คนจึงพร้อมเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอีกมาก นั่นแปลว่าหากเราไม่ปรับตัว หรือไม่พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือทักษะใหม่ๆ เราอาจกลายเป็น “คนตกยุค” หรือ “อยู่รอดได้ยาก” ในโลกที่เดินหน้าเร็วแบบก้าวกระโดดเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกของอาชีพการทำงาน ซึ่งเป็นภาคส่วนใหญ่ของชีวิตที่หลายคนเริ่มมองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า หลายอาชีพถูกลดบทบาทลง หลายอาชีพถูกแทนที่ และหลายอาชีพหายไปแล้วแบบที่เราไม่ทันได้รู้เนื้อรู้ตัวก็มี ขณะเดียวกันก็มีหลายอาชีพเกิดใหม่ พร้อมทักษะใหม่ และองค์ความรู้ใหม่ๆ อีกมากที่เราอาจไม่คุ้นเคย ..แล้วทางเลือก ทางรอดของชีวิตเรา อยู่ตรงไหน!? LEARN to EARN ไม่ใช่ทางเลือก แต่คือทางรอด หากวันนี้เราคือส่วนหนึ่งของบุคลากรในโลกของการทำงาน บางครั้งก็พบว่า ทักษะที่เรามีอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนหรือการจํากัดอายุผู้เรียนแทบจะไม่มีอีกต่อไป แต่จะกลายเป็น “การเรียนรู้อยู่มากกว่าแค่ในห้องเรียน” หรือ “การเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ” สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกยุค ทุกสมัย เป็น Lifelong Learning มูลนิธิเอสซีจี ก็เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่อยากเห็นคนทุกคนมี