“อย่าปล่อยให้คำพูดของคนอื่นทำร้ายเรา เราต้องเปลี่ยนความคิดให้เรื่องแย่ๆ เป็นเหมือนสีสันที่เกิดขึ้นกับชีวิต เพราะชีวิตคนเราไม่ได้ราบรื่นหรือมีความสุขตลอดเวลามันต้องมีช่วงที่แย่บ้างก็ถือว่าเป็นสีสันไปค่ะ” (เสียงหัวเราะร่าเริง) ฝ้าย เล่าถึงเรื่องที่เคยถูกไซเบอร์บูลลี่เกี่ยวกับความพิการของเธอในช่วงที่กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักจากการไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้า การถูกคนในสังคมโซเชียลพูดดูหมิ่นครั้งนั้นทำให้ ฝ้าย รู้สึกแย่มากจนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในห้องเกือบมีอาการซึมเศร้า แต่ด้วยความฝันอันยิ่งใหญ่ที่อยากเก็บเงินซื้อบ้านให้กับพ่อแม่ทำให้ ฝ้าย เอาชนะความอคติของคน และมองข้ามความผิดปกติของร่างกายที่พิการของตัวเอง พร้อมลุกขึ้นมาเปิดไลฟ์โชว์การแต่งหน้าด้วยเท้าอีกครั้ง จนเป็นที่รู้จักในฐานะบิวเตอร์บล็อกเกอร์ไร้แขนที่ใช้เท้าแต่งหน้าสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน บกพร่องเพียงแค่ร่างกาย แต่หัวใจแข็งแรง ฝ้าย-บุญธิดา ชินวงษ์ สาวน้อยตัวเล็กที่มีความผิดปกติทางร่างกายมาแต่กำเนิด ไร้แขนทั้งสองข้าง มีขาที่ยาวไม่เท่ากัน มีปอดข้างเดียว และมีอาการหลังคด ตอนที่ยังเล็กๆ หมอบอกกับแม่ของฝ้ายว่าจะมีอายุอยู่ได้แค่ 9 ปี เพราะว่ามีปอดแค่ข้างเดียว แต่ ฝ้าย ก็เจริญเติบโตผ่านวัยเด็กมาได้ด้วยร่างกายที่แข็งแรง ขณะนี้ ฝ้าย เรียนอยู่ปี 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ และมีอาชีพเป็นบิ้วตี้บล็อกเกอร์ที่โด่งดัง ความสดใส ร่าเริง ของฝ้าย ทำให้ใครๆ ที่ได้ยินก็มีความสุข จนกระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่ทุกคนได้รับผลกระทบกันหมดรวมถึง ฝ้าย จากที่เคยมีงานจ้างให้รีวิวสินค้าผ่านการไลฟ์โชว์แต่งหน้าก็ไม่มีลูกค้ารายได้ไม่เข้า แม้จะเป็นคนร่าเริงแต่วิกฤตนี้ก็ทำให้ ฝ้าย เริ่มรู้สึกแย่กับตัวเองและมีความเครียดเหมือนกับหลายคนที่กำลังเผชิญอยู่ แต่ด้วยความที่เป็นคนมีพื้นฐานจิตใจที่เข้มแข็ง ฝ้าย
มูลนิธิเอสซีจี ตระหนักถึงความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับสงครามโรคระบาดที่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าหมื่นคนต่อวัน เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชนจึงไม่เพียงพอจนต้องเพิ่มโรงพยาบาลสนาม ถึงแม้ว่าจะขยายโรงพยาบาลสนามและมีเครื่องช่วยหายใจที่เพียงพอ แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเปรียบเสมือนนักรบด่านหน้าที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคระบาดไม่สามารถขยายเพิ่มได้ อีกทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานหนักกันอยู่ทุกวันนี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสกับเชื้อ ทำงานภายใต้ภาวะความกดดันที่บีบคั้นทางใจและมีความรู้สึกเหนื่อยล้า หากบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อจะยิ่งทำให้อัตรากำลังนักรบด่านหน้าลดลงทันที ดังนั้นการมีอุปกรณ์เสริมที่สามารถเป็นเกราะป้องกันให้เหล่านักรบ ด่านหน้ามีความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ห้องเอกซเรย์ หัวใจหลักในการวินิจฉัย เพื่อรักษาผู้ป้วยโควิด-19 โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน หนึ่งในโรงพยาบาลสนามที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวและสีเหลือง จำนวน 700 เตียง ในแต่ละวันต้องรับผู้ป่วยกว่า 200 ราย โดยแต่ละรายต้องเอกซเรย์ปอดประมาณ 3-4 ครั้ง และบางรายมีอาการปอดอักเสบจะต้องเอกซเรย์มากกว่านั้น ซึ่งหากพบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบก็สามารถให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ทำให้ผู้ป่วยหายได้เร็วมากขึ้น ดังนั้นการเอกซเรย์ปอดจึงมีความสำคัญในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบก่อนที่ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงและรีบให้การรักษาได้ทันท่วงที แต่ด้วยข้อจำกัดของตู้เอกซเรย์ปอดของโรงพยาบาลฯ ที่เป็นเพียงตู้กระจกใสตู้ที่ผู้ป่วยจะต้องเข้าไปยืนแล้วใช้เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ในตู้ นอกจากความไม่สะดวกสบายของผู้ป่วยที่ต้องเข้าไปเอกซเรย์แล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยก็มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ด้วยความห่วงใยและเพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นนักรบด่านหน้าให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบของผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 มูลนิธิเอสซีจีจึงมอบห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ มูลค่า 2 ล้านบาท ห้องแรกของประเทศไทย ให้กับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เพื่อเป็น เกราะป้องกันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์บุคลากรทางการแพทย์ ห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ (Modular X-Ray Unit) เป็นนวัตกรรมแรกของไทยที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ โดยทีม Living solution SCG
มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องเอกซเรย์โมดูลาร์ (Modular X-Ray Unit) มูลค่า 2 ล้านบาท แก่ รพ.สนาม ณ รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน ซึ่งปัจจุบันรองรับผู้ป่วยกว่า 700 เตียง เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างปลอดภัยในการวินิจฉัยภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโควิด-19 ห้องเอกซเรย์โมดูลาร์นี้ นับเป็นนวัตกรรมแรกของไทย ออกแบบเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ โดยทีม SCG Living Solution ซึ่งก่อสร้างในโรงงานใช้เวลาติดตั้งหน้างาน เพียง 7 วัน โดยห้องดังกล่าวถูกจัดการอากาศให้มีความดันลบ (Negative Pressure Room) ช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศและป้องกันอากาศรั่วไหล ถูกจัดการอากาศให้เหมาะสมก่อนปล่อยสู่ภายนอก เพื่อลดการกระจายของเชื้อไวรัส สร้างความปลอดภัยและมั่นใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์และคนไข้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้พื้นที่การใช้งานถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เป็นพื้นที่การปฏิบัติเพื่อควบคุมเครื่อง X-ray มีผนังกันรังสีเพื่อความปลอดภัย สื่อสารกับคนไข้ผ่านระบบสื่อสาร สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายในติดตั้งเครื่อง X-ray รองรับการเชื่อมต่อระบบไอทีเข้าสู่ส่วนกลางของโรงพยาบาล โดยวัสดุต่างๆ เช่น ผนัง กระจก และประตู ออกแบบเพื่อป้องกันรังสีเอกซเรย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านรังสีด้วยเช่นกัน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงในประเทศไทยขณะนี้นอกจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกันอย่างหนักมากขึ้นแล้ว ประชาชนคนไทยเองก็ต้องพยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุดอย่าการ์ดตกเพื่อป้องกันการติดเชื้อและไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัว ทั้งนี้แม้จะปฏิบัติดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 โดยที่ไม่แสดงอาการจึงไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อมาจากที่ใด เมื่อไปตรวจหาเชื้อแล้วผลยืนยันออกมาว่าติดเชื้อโควิด-19 อย่าตื่นตระหนกให้ตั้งสติและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเข้ารับการรักษาในลำดับต่อไป สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงในประเทศไทยขณะนี้นอกจากบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ต้องทำงานกันอย่างหนักมากขึ้นแล้ว ประชาชนคนไทยเองก็ต้องพยายามดูแลตัวเองให้ดีที่สุดอย่าการ์ดตกเพื่อป้องกันการติดเชื้อและไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัว ทั้งนี้แม้จะปฏิบัติดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 โดยที่ไม่แสดงอาการจึงไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อมาจากที่ใด เมื่อไปตรวจหาเชื้อแล้วผลยืนยันออกมาว่าติดเชื้อโควิด-19 อย่าตื่นตระหนกให้ตั้งสติและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเข้ารับการรักษาในลำดับต่อไป เตรียมตัวอย่างไร เมื่อติดโควิด-19 เมื่อไปตรวจแล้วทราบผลว่าตัวเองติดเชื้อ สิ่งแรกที่ต้องทำคือติดต่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษาโดยโทร 1330 1668 และ 1669 บอกเบอร์โทรศัพท์ของตนให้กับหน่วยงานที่รับเรื่องซึ่งเจ้าหน้าที่จะประสานเข้ารับการรักษาตามอาการ ระหว่างที่รอรถโรงพยาบาลมารับควรกักตัวเองหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ชิดในครอบครัวหรือผู้ที่อาศัยอยู่ด้วยและเตรียมตัวให้พร้อม ดังนี้ เตรียมเอกสารสำคัญ อาทิ บัตรประชาชน ผลตรวจโควิด-19 แยกอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัว แยกห้องน้ำ (หากแยกไม่ได้ให้ใช้เป็นคนสุดท้ายแล้วทำความสะอาดทุกครั้ง) ล้างมือด้วยสบู่หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด(ฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34) หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้กรณีที่ผู้ติดเชื้ออาศัยอยู่คอนโดให้แจ้งนิติบุคคล แยกกักตัวที่บ้าน ทางเลือกสำหรับผู้ติดเชื้อสีเขียว กระทรวงสาธารณสุขแบ่งความรุนแรงของผู้ติดเชื้อไว้ 3 ประเภท คือ สีเขียวไม่แสดงอาการ สีส้มมีอาการเล็กน้อยและสีแดงมีอาการรุนแรง ซึ่งผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงโดยเฉพาะเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจะถูกส่งตัวเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลทันทีส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรงจะถูกส่งไปโรงพยาบาลสนามและ Hospitel ตามลำดับแต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
พลิกวิกฤตเปลี่ยนชีวิตสู่เจ้าของฟาร์มปูนา มีรายได้หลักแสนต่อเดือน และช่วยชุมชนให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน นิม – นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ เจ้าของฟาร์มปูนา จังหวัดอุดรธานี การได้ไปทำงานต่างประเทศเป็นสิ่งที่คนไทยหลายคนใฝ่ฝันเพราะเงินรายได้ที่ได้รับสูงกว่าเมื่อเทียบกับทำงานในประเทศแม้ว่าจะต้องอยู่ห่างไกลครอบครัวก็ยอมแลกเพื่อมีเงินจุนเจือเลี้ยงดูตัวเองและส่งให้ครอบครัว กระทั่งปลายปี 2562 เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ขึ้นที่มลฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน และเริ่มแพร่ระบาดกระจายทั่วทั้งประเทศจีนรวมถึงลามออกไปยังประเทศอื่น ๆ ผู้คนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศจีนในตอนนั้นต้องเดินทางกลับประเทศเช่นเดียวกับ นิม-นันท์ธนธร มนต์ธนารัตน์ สาวอุดรฯ วัย 28 ปีที่ทำงานอยู่ประเทศจีนถูกยกเลิกงานโดยไม่มีกำหนดจากพิษโควิด-19 ต้องกลับบ้านเกิดที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลากลับไปทำงานเป็นปีแต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะได้กลับไปจนเงินเก็บที่มีใกล้หมด กระทั่งได้พบกับโอกาสทำฟาร์มเลี้ยงปูนาจนสามารถพลิกชีวิตจากคนตกงานเป็นเจ้าของฟาร์มปูนาสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน พร้อมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงปูนาส่งเสริมเกษตรกรให้เลี้ยงเป็นอาชีพเสริม จุดเริ่มต้นจากการแชร์ นิม ทำงานอยู่เอเจนซี่ที่เมืองกว่างโจว ประเทศจีน เป็นนายหน้าส่งคนไทยไปทำงานที่ประเทศจีนซึ่งเป็นงานจัดแสดงสินค้าหรืองานแฟร์ที่มีการแสดงโชว์เกี่ยวกับศิลปะวัฒนธรรมไทย เช่น รำไทย มวยไทย เป็นต้น นิมเพิ่งได้รับใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) เพียงสามเดือนก็เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีน แล้วช่วงต้นปี 2563 บริษัทยกเลิกงานแล้วส่งพนักงานกลับประเทศโดยไม่มีกำหนด นิมกลับมาอยู่บ้านกับพ่อแม่ที่จังหวัดอุดรธานี รอเวลาที่จะบินกลับไปทำงานเกือบปีจนเงินเก็บเริ่มร่อยหรอ วันหนึ่งแม่แชร์เฟซบุ๊กเพจของฟาร์มเลี้ยงปูนา นิมเห็นสิ่งที่แม่แชร์ก็รู้สึกสนใจและมองเห็นโอกาสจึงปรึกษากับแม่ว่าจะลองเลี้ยงปูนาเพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส่งขาย ประกอบกับบ้านที่อยู่เป็นบ้านสวนมีพื้นที่หลังบ้านว่างอยู่ประมาณ 1 งาน จึงวางแผนจะใช้พื้นที่หลังบ้านทำเป็นฟาร์มเลี้ยงปูนา แรกเริ่มแม่ไม่ค่อยเห็นด้วยที่จะลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงปูนาเหตุเพราะนิมไม่เคยทำการเกษตรเพาะเลี้ยงอะไรมาก่อนกลัวว่าจะลงทุนไปแล้วเสียเปล่า แต่นิมมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการเริ่มต้นลองทำอะไรใหม่
มูลนิธิเอสซีจี ขอชวนเพื่อนพนักงานเอสซีจีร่วมบริจาคโครงการ สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19
ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน ขอแค่ให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด คริส โปตระนันทร์ นักกฎหมายผู้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม และร่วมก่อตั้งกลุ่ม “เส้นด้าย” รถรับ-ส่งผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่คนไทยมักรวมตัวกันเพื่อพบปะสังสรรค์กับครอบครัว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา เหตุการณ์การสูญเสียครั้งนี้ เป็นการจุดประเด็นให้คนกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง คริส โปตระนันทน์นักกฎหมายร่วมกับเพื่อนตั้งกลุ่มประชาชนอาสาในนาม “เส้นด้าย” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและประชาชนกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19ที่ประสบปัญหาการเดินทางไปเข้ารับการตรวจรักษาโดยไม่แพร่เชื้อแก่ประชาชน ความสูญเสียคือจุดเริ่มต้นของกลุ่มเส้นด้าย “เราเห็นสถานการณ์ที่หลายฝ่ายต้องเจอกับความยากลำบากในช่วงนั้น คือการจัดหารถรับ-ส่งผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากผู้มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการบริการ เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก จึงอาจทำให้การรักษาล่าช้า ซึ่งบางรายต้องรอรับการรักษาอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งสายไปจนเกิดความสูญเสีย” จากเหตุการณ์การสูญเสียของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงทีจึงเป็นสาเหตุให้คุณคริสปรึกษากับเพื่อน ๆ ที่มีทั้ง นักกฎหมาย แพทย์ และกู้ภัย ร่วมกันตั้งกลุ่มอาสาสมัครขึ้นมาชื่อว่า “เส้นด้าย” เพื่อให้บริการรถรับ-ส่งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พาผู้ป่วยติดเชื้อไปโรงพยาบาลหรือผู้มีความเสี่ยงสูงไปตรวจโดยทีมเส้นด้ายช่วยประสานหาคิวตรวจให้ โดยสมาชิกในกลุ่มต่างนำทรัพยากรที่ตัวเองมีอยู่มาใช้ อาทิ รถกระบะที่นำไปติดหลังคาแครี่บอยสำหรับให้ผู้ป่วยติดเชื้อหรือผู้ที่มีความเสี่ยงนั่งอยู่ข้างหลังเพื่อความปลอดภัยระหว่างการรับ-ส่ง และโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้วนำมาทำเป็นเบอร์ Call Center สำหรับให้คนติดต่อ เป็นต้น “ผมก็เลยเริ่มกันเลยครับเพราะผมมีรถกระบะอยู่หลายคัน แล้วก็ไล่โทรศัพท์หาเพื่อนว่ามีใครมีรถกระบะเพิ่มบ้างส่วน Call Center ก็ไม่ได้มีอะไรยากใครมีโทรศัพท์เครื่องเก่าที่ไม่ได้ใช้ เรานำทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้เอามาช่วยกัน วันนั้นเป็นวันที่ 27 เมษายน ก็เลยตั้งเพจกัน
ขณะนี้คนไทยกำลังให้ความสนใจกับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 และมีความตื่นตัวในการลงทะเบียนจองคิวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้หลายคนลืมเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 อาทิ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีด 1 เข็มทุกปี หรือวัคซีนโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัสกลุ่มเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีจำนวนหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรคปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุแล้วเป็นชนิดที่รุนแรงก็จะทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันมีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
มูลนิธิเอสซีจี ส่งคลิป “ด้วยใจไม่ทิ้งกัน” เพื่อส่งมอบพลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยจิตอาสาทุกคน เพื่อขอบคุณที่ยังคงเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อให้เราผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน