โครงการ “สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19” มอบนวัตกรรม “แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT SCAN” ให้ รพ.ค่ายธนะรัชต์ จ.ประจวบคีรีขันธ์

มูลนิธิเอสซีจี​ และเพื่อนพนักงานเอสซีจี ได้ส่งมอบ “แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT SCAN” ให้​ รพ.ค่​ายธนะรัชต์​ เรียบร้อยแล้ว​ เพื่อลดความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์​ โดยได้นำเงินที่ได้จากการบริจาคของเพื่อนพนักงานเอสซีจีและพี่ๆ​ จากชมรมช้างปูน​ ที่ร่วมโครงการ​ “สะพานบุญ​ สะพานใจ​ สู้ภัยโควิด-19” มาจัดซื้อและมอบให้​แทนความปรารถนาดีและห่วงใยจากพวกเราชาวเอสซีจี

พวกเราขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วย คุณหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทุกคน ขอให้ทุกท่านปลอดภัยจากโควิด-19

มอบห้องอาบน้ำให้แก่โรงพยาบาลสนามจังหวัดเชียงใหม่

มูลนิธิเอสซีจี และ SCG North Chain ได้ส่งมอบห้องอาบน้ำจำนวน 12 ห้อง ซึ่งผลิตโดย Service Solution Unit – Modular Bathroom, SCG ให้โรงพยาบาลสนามจังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว​  เพื่อรองรับการใช้งานของผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาในโรงพยาบาลสนามให้ได้รับความสะดวกและมีสุขอนามัยที่ดี​

เอสซีจี และมูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าช่วยไทยพ้นโควิด 19 ระลอกใหม่ 
เร่งส่งมอบเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี นวัตกรรมเพื่อสังคมจากกระดาษรีไซเคิล 100% แข็งแรง ปลอดภัยช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด 19 และบุคลากรทางการแพทย์

เอสซีจีและมูลนิธิเอสซีจี เร่งส่งมอบนวัตกรรมโควิด 19 เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือในภาวะเร่งด่วน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้หลายโรงพยาบาลเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก ด้วยการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสังคม เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed) ผลิตจากกระดาษรีไซเคิล 100% ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ เพื่อรองรับการใช้งานของสรีระของคนเอเชีย น้ำหนักเบา ประหยัดพื้นที่ขนส่งและการจัดเก็บ ประกอบง่ายใน 8 นาที โดยไม่ต้องใช้กาว ใช้ได้นาน 3 เดือน หากไม่โดนน้ำ และรับน้ำหนักได้ถึง 100 กิโลกรัมในแนวราบ ทั้งนี้ มีการส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศจำนวนกว่า 3,500 เตียง เพื่อช่วยยกระดับความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด ได้ทันต่อสถานการณ์

ทั้งนี้ การพิจารณาให้การสนับสนุนหน่วยงานที่มีความประสงค์ขอรับ “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี” ดังกล่าว จะพิจารณาจัดสรรตามความเหมาะสม เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์ในปัจจุบันให้ได้เต็มกำลังความสามารถที่สุด

มูลนิธิเอสซีจี เปิดรับสมัครการประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2564 หรือ Young Thai Artist Award 2021 รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่ให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 15-25 ปี ทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาปลดล็อคพรสวรรค์ ประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2564 หรือ Young Thai Artist Award 2021 รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวทีการประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ น้องๆ สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึง 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี โดยผู้ชนะรางวัลผลงานยอดเยี่ยมแต่ละสาขาจะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 300,000 บาท ส่วนรางวัลดีเด่นจะได้รับถ้วยรางวัลโครงการฯ และเงินรางวัล 50,000 บาท

น้องๆ เยาวชนไทยหัวใจศิลป์ที่สนใจปลดปล่อยพลังความสามารถด้านศิลปะอย่างสร้างสรรค์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัคร Online ได้ที่ www.youngthaiartistaward.com  พร้อมปลดล็อคพรสวรรค์ รังสรรค์ศิลป์ตั้งแต่วันนี้ – 30 กรกฎาคม 2564 (วันปิดรับสมัครแตกต่างกันไปในแต่ละสาขา กรุณาศึกษาคุณสมบัติและวิธีการสมัคร โดยละเอียด)

สนใจติดตามความเคลื่อนไหวคลิก www.facebook.com/YoungThaiArtistAward/  และ www.instagram.com/youngthaiartistaward/

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP ร่วมส่งมอบ “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” เพื่อรองรับผู้ป่วยจากการระบาดของโควิด – 19 ระลอกเมษายน 2564

แม้เป็นช่วงสงกรานต์ เราก็ไม่หยุดส่งความช่วยเหลือ ยังคงเดินหน้าการช่วยเหลือในสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในตอนนี้  มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ SCGP ร่วมส่งมอบ “เตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี (SCGP Paper Field Hospital Bed)” และมุ้ง จำนวน 200 ชุด ให้แก่โรงพยาบาลสนาม เพื่อดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 โดยติดตั้งที่อาคารกีฬาในร่ม ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา (บางบอน) ซึ่งเปิดในวันที่ 13 เมษายน

นอกจากนี้ ยังได้ส่งมอบเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพี  เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงพยาบาลสนาม ใช้ดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19  ให้แก่
– รพ.สนาม ณ ศูนย์ฝึกอบรมและปฎิบัติธรรมศิริราช จ.นครปฐม  
– รพ.สนาม จ.ชลบุรี  
– รพ.สนาม จ.สมุทรปราการ
– รพ.สนาม จ.นครราชสีมา 
โดยได้นำเตียงสนามกระดาษเอสซีจีพีไปติดตั้งเพื่อรองรับผู้ป่วยแล้ว

มูลนิธิเอสซีจีและ SCGP ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน 

#มูลนิธิเอสซีจี​
#ช่วยกันแคร์ดูแลกัน
#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป ให้โรงพยาบาลสนามของกรุงเทพมหานคร

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูปจำนวน 8 ห้อง ให้โรงพยาบาลสนามของกรุงเทพมหานคร โดยมี นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และ​ นพ.ชัยยศ เด่นอริยะกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เป็นตัวแทนรับมอบ

ห้องน้ำดังกล่าวเป็นห้องน้ำที่ผลิตเสร็จพร้อมใช้จากโรงงานเพื่อควบคุมคุณภาพ และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาติดตั้งที่หน้างานเพียง 1 วัน เพื่อความรวดเร็วในการเตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะเร่งด่วน ที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้

มูลนิธิเอสซีจี ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

พบปะกัลยาณมิตร มูลนิธิสายธาร เครือเบทาโกร แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี

มูลนิธิเอสซีจี ต้อนรับทีมงานมูลนิธิสายธาร เครือเบทาโกร นำโดยคุณจักริน แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการมูลนิธิสายธาร และ คุณนิวิฐ ตั้งเลิศไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิสายธาร มีคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ต้อนรับ โดยใช้เวลาคุณภาพแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกัน ได้เห็นสายธารน้ำใจของคนในสังคมที่ร่วมมือกันทำงานอย่างเต็มที่ด้วยศักยภาพที่มีอยู่

#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน
#มูลนิธิเอสซีจี

แรงบันดาลใจจากน้องนักเรียนทุน Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี : “ทำดีให้ผีเห็น” เสี้ยวหนึ่งของชีวิต ขออุทิศเพื่อสังคม

“โอมเริ่มต้นแรงบันดาลใจในการทำความดี จากการเห็นลูกพี่ลูกน้องทำงานกู้ภัย บวกกับตัวเองเป็นคนชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งของอาสาสมัครกู้ภัยจังหวัดแพร่ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ผู้เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ พ่วงแบตเตอรี่ ลากรถ เก็บศพ อื่นๆ ก็ทำหมด ตลอด​ 24​ ชม.ครับ และแม้ตอนนี้ประเทศไทยจะเจอกับการแพร่ระบาดของ​ COVID-19 เวลาออกเคสรับผู้ป่วยหรือรับเคสผู้บาดเจ็บ จึงต้องสวมใส่แมสก์ ถุงมือ ชุดป้องกันตัวเอง อะไรต่างๆ​ นานา เเม้ว่าจะอึดอัด ร้อน หายใจไม่ออก​ แต่ก็ต้องใส่เพื่อป้องกันตัวเอง แต่การทำความดีนี้ก็ยังมีกำลังใจดีๆ จากคนรอบข้าง จากพี่ๆ​ น้องๆ และที่สำคัญคือได้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของญาติผู้ป่วยหรือความชื่นชมจากผู้ที่ประสบภัยที่ส่งมอบมาให้ แต่ก็มีบางทีเหมือนกันที่ท้อ ที่เหนื่อยล้า แอบน้อยใจบางเป็นบ้างครั้ง แต่ก็ไม่เป็นไรหรอกครับ เพราะต้องสู้และอดทน เข้มแข็งเพื่อประชาชนผู้ประสบภัย ดั่งคำว่า “เราปิดทองหลังพระเพื่อสละบาป ใครไม่ทราบช่างเขาแต่เราเห็น จะหน้าพระหลังพระไม่จำเป็น สิ่งที่เห็นเด่นชัดคือ​ “ศรัทธา”

“ใครจะว่ายังไงก็ช่างเขา แต่ผมรักในความเสียสละครั้งนี้” 

นายพนัชกร เขื่อนแก้ว (โอม) นักเรียนทุน Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่ สาขาอาหารและโภชนาการ

#มูลนิธิเอสซีจี
#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน 

แรงบันดาลใจจากน้องนักเรียนทุน Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี : “หูก็ฟัง มือก็ทำ”

“ช่วงนี้ของผมก็คงเหมือนกับเพื่อนๆ คนอื่นๆ ต้องเรียนออน์ไลน์ที่บ้าน แต่อาจจะต่างตรงที่ว่าทางบ้านของผมฐานะค่อนข้างลำบาก ผมจึงต้องทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เหนื่อยแต่ก็ทำได้ครับ”

ทุกเช้า ผมก็จะเช็คชื่อเข้าเรียน แล้วก็เข้าไปทำงานซ่อมรถที่อู่ที่ผมเคยไปฝึกงาน เรียนไปทำงานไป เรียกว่า “หูก็ฟัง มือก็ทำ” เลยครับ วิชาไหนที่ต้องวีดีโอคอล ผมก็จะคอลตอนที่ผมซ่อมรถไปด้วย ซึ่งอาจารย์ท่านก็เข้าใจว่าผมมีความจำเป็นต้องหาเงินเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

ตัวผมเองก็กลัวติดโควิดนะครับ แต่เพราะต้องการหาเงินมาจุนเจือครอบครัว ผมเลยเลือกที่จะเรียนออนไลน์ไปด้วยทำงานไปด้วย อย่างไรก็ตามผมก็ใส่แมสก์ตลอดเวลา ฉีดแอลกอฮอล์ ล้างมือตลอด ไม่ละทิ้งหน้าที่ในการป้องกัน

#ทุกคนอาจจะเจอปัญหาที่ใหญ่ในช่วงนี้ ทุกคนอาจจะทน แต่ผมอยากให้ทุกๆคนสู้ๆแล้วผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ”

เสียงจากน้องนักเรียนทุน Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี นายชญาวัตต์ กรรรณเกิดผล วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา สาขาช่างยนต์

#มูลนิธิเอสซีจี
#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน

มูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนคนเก่งและดี ที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการ “เก่งจริงชิงค่าเทอม”

คุณสุวิมล​ จิวาลักษณ์ กรรมการ​และผู้จัดการ​มูลนิธิ​เอส​ซี​จี​ มอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กเก่งและดี ที่เข้าร่วมแข่งขัน​ในรายการ​ “​​เก่ง​จริง​ชิง​ค่า​เทอม” ทางช่อง​ one​31​ ที่ขาดแคลน​ทุนทรัพย์​ โดยมี​พิธี​กรรายการ คุณธงชัย​ ประสงค์​สันติ​ และ คุณแชมป์​ ศรัณภัสร์ ตั้งไพศาลธนกุล​ เป็นตัวแทนรับมอบ​ ซึ่งทุนการศึกษา​ดังกล่าว​เป็น​ทุน​ต่อเนื่อง​จน​จบ​ปริญญาตรี​ ไม่​มี​ภาระ​ผูกพัน​ที่ต้องใช้คืน

เพราะการให้โอกาสทางการศึกษา คือ “การพัฒนาคน”

#มูลนิธิ​เอส​ซี​จี
#​เชื่อ​มั่น​ใน​คุณค่า​ของ​คน

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบถุงน้ำใจ ห่วงใยผู้ได้รับผลกระทบโควิด -19

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมมอบถุงน้ำใจ ซึ่งบรรจุสิ่งของจำเป็นสำหรับการบริโภคอุปโภค พร้อมด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ และปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย จำนวน 100 ชุด ให้กับคุณศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 อาทิ พี่น้องที่ตกงาน ขาดรายได้ และผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนต่างๆ

มูลนิธิเอสซีจีมอบชุด PPE 700 ชุด จากโครงการ “สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19” ให้ศูนย์ห่วงใยคนสาคร

ชุด PPE จำนวน 700 ชุด จากโครงการ “สะพานบุญ สะพานใจ สู้ภัยโควิด-19” โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งถึงมือแพทย์และเจ้าหน้าที่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครแล้ว

โดยโครงการพิเศษครั้งนี้ มูลนิธิเอสซีจีได้เปิดโอกาสให้เพื่อนพนักงาน และพี่ๆ ชมรมช้างปูน (กลุ่มพี่ๆ อดีตผู้บริหารของเอสซีจี) ร่วมกันบริจาคเงิน ซึ่งนอกจากได้ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) จำนวน 4 ห้อง ให้ศูนย์ห่วงใยคนสาครแล้ว  ยังได้มอบชุด PPE อีก 700 ชุดในครั้งนี้ด้วย

เราจะร่วมผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าช่วยเหลือนักรบเสื้อขาว มอบห้องน้ำสำเร็จรูป ผ่านสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อโรงพยาบาลสนาม จ.สมุทรสาคร จำนวน 5 ห้อง

มูลนิธิเอสซีจี โดยคุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจีพร้อมด้วย คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูปสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 5 ห้อง มูลค่า 400,000 บาท

โดยห้องน้ำดังกล่าวเน้นการผลิตแบบเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งานจากโรงงานเพื่อควบคุมคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 1 วัน ออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งแยกพื้นที่ใช้งานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยอ่างล้างมือ โถสุขภัณฑ์ และฝักบัว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดีโดยมี คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคุณวีระชัย​ คุณาวิชยานนท์​ รองประธาน​ฯ เป็นผู้แทนรับมอบ

“สะพานบุญ สะพานใจ” ห่วงใยหมอและผู้ป่วยโควิด-19 มอบแล้ว ห้องน้ำสำเร็จรูป 4 ห้อง เพื่อศูนย์ห่วงใยคนสาคร

เพื่อนพนักงานเอสซีจีและสมาชิกชมรมช้างปูน ที่ร่วมโครงการ ”สะพานบุญ สะพานใจ” สู้ภัยโควิด โดยมูลนิธิเอสซีจี ร่วมเป็นตัวแทนส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) จำนวน 4 ห้อง ให้กับศูนย์ห่วงใยคนสาคร ที่ 9 จ.สมุทรสาคร พร้อมมอบชุด PPE รวมมูลค่าทั้งสิ้น 426,067 บาท โดยมีคุณสุรศักดิ์ ผลยังส่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร เป็นผู้แทนรับมอบผ่านระบบวิดีโอทางไกล (Video Conference)

มูลนิธิเอสซีจีเปิดโอกาสให้เพื่อนพนักงาน และสมาชิกชมรมช้างปูน ได้มีส่วนร่วมบริจาคผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ “สะพานบุญ สะพานใจ” เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนกว่า 400 คน ได้มีห้องน้ำใช้อย่างถูกสุขลักษณะ ซึ่งนวัตกรรมห้องน้ำสำเร็จรูป เน้นการผลิตแบบเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งานจากโรงงานเพื่อควบคุมคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 1 วัน ออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งแยกพื้นที่ใช้งานสำหรับบุคลากรการแพทย์โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยอ่างล้างมือ โถสุขภัณฑ์ และฝักบัว ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี

มูลนิธิเอสซีจี มอบชุด PPE ให้โรงพยาบาลนาดี จ.สมุทรสาคร

มูลนิธิเอสซีจี ได้จัดส่งชุด PPE จำนวน 200 ชุด เพื่อมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลนาดี จ.สมุทรสาคร  ซึ่งยังคงต้องรับมือกับการระบาดของโรคโควิด -19 อย่างต่อเนื่อง

พวกเราขอร่วมเป็นอีก 1 กำลังใจ ให้นักรบชุดขาวทุกท่าน เพื่อเราจะต้องผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยทีมนักรบชุดขาว ศูนย์ห่วงใยคนสาคร มอบนวัตกรรมห้องน้ำสำเร็จรูป ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) ให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร 8 ส่วนเพิ่มเติมวัฒนาแฟคตอรี่ 2 ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร แห่งที่ 2 มูลค่า 640,000 บาท โดยมีนายธีรพัฒน์​ คัชมาตย์​ รองผู้ว่าราช​การจังหวัด​สมุทรสาคร​เป็นผู้รับมอบ

ห้องน้ำดังกล่าวเน้นการผลิตแบบเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งานจากโรงงานเพื่อควบคุมคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 1 วัน ออกแบบให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ติดตั้งแยกพื้นที่ใช้งานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยอ่างล้างมือ โถสุขภัณฑ์ และฝักบัว มีทั้งหมดมีจำนวน 8 ห้อง จัดวางแบ่งเป็น 2 ยูนิต ยูนิตละ 4 ห้อง แยกชายหญิง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี

ไม่ทิ้งกัน

ช่วยกันแชร์คลิป ไม่ทิ้งกัน นะคะ

ร่วมส่งกำลังใจและคำขอบคุณให้ อสม. บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ และอาสาสมัครทั้งแนวหน้าและแนวร่วม ที่มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ทำงานเสี่ยงแทนพวกเราทุกคน และขณะนี้ยังคงเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ

ร่วมแรง ร่วมใจ อดทน แล้วเราทุกคนจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน…อีกครั้ง

มูลนิธิเอสซีจีขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจนะคะ

#ไม่ทิ้งกัน #ช่วยกันแคร์ดูแลกัน #มูลนิธิเอสซีจี

มูลนิธิเอสซีจี ยังคงเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

มูลนิธิเอสซีจี ได้มอบถุงยังชีพซึ่งบรรจุสิ่งของจำเป็นอีก 400 ชุด ส่งถึงมือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยใน จ.ยะลา เรียบร้อยแล้ว ในพื้นที่ชุมชนท่าสาบ หน้าถ้ำยะลา และชุมชุนลิมุด  โดยความร่วมมือของสำนักงานภาคใต้ เอสซีจี ผู้แทนจำหน่ายยะลาย่งฮวด  และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลยะลา ที่มาตั้งจุดคัดกรอง ตามมาตรการป้องกันโควิด-19  เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทุกคน

มูลนิธิเอสซีจี มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ห้องความดันอากาศบวก Positive Pressure Roomให้โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

มูลนิธิเอสซีจีส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ได้แก่ห้องความดันอากาศบวก Positive Pressure Room เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อขณะทำการคัดกรองและตรวจวินิจฉัย ให้โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 2 ตู้ มูลค่า 200,000 บาท

มอบถุงยังชีพเป็นกำลังใจให้ผู้ประสบอุทกภัย จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

มูลนิธิเอสซีจี มอบถุงยังชีพซึ่งบรรจุสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น จำนวน 400 ชุด ไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.ตบ.)​ เพื่อเตรียมส่งมอบให้ผู้ประสบเหตุอุทกภัย ใน จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ต่อไป

มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยพี่น้องที่ติดเชื้อ Covid-19 มอบนวัตกรรมห้องน้ำสำเร็จรูปพร้อมใช้งานแห่งแรก ที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร มูลค่า 2 ล้านบาท

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องน้ำสำเร็จรูป (Bathroom Mobile Unit) ใช้เวลาติดตั้งหน้างานเพียง 3 วัน มูลค่า  2,000,000 บาท ให้ศูนย์ห่วงใยคนสาคร ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแห่งแรก โดยห้องน้ำดังกล่าวออกแบบและผลิตโดยบริษัทสยามซานิทารีแวร์ อินดัสทรี จำกัด ซึ่งเน้นการใช้งานได้อย่างปลอดภัย ผลิตแบบเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งานจากโรงงานเพื่อควบคุมคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น

ห้องน้ำสำเร็จรูปที่ส่งมอบให้นั้น มีจำนวน 15 ห้อง จัดวางแบ่งเป็น 3 ยูนิต ยูนิตละ 5 ห้อง แยกชายหญิงและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ บริษัทสยามซานิทารีแวร์ อินดัสทรี จำกัด ยังได้ร่วมมอบอีกจำนวน 5 ห้อง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและบรรเทาความเดือนร้อนในระยะเร่งด่วนให้ชาวไทยและชาวเมียนมาที่ติดเชื้อโควิด –19 และต้องพักฟื้นและกักตัวกว่า 250 คน

มูลนิธิเอสซีจีห่วงใยพี่น้องชาวไทยและเมียนมา ส่งคลิป “ไม่ยอมแพ้” ช่วยกันดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ไปด้วยกันอีกครั้ง

คลิปนี้มี 2 ภาษา ทั้งไทยและเมียนมา เป็นการสาธิตวิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เช่น การใส่หน้ากาก ล้างมือ และรักษาระยะห่าง โดยได้รับความร่วมมือจากพี่น้อง อสต.(อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว) และ อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน)  มาสาธิตให้ดูด้วย เพื่อส่งความห่วงใยไปให้ถึงทุกคน

สามารถรับชมและช่วยกันแชร์คลิปวิดีโอ “ไม่ยอมแพ้” ได้ตั้งแต่วันนี้ ผ่านทาง Youtube: scgfoundation  หรือ Facebook page : มูลนิธิเอสซีจี

#ไม่ยอมแพ้ 
#ช่วยกันแคร์ดูแลกัน 
#มูลนิธิเอสซีจี

SCG ဖောင်ဒေးရှင်းမှ ထိုင်းနှင့်မြန်မာပြည်သူတို ့အား စိုးရိမ်ပူပန်မှုကြီးစွာဖြင့်
မိမိကိုယ်ကိုယ် ကိုဗစ် -19 ရောဂါကူးစက်မှုအန္တရာယ်မှ နောက်တစ်ကြိမ်ကာကွယ်နိုင်ရန် “လက်မလျှော့ဘူး” ပညာ ပေး ဗီဒီယို ကို ပေးပို ့လိုက်ပါတယ်။
ဤဗီဒီယိုကို ထိုင်းနှင့်မြန်မာနှစ်ဘာသာ ဖြင့်တင်ဆက်ထားကာ ကိုဗစ်-၁၉ ရောဂါကူးစက်မှုမှ ကာကွယ်ရန် နှာခေါင်းစည်းတပ်ဆင်ခြင်း၊ လက်ဆေးခြင်းနှင့် ခပ်ခွာခွာနေထိုင်ခြင်းများ ကဲ့သို ့လွယ်ကူသောနည်းလမ်းများဖြင့်
မိမိကိုယ်ကို ဂရုစိုက် ပုံ များ ကို သရုပ်ဖော် ထား သည်။
အားလုံးအတွက် စိုးရိမ်ပူပန် ဂရုစိုက်မှုများကို မျှဝေပေးပို ့နိုင်ရန် ရည်ရွယ်၍ နိုင်ငံခြားသားကျန်းမာရေးစေတနာ့ဝန်ထမ်းမောင်နှမများနှင့် ရပ်ကွက်ကျန်းမာရေးစေတနာ့ဝန်ထမ်းများ၏

လက်တွဲပူပေါင်းမှုှဖြင့် သရုပ်ဖော်တင်ဆက်ထားသည်။

“လက်မလျှော့ဘူး”ဗီဒီယိုကို
ယနေ့မှစ၍
YouTube : scgfoundation သို့မဟုတ်
Facebook page : มูลนิธิเอสซีจี (SCG ဖောင်ဒေးရှင်း)
တို ့မှတစ်ဆင့် ဝင်ရောက်ကြည့်ရှုနိုင်ကာ ထပ်ဆင့်ဝိုင်ဝန်းမျှဝေနိုင်ပါသည်။

#လက်မလျှော့ဘူး#တစ်ယာက်ကိုတစ်ယာက်ဂရုစိုက်ကြမယ်# SCGဖောင်ဒေးရှင်

มูลนิธิเอสซีจี เป็นกำลังใจให้แพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แก่ รพ. พระมงกุฎเกล้า

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้ามอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่มูลค่า 250,000 บาทด้วยความห่วงใย และขอส่งกำลังใจไปยังบุคลากรทางการแพทย์ให้ผ่านพ้นสถานการณ์อันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

มูลนิธิเอสซีจี ห่วงใยพี่น้องชาวไทยและชาวเมียนมา มอบนวัตกรรมและเงินช่วยเหลือ มูลค่า 2.2 ล้านบาท ให้จังหวัดสมุทรสาคร

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้ามอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แก่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่  1) ห้องแยกเชื้อความดันบวกแบบเคลื่อนที่ 2) แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ 3)แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan 4) ชุด PPE 200 ชุด  5) หน้ากากอนามัย N95 500 ชิ้น 6) เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermoscan) 500 ชุด 7) ถุงมือทางการแพทย์ 3,000 คู่ 8) หน้ากากผ้าสำหรับเด็ก 2,000 ชิ้น

นอกจากนี้  มูลนิธิฯ ยังได้สนับสนุนงบประมาณ 500,000 บาทผ่านจังหวัดสมุทรสาคร เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในระยะเร่งด่วนรวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 2,200,000 บาท ด้วยความห่วงใย และขอส่งกำลังใจไปยังบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบทั้งพี่น้องชาวไทยและ   เมียนมา ให้ผ่านพ้นสถานการณ์อันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

มูลนิธิเอสซีจี เร่งติดเกราะป้องกัน Covid-19 ระลอกใหม่ให้เหล่านักรบเสื้อขาว รพ.ท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยนวัตกรรมและอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 แบบเคลื่อนที่แก่โรงพยาบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room) สำหรับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู หรือแม้แต่เป็นห้องพักผู้ป่วย โดยสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรวมทั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ จำนวน 1 ห้อง นอกจากนี้ยังได้มอบอุปกรณ์ป้องกันโควิดต่างๆ เช่น หน้ากาก KN95 จำนวน 500 ชุด และ ชุด PPE จำนวน 200 ชุด รวมมูลค่าทั้งสิ้น 360,000 บาท เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย

ศูนย์ความเป็นเลิศทางอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขางานก่อสร้าง โครงการ Living Solution Expert เปิดรับสมัครน้องๆ เข้าเรียนในปีการศึกษา 2564

โครงการนี้เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนที่ช่วยยกระดับและพัฒนาฝีมือของน้องๆ อาชีวศึกษา เพิ่มโอกาสการหางานสร้างรายได้ และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในปัจจุบัน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี​ ตลอดหลักสูตรด้วย

รับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา ปวช. สาขาก่อสร้างหรือสาขาโยธา ตั้งแต่วันนี้ – 15 ก.พ. 2564

ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3fVKZMl

มูลนิธิเอสซีจี ส่งความห่วงใยให้พี่น้องผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้อย่างต่อเนื่อง

ถึงแม้สถานการณ์น้ำท่วมจะเริ่มคลี่คลาย หลายพื้นที่น้ำเริ่มลด แต่ที่บ้านดอนมะลิ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ยังคงมีน้ำยังท่วมขังในระดับสูง พี่น้องไทดำ จากเครือข่ายต้นกล้าชุมชน ได้ช่วยแจ้งข่าวสารความเดือดร้อนนี้ และได้ร่วมกับมูลนิธิเอสซีจี นำถุงยังชีพไปมอบให้กับชาวบ้านที่ต้องอพยพมาอยู่ ณ ศูนย์พักพิง รวมทั้งผู้ที่ติดอยู่ในบ้านพักอาศัยที่การช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง  เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้พี่น้องผู้ประสบภัยผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปในเร็ววัน

มูลนิธิเอสซีจี ส่งกำลังใจสู่พี่น้องชาวใต้ สู้ภัยน้ำท่วม

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับสำนักงานภาคใต้ และผู้แทนจำหน่ายเอสซีจี ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ จำนวน 400 ชุด แก่ผู้ประสบอุทกภัย ใน อ.เมือง อ.สิชล และ​ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ด้วยความห่วงใย เป็นกำลังใจไปสู่พี่น้องให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน

นอกจากนี้มูลนิธิเอสซีจี ยังได้ร่วมสนับสนุนโรงทานวัดวังตะวันตก ต.คลัง อ.เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งชาวบ้านและพระลูกวัดต่างร่วมแรงร่วมใจมาประกอบอาหาร และนำไปแจกจ่ายแก่พี่น้องผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ฝนได้หยุดตกแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังสูง หลายครอบครัวยังติดอยู่ในบ้านเรือน ขาดแคลนสิ่งของอุปโภคบริโภค ซึ่งคาดว่าโรงทานแห่งนี้จะตั้งไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์หรือจนกว่าระดับน้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ

(ขอขอบคุณภาพจากวัดวังตะวันตก)​

นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี ร่วมกิจกรรม “The 1st Youth Symposium on SDGs” เวทีหารือของเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

“น้องฟ้าใส -​ อนันตญา ชินวงศ์” และ​ “น้องเจมส์​ -​ โยธิน บุญยงค์” นักเรียนทุน Sharing the dream โดยมูลนิธิเอสซีจี เข้าร่วมกิจกรรม “The 1st Youth Symposium on SDGs” เวทีหารือของเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการรวมพลังของเยาวชน เพื่อกำหนดอนาคตของโลกที่ต้องการ​ จัดโดย สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ​ M Tower สำนักงานใหญ่บางจาก 

นับเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่ก้าวที่ยิ่งใหญ่ ที่นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี​ ได้มีส่วนร่วมด้วย​

มูลนิธิ​เอส​ซี​จี เยี่ยมชม​ “คูโบต้าฟาร์ม” เรียนรู้​การเกษตรสมัยใหม่

“คุณสุวิมล จิวาลักษณ์” กรรมการ​และ​ผู้จัดการ​มูลนิธิ​เอสซี​จี​ นำทีมพาน้องๆ ต้นกล้า​ชุมชน​ ที่ขับเคลื่อน​งานด้านการเกษตร​ ศึกษา​ดูงานเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการเกษตรสมัยใหม่ ที่นำองค์ความรู้ นวัตกรรมเกษตรครบวงจรมาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้งน้อมนำแนว
พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นต้นแบบ​ ที่​คูโบต้า​ฟาร์ม​ จ.ชลบุรี​ เพื่อนำไปต่อยอดองค์​ความรู้​และผสมผสาน​การทำการเกษตร​อย่างยั่งยืนต่อไป

#มูลนิธิเอสซีจี
#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน

มูลนิธิเอสซีจี สานฝันปั้นเด็กศิลป์ สร้างยุวศิลปิน ผ่านโครงการ Young Thai Artist Award รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี เป็นประธานในงานประกาศผล มอบรางวัล และเปิดนิทรรศการ โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 (Young Thai Artist Award 2019) รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเยาวชนไทยที่มีความสามารถด้านศิลปะได้มีพื้นที่ในการแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ผ่านงานศิลป์ 6 สาขาได้แก่ สาขาศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี โดยมี  คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมแสดงความยินดีกับน้องๆ ผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขา ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)

มูลนิธิเอสซีจี จับมือภาครัฐ-เอกชน เดินหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาก่อสร้าง โครงการ Living Solution Expert

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่สนับสนุนการเรียนอาชีวศึกษามาอย่างต่อเนื่อง มอบทุนการศึกษารวมกว่า 1.5 ล้านบาท แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) ที่เข้าร่วมศูนย์ความเป็นเลิศทางอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาช่างก่อสร้าง โครงการ Living Solution Expert ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  การประปานครหลวง บริษัท นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด  มูลนิธิเอสซีจี  บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด เพื่อสร้างและส่งเสริมนักเรียนอาชีวะให้เป็นบุคคลากรมืออาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ  และทำให้ผู้เรียน มีทักษะใหม่ที่ตรงตามความต้องการของตลาด สามารถทำงานได้จริง สร้างรายได้และมีอาชีพที่มั่นคงในอนาคตอีกด้วย

โครงการดังกล่าว เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี โดยนำองค์ความรู้ที่ทันสมัยจากแต่ละองค์กรที่มีเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างมาพัฒนาแผนการเรียน  จัดการฝึกประสบการณ์ทำงานในสถานที่จริง รวมถึงสนับสนุนการมีอาชีพ โดยมี 2 สาขา ได้แก่ 1) สาขางานติดตั้ง และซ่อมบำรุง ประปา และสุขภัณฑ์  2) สาขางานติดตั้ง ซ่อมบำรุง ประตู หน้าต่าง ซึ่งจัดการเรียนการสอนที่วิทยาลัยเทคนิคดุสิต ในปีการศึกษา 2564 ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 2410099, 081 9063845

มูลนิธิเอสซีจี ชวนร่วมงานประกาศผล มอบรางวัล และเปิดนิทรรศการ โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 (Young Thai Artist Award 2020) ทาง Online ผ่านระบบ Live Facebook และ Zoom webinar

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งมั่นพัฒนาคน และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้ดำเนินโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 (Young Thai Artist Award 2020) รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า​ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ เพื่อสนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นพากเพียรในการสร้างสรรค์ผลงานศิลป์ได้มีเวทีในการแสดงออกถึงความสามารถเชิงศิลปะของตนอย่างกว้างขวาง โดยมีการประกวดถึง 6 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี โดยเวทีนี้ได้รับการยอมรับ ว่ามีมาตรฐานการคัดเลือกผลงานที่เข้มงวด คณะกรรมการคัดเลือกและคณะกรรมการตัดสินผลงานประกอบด้วยศิลปินแห่งชาติ ศิลปินชั้นเยี่ยม และผู้ทรงคุณวุฒิของแต่ละสาขา เพื่อสนับสนุนเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นพากเพียรในการแสดงออกผ่านผลงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์จรรโลงสังคม

ในปี 2563 นี้ มูลนิธิเอสซีจีขอเรียนเชิญท่านร่วมงานประกาศผล มอบรางวัล และเปิดนิทรรศการ ในวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป โดยรับชมทาง Online ผ่านระบบ Live เพื่อลดความเสี่ยงในการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นการปรับตัวในการประกวดศิลปะแบบชีวิตวิถีใหม่ โดยสามารถรับชมได้ที่ เฟสบุ๊ค เพจ Young Thai Artist Award และเพจ มูลนิธิเอสซีจี  หรือทาง Zoom webinar ที่ https://us02web.zoom.us/j/87272904428

มูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษาหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อตอบโจทย์สาขาวิชาชีพที่เป็นความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนมอบทุนการศึกษาหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล แก่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 19 ทุน มูลค่า 475,000 บาท โดยมี รศ.นพ. รัฐพล ตวงทอง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นตัวแทนรับมอบ

ทุนการศึกษานี้ เป็นหลักสูตรระยะสั้น ไม่มีภาระผูกพัน ซึ่งนักศึกษาที่จบหลักสูตร สามารถประกอบอาชีพได้ทันที เนื่องจากเป็นสาขาที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน 

จากการพูดคุยกับน้องๆ นักศึกษาที่ได้รับทุน หลายคนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการประกอบอาชีพผู้ช่วยพยาบาล ที่จะได้ช่วยเหลือผู้อื่น และสามารถประกอบอาชีพที่มั่นคง มีทักษะที่สามารถดูแลตนเองและครอบครัวได้อีกด้วย

เชิญชมนิทรรศการผลงานศิลปะ ​โครงการ​รางวัล​ยุว​ศิลปิน​ไทย​ประจำปี 2563 (Young Thai Artist Award​ 2020)

มูลนิธิ​เอส​ซี​จีขอเชิญ​สัมผัส​พลังศิลป์ของยุวศิลปิน​เลือดใหม่ ในนิทรรศการ​โครงการ​รางวัล​ยุว​ศิลปิน​ไทย​ประจำปี 2563
รางวัล​ถ้วยพระ​ราชทานสมเด็จ​พระ​กนิษฐา​ธิราช​เจ้า​ กรมสมเด็จ​พระ​เท​พรัตนราชสุดา​ ฯ ​สยาม​บรม​ราช​กุมารี

พบกับ 36 ผลงานสุดสร้างสรรค์​ของคนรุ่นใหม่​ที่​โชว์ไอเดียและแรงบันดาลใจ​ผ่านผลงานศิลปะทั้ง 6 สาขา ในวันที่ 10 – 29 พฤศจิกายน ​2563 ณ โถงชั้น L หอศิลป​วัฒนธรรม​แห่ง​กรุงเทพ​มหานคร (BACC)

มาร่วมกันส่องไฟ สานฝันดื่มด่ำงาน​ศิลป์ ที่คนติสท์​ไม่​ควรพลาด

#มูลนิธิเอสซีจี #โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย #YoungThaiArtistAward

เตรียม​ความพร้อม ฝึกซ้อม​ฝีมือ ปรุงทุกจานด้วยหัวใจไปคว้าชัยเวทีโลก

สุวิมล จิวาลักษณ์​ กรรมการและผู้จัดการ​มูลนิธิ​เอส​ซี​จี และ ประเสริฐ เด่นขจรเกียรติ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมมาตรฐานฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปให้กำลังใจนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจีคนเก่งที่กำลังเก็บตัว​ฝึกซ้อม​ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 13 หรือ WorldSkills Singapore ASEAN 2020 ในสาขาประกอบอาหาร (Cooking) ที่วิทยาลัยดุสิตธานี เขตประเวศ กรุงเทพฯ

เราได้เห็นความทุ่มเท​และ​มุ่งมั่นในการฝึกซ้อมอย่างหนักของ​น้องๆ ทุกคน

ในนามของมูลนิธิเอสซีจีและคนไทย​ ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ มีแรง มีพลังที่เข้มแข็ง

ตลอดการฝึกซ้อม​ เพราะเราเชื่อว่าเยาวชน​ไทย​เก่งไม่แพ้​ชาติใดในโลก

#มูลนิธิ​เอส​ซี​จี
#เชื่อมั่น​ใน​คุณค่า​ของ​คน​

มูลนิธิเอสซีจีและเอสซีจี สานแรง สานใจ ช่วยผู้ประสบภัยโคราช และปราจีนบุรี

มูลนิธิเอสซีจี มอบถุงยังชีพ 700 ชุด พร้อมสุขากระดาษ 300 ชุด ลงพื้นที่ อ.ปักธงชัย จ.นคราชสีมา และ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี โดยมีเพื่อนพนักงาน จาก บริษัท เอสซีจี ดิสทริบิวชั่น จำกัด(สำนักงานภาคอีสาน)  CPAC ภาคอีสาน บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จำกัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี และผู้แทนจำหน่ายคูโบต้าอนันตภัณฑ์ ร่วมกันบรรจุสิ่งของที่จำเป็น สำหรับถุงยังชีพ เช่น อาหารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค พร้อมลงพื้นที่นำไปมอบให้ถึงมือพี่น้องผู้ปะสบภัย เพื่อเป็นกำลังใจและบรรเทาความเดือดร้อนจากอุทกภัยครั้งนี้ โดยผู้ประสบภัยที่ได้รับความช่วยเหลือต่างขอบคุณในน้ำใจของเพื่อนพนักงาน ที่ไม่ทอดทิ้งกัน

กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และ แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 เพื่อให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา

กระทรวงสาธารณสุข สยามไบโอไซเอนซ์ เอสซีจี และ แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการผลิตและจัดสรรวัคซีนวิจัยป้องกันโควิด-19 เพื่อให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน สามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างเท่าเทียมและทันเวลา

ทั้งนี้ มูลนิธิเอสซีจี ยังร่วมสมทบทุนในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนภายในประเทศเป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท คาดวัคซีนชุดแรกจะพร้อมใช้ในประเทศไทยภายในกลางปี 2564

ข้อมูลเพิ่มเติม

https://scgnewschannel.com/th/scg-news

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมมือกับสถานีโทรทัศน์ช่อง One 31 ให้การสนับสนุนงานด้านการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ในรายการ “เก่งจริงชิงค่าเทอม”

“เก่งจริงชิงค่าเทอม” รายการเกมโชว์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ที่เรียนดี เกรดเฉลี่ยสะสม 3.5 ขึ้นไป แต่ไม่มีทุนการศึกษา สมัครเข้ามาร่วมแข่งขันในรายการเพื่อแสดงออกทางความสามารถด้านวิชาการด้วยการตอบปัญหา และบอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ชีวิตเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ชมและเยาวชนทั่วประเทศ

เชิญร่วมชมและเป็นกำลังใจให้น้องๆ เหล่านี้กันได้ทุกวันอาทิตย์ เวลา 16.00 น. ทาง ช่องวัน 31

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าเตรียมความพร้อม​ เพิ่มศักยภาพให้ให้เยาวชนไทยสู่การแข่งขันระดับโลก พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้อย่างเต็มที่​

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน และโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สานต่อเรื่องการเก็บตัวฝึกซ้อมนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจีอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเข้าแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 46 หรือ “WorldSkills Shanghai 2021” สาขา Health and Social Care (การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย) โอกาสนี้ได้ระดมความคิด หารือเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อม เพื่อให้น้องๆ ได้รับสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะฝีมือให้ได้มากที่สุด ณ อาคารโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม 6 กทม. โดยน้องๆ อยู่ระหว่างเก็บตัวฝึกซ้อมอย่างเข้มข้นกับผู้เชี่ยวชาญ และจะคัดเลือกน้อง 1 ใน 3 คนนี้  เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อไป

เพราะพวกเราอยากเห็นเยาวชน​ไทย​ สายวิชาชีพพยาบาล ได้มีโอกาสไปแสดงทักษะฝีมือความสามารถ​ในเวทีโลกต่อไป

มูลนิธิเอสซีจีมอบรางวัลประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัลและประกาศนียบัตรแก่น้องๆ ทั้งในระดับประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) โดยบรรยากาศงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นเป็นกันเอง มีพี่ๆ ผู้บริหารจากมูลนิธิเอสซีจีนำโดยพี่รุ่งโรจน์ รังสิโยภาสประธานกรรมการมูลนิธิฯ รวมถึงเหล่าคุณหมอจากมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ขึ้นมอบรางวัลให้แก่น้องๆ  ทั้งนี้รางวัลที่น้องๆ ได้รับ ได้แก่ รางวัลยอดเยี่ยม รางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย รางวัลขวัญใจมหาชน และรางวัลขวัญใจคุณหมอ

โครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโควิด-19  รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมือ เป็นต้น โดยการประกวดฯ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3  และ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6

บรรยากาศการตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด (Thai Kids Fight COVID)”

รายนามคณะกรรมการรอบตัดสิน

ประธานกรรมการตัดสิน
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษามูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์

คณะกรรมการรอบตัดสิน

1. ดร.ครูสังคม ทองมี  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร

2. รองศาสตราจารย์ทินกร กาษรสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

4. พล.อ.ต.นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์

5. อาจารย์จิตรา ศาสนัส  นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

รายนามคณะกรรมการรอบคัดเลือก

1. ครูสังคม ทองมี  ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร

2. อาจารย์ฑีฆาวุฒิ บุญวิจิตร รองคณบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

3. คุณลำพู กันเสนาะ ศิลปินอิสระ สาขาจิตรกรรม

4. พล.อ.ต.นายแพทย์อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์

5. คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี

ประกาศผล​ การตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

ผลการตัดสิน การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ ประถมศึกษาตอนปลาย

ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น

ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

รายนามกรรมการโครงการประกวดวาดภาพระบายสี

มอบกำลังใจให้นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี เก็บตัวฝึกซ้อมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน สาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วย​ คุณอนุวัฒน์ จงยินดี ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิเอสซีจี และ คุณวรรณี โกมลกวิน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้เดินทางไปเยี่ยม​ชมการเก็บตัวฝึกซ้อมและให้กำลังใจ​กับนักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี ที่จะลุ้นได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 13 หรือ WorldSkills ASEAN Singapore 2020 ในสาขาบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Restaurant Service) ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

น้องๆ​ ทุกคนมีความตั้งใจอย่างเต็มที่และฝึกซ้อมอย่างหนัก​ และจะทำอย่างสุดความสามารถเพื่อ​สร้างชื่อเสียง​ให้กับ​ประ​เทศ

“มูลนิธิเอสซีจี” ส่งหนังสั้น “จดหมายจากปลายเท้า” ถึงคนไทย ปลุกคุณค่าและพลังพิเศษในตัวทุกคน

มูลนิธิเอสซีจีส่งต่อความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเองผ่านหนังสั้น “จดหมายจากปลายเท้า”นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของ 4 บุคคลที่ต้องเผชิญวิกฤตโควิด-19 สะท้อนวิธีคิดวิธีปรับตัวและการรับมือในช่วงวิกฤตเพื่อเป็นแรงบันดาลใจปลุกพลังและความหวังให้คนไทยทุกคนก้าวข้ามวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น มูลนิธิเอสซีจีได้ดำเนินการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนนับแต่เดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ เด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ยากไร้และผู้ขาดโอกาส ทั้งในด้านของนวัตกรรมทางการแพทย์ ด้านสุขอนามัย ด้านอุปโภคบริโภค อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อีกจำนวนมากที่   ตกงาน ถูกลดเงินเดือน กิจการต้องปิดลง สูญเสียทุกอย่างที่เคยสร้างมา ทำให้หลายคนอาจจะรู้สึกว่าคุณค่าในตัวเองลดหายไป หมดหวัง เสียกำลังใจ  บางคนถึงขั้นตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

“มูลนิธิเอสซีจีในฐานะองค์กรสาธารณกุศลที่ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการพัฒนา ‘ คน ’ เราเชื่อมั่นในคุณค่าในความสามารถและศักยภาพของ ‘คน’ จึงได้หยิบยกประเด็นความสามารถในการ “ ปรับตัว ” ซึ่งถือเป็นพลังพิเศษที่แฝงอยู่ในตัวของทุกคนมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวถ่ายทอดผ่านหนังสั้นเรื่อง“จดหมายจากปลายเท้า”ที่นำเสนอชีวิตจริงของคน 4 คนไม่ว่าจะเป็นบิวตี้บล็อกเกอร์เจ้าของบาร์ช่างซ่อมเครื่องซักผ้าและเชฟภัตตาคารเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของคนธรรมดาที่มีแนวคิดไม่ธรรมดาโดยแต่ละคนนั้นสามารถปรับตัวและรับมือกับโควิด-19 ในแบบฉบับของตัวเองที่แตกต่างกันออกไปจนสามารถก้าวข้ามผ่านความยากลำบากในครั้งนี้มูลนิธิฯหวังว่าเรื่องราวชีวิตจริงที่เราหยิบยกขึ้นมาเป็นแรงบันดาลใจนี้จะช่วยส่งต่อความเชื่อมั่นในคุณค่าของตนเองปลุกพลังปลุกกำลังใจเหมือนที่ในหนังบอกไว้ว่า “ ถ้ายังไม่สูญเสียลมหายใจยังไงคุณก็จะรอด ”

ผู้สนใจสามารถรับชมหนังสั้นเรื่อง “จดหมายจากปลายเท้า” โดยมูลนิธิเอสซีจีได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปผ่านทางยูทูปแชนเนล scgfoundation และเฟซบุ๊กแฟนเพจมูลนิธิเอสซีจี

#จดหมายจากปลายเท้า #เชื่อมั่นในคุณค่าของคน #มูลนิธิเอสซีจี

ประกาศผล รอบคัดเลือก การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” และขอเชิญร่วมโหวต รางวัลขวัญใจมหาชน ทาง Facebook มูลนิธิเอสซีจี

ผลการคัดเลือก การประกวดวาดภาพระบายสี เกี่ยวกับการดูแลตัวเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากโควิด-19 “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ ประถมศึกษาตอนปลาย


ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ท่านสามารถร่วมโหวตภาพผลงานที่ชื่นชอบ​ 
ได้ทาง ​Facebook​ มูลนิธิเอสซีจี​ ระหว่างวันที่​ 6-18​ ก.ย. 63​
เพื่อลุ้นรับรางวัลขวัญใจมหาชน htts://www.facebook.com/SCGFoundation/

มูลนิธิเอสซีจี และซีแพค จับมือ สอศ. ร่วมพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในโครงการ “อาชีวะฝีมือชน สู่ช่างมืออาชีพ” ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานทักษะฝีมือคุณภาพ

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง และบริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัด หรือ ซีแพค (CPAC) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)  ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการอาชีวะฝีมือชนสู่ช่างมืออาชีพ” เพื่อเสริมสร้าง ต่อยอด อาชีวะฝีมือชนสาขาวิชาช่างก่อสร้าง และช่างโยธาให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ทำงานจริงให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและได้มาตรฐานระดับสากล

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ด้วยตระหนักว่าผู้สำเร็จการศึกษาสายอาชีวะ เป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม และการบริการ มูลนิธิเอสซีจี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน-ประชาสังคม จึงได้ร่วมมือกันทำงานเชิงรุกในโครงการสานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพอาชีวศึกษา (Competitive Workforce) เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาและการสร้างอาชีวศึกษาให้มีความเป็นเลิศ เพิ่มคุณภาพผู้ เรียน นับแต่นั้นเราไม่เคยหยุดสนับสนุนการดำเนินงานของอาชีวะ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศ และแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ น้อยลง ไม่เว้นแม้แต่ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างขนาดใหญ่ แต่กลับมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะฝีมือ มีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นมืออาชีพ ในงานซ่อมแซมต่อเติม งานรับเหมาขนาดกลางและขนาดเล็กเพิ่มมากขึ้น และด้วยเจตนารมณ์ของการดำเนินโครงการที่สร้างประโยชน์ให้แก่การศึกษา รวมถึงสร้างบุคลากรมืออาชีพที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ มูลนิธิเอสซีจี จึงได้เข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยในงานก่อสร้าง อาทิ เครื่องขัดมันแบบเครื่องยนต์ เครื่องตบดิน กรรไกรตัดเหล็ก เครื่องตั้งระบบเลเซอร์ เกรียงยาว แบบหล่อ CUBE รถเข็นปูน แบบหล่อเหล็กตัวซี เครื่องจี้คอนกรีต เครื่องแต่งผิวหน้าคอนกรีต ตะกร้อตบดิน อุปกรณ์เซฟตี้และอื่นๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน แก่วิทยาลัยนำร่องที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 11 แห่ง รวมมูลค่ากว่า 1,500,000 บาท

คุณปัญญา โสภาศรีพันธ์ ผู้อำนวยการธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง บริษัทผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง จำกัดหรือ ซีแพค (CPAC) กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดขึ้นโดยซีแพคได้มีโอกาสเข้าไปสอนเรื่องคอนกรีตเทคโนโลยีให้กับนักศึกษาแผนกโยธาและแผนกก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ในภาคทฤษฎีเป็นประจำทุกปี จากการเข้าไปสอนพบว่านักศึกษากลุ่มหนึ่งต้องการมีรายได้ระหว่างเรียนและอยากมีประสบการณ์จากการทำงานจริง ขณะเดียวกันมีลูกค้าของซีแพคบางส่วนที่มาซื้อคอนกรีตแต่ไม่มีช่างและขอให้ซีแพคช่วยแนะนำช่างให้ด้วย  จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนานักศึกษาเหล่านี้ให้สามารถทำงานได้จริงและมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานคอนกรีตที่ถูกวิธี ซึ่งได้จัดการอบรมและแชร์ประสบการณ์ในการทำงานโดยวิศวกรและช่างในพื้นที่ของ ซีแพค พร้อมทั้งจัดให้มีการลงมือปฎิบัติจริงในสถานที่ทำงานจริงของลูกค้า โดยเจ้าของงานเป็นผู้ออกค่าวัสดุและค่าแรงให้กับนักศึกษาที่ทำงานและได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ในการทำงานจากมูลนิธิเอสซีจี นอกจากนี้นักศึกษายังได้รับความรู้เรื่องต้นทุน งานการตลาด การหาลูกค้า  การสำรวจหน้างาน งานประมาณราคาและการทำบัญชี ฯลฯ เพื่อให้สามารถรับเหมางานเองผ่านชมรมวิชาชีพก่อสร้างของวิทยาลัย  จากการดำเนินโครงการฯ พบว่าได้รับผลตอบรับดี ชมรมฯ สามารถรับงานได้เดือนละ 2-3 งาน ในวันเสาร์-อาทิตย์และช่วงวิทยาลัยปิดเทอม นักศึกษาจะมีประสบการณ์ทำงานจริง และมีรายได้ระหว่างเรียน เฉลี่ย 350 บาท/วัน /คน โดยปัจจุบันมีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการไปแล้ว ประมาณ 300 คน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีนักศึกษาที่สามารถไปทำงานจริงทั้งรับงานเองโดยตรงและผ่านวิทยาลัยแล้วกว่า 90 คน ซึ่งถือเป็นความภูมิใจและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ

คุณณรงค์ แผ้วพลสง เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา   เปิดเผยว่า ความร่วมมือในโครงการอาชีวะฝีมือชน สู่ช่างมืออาชีพ มีระยะเวลา 1 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาโดยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะวิชาชีพให้นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ที่เปิดสอนสาขาวิชาช่างก่อสร้าง และช่างโยธา ให้มีความรู้ ทักษะและประสบการณ์จากการทำงานจริง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและได้มาตรฐานระดับสากล โดยซีแพค จะจัดการอบรมให้ความรู้งานด้านคอนกรีตเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติในงานก่อสร้าง รวมถึงความรู้ด้านอื่น ๆ ได้แก่ การรับงาน การคิดต้นทุน ความปลอดภัยในการทำงาน การบำรุงรักษาเครื่องมือให้แก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสอศ. ที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับมอบหมายงานเพื่อให้เกิดประสบการณ์วิชาชีพจากการทำงานหน้างานจริง ตลอดจนจัดอบรมให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างและ Construction Solutionให้กับครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนนักศึกษา ในสาขาช่างก่อสร้างและช่างโยธา สำหรับมูลนิธิเอสซีจี จะสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมืองานคอนกรีตสำหรับใช้ในการเรียนการสอนให้กับสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะฝีมือชน สู่ช่างมืออาชีพ จำนวน 11 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี วิทยาลัยเทคนิคดุสิต วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต และวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่

“ทั้งนี้ สอศ.เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้เกิดช่างก่อสร้าง และช่างโยธาที่มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะวิชาชีพตามมาตรฐานสากล ตอบโจทย์ความต้องการแรงงานช่างมืออาชีพ” เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวทิ้งท้าย

มูลนิธิเอสซีจี ผนึกความร่วมมือ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ มอบหน้ากากผ้าให้น้อง 100,000 ชิ้น พร้อมชวนเด็กประถมฯ ประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด”

ดาวน์โหลดใบสมัครประกวดวาดภาพระบายสีเด็กไทยสู้ภัยโควิด

มูลนิธิเอสซีจี องค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งเน้นด้านการพัฒนา ‘คน’ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติในอนาคต ร่วมกับ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์มอบหน้ากากผ้าจำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท เพื่อมอบให้กับนักเรียนในถิ่นทุรกันดารและนักเรียนที่ขาดแคลนหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันตนเองจากการระบาดของโควิด-19 ภายใต้โครงการ “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) พร้อมเปิดตัวโครงการประกวดวาดภาพระบายสีเด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) ระดับประถมศึกษา เพื่อให้เด็กไทยได้ตระหนักถึงการดูแลและป้องกันตนเองจากการระบาดของโรค COVID-19  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่รวมกันที่โรงเรียน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษมวัฒนชัย องคมนตรีในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ กล่าวว่า “โครงการเด็กไทยสู้ภัยโควิด (Thai Kids Fight COVID) เป็นโครงการที่มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ และคณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.) รุ่นที่ 1-8 จัดขึ้น ด้วยความห่วงใยเด็กๆ ที่ขาดแคลน  โดยเฉพาะนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง มีความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงได้ริเริ่มโครงการฯ จัดหาหน้ากากผ้าที่มีคุณภาพให้กับเด็กนักเรียนระดับประถมต้น ป.1 – ป.4 ในท้องถิ่นทุรกันดาร  โดยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จำนวน 11 แห่ง ร่วมเป็นเครือข่าย เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้มีโอกาสดูแลและให้ความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการใส่หน้ากาก การล้างมือ อย่างถูกวิธี และการรักษาสุขอนามัยที่ดี แก่เด็กนักเรียนและครูอาจารย์ด้วย”

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานกรรมการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจี มุ่งมั่นเสริมสร้างศักยภาพเด็กและเยาวชนรวมถึงปลูกฝังจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เล็งเห็นถึงความสำคัญของหน้ากากผ้าที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคของเด็กๆ ในช่วงเปิดเทอม จึงได้มอบหน้ากากผ้า จำนวน 100,000 ชิ้น มูลค่า 3,500,000 บาท ให้กับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์เพื่อส่งมอบต่อให้กับเด็กๆ ในท้องถิ่นทุรกันดาร

ซึ่งหน้ากากดังกล่าว จะมีขนาดที่เหมาะสมกับใบหน้า ใช้ผ้าที่มีคุณภาพและปลอดภัย รวมถึงมีสีสันสวยงามเพิ่มความน่าใช้ และน้องๆ ยังสามารถเขียนชื่อที่หน้ากากได้เพื่อป้องกันการสูญหายหรือสลับกัน โดยโครงการจะมอบให้คนละ 2 ชิ้น”

นอกจากนี้มูลนิธิเอสซีจีและมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ยังได้จัดโครงการประกวดภาพวาดระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) ในหัวข้อการดูแลตัวเองที่โรงเรียน ให้ห่างไกลจากโควิด -19 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เห็นความสำคัญของการป้องกันตนเอง  รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางกายภาพ การล้างมือ เป็นต้น  ทั้งนี้ได้แบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท  คือ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3  และ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6 โดยวาดภาพผลงานลงบนกระดาษขนาด A3 ไม่จำกัดเทคนิคการวาด สามารถใช้สีได้ทุกประเภท

“การจัดการประกวดวาดภาพระบายสีครั้งนี้  เราได้รับความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  ในการช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้เด็ก ๆ ทั่วประเทศ ได้ส่งภาพเข้าประกวดอีกทั้งยังได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม คชินทร เป็นประธานคณะกรรมการตัดสิน รวมถึงศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมเป็นคณะกรรมการ อาทิ คุณครูสังคม ทองมี” นายรุ่งโรจน์กล่าว

ด้าน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ให้ความเห็นว่า “ในหลายประเทศ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 พบว่ามาจากเด็กซึ่งไปโรงเรียน และเป็นเหตุให้โรงเรียนต้องปิด เพราะการดูแลเด็กๆ ให้ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง และล้างมือ เป็นสิ่งที่ยากสำหรับพวกเขา ทั้งนี้ การที่เด็กไม่ยอมใส่หน้ากากนั้น อาจเป็นเพราะความไม่คุ้นชิน และอีกสาเหตุหนึ่งคือขนาดของหน้ากากที่ไม่พอดีกับใบหน้าของพวกเขา นอกจากนี้ การที่เราจัดให้มีโครงการประกวดวาดภาพฯ ขึ้น เพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ทั้งในเด็ก ผู้ปกครอง ตลอดจนครูอาจารย์ เป็นการให้เห็นความสำคัญว่าหน้ากากเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยป้องกันพวกเขาจากโควิด-19 การประกวดวาดภาพจึงเปรียบเสมือนกุศโลบายขับเคลื่อนการตระหนักรู้โดยใช้พลังเด็กอีกด้วย ผมมั่นใจว่าการร่วมมือกันของทุกฝ่าย ทุกช่วงวัย จะช่วยลดอุบัติการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 ในประเทศไทย ผมขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจี องค์กรที่ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชน ช่วยรณรงค์ส่งเสริมค่านิยมในการใส่หน้ากากของเด็ก ซึ่งความร่วมมือกันในครั้งนี้จะทำให้เด็กๆ อันเป็นอนาคตของชาติมีความปลอดภัยมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาต้องอยู่ร่วมกันที่โรงเรียน”

โครงการประกวดวาดภาพระบายสี เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2563 ซึ่งจะคัดเลือกผู้เข้ารอบจำนวน ประเภทละ 20 ภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในวันที่ 5 กันยายน 2563 แล้วเปิดให้ทางบ้านร่วมโหวตผ่าน Facebook มูลนิธิเอสซีจี ระหว่างวันที่  6 – 18 กันยายน โดยภาพที่มียอด Like สูงสุดจะได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน ซึ่งรอบสุดท้ายจะตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และประกาศผลผู้ชนะรางวัลในวันที่ 19 กันยายน 2563 ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท รวมเงินรางวัล 160,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตรจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ เกษม วัฒนชัย นอกจากนี้โรงเรียนต้นสังกัดของนักเรียนที่ได้รับรางวัลทั้งหมด จะได้รับชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 ประกอบไปด้วย เครื่องวัดอุณหภูมิ โรงเรียนละ 2 เครื่อง และสเปรย์แอลกอฮอล์ โรงเรียนละ 100 ขวด

สำหรับผู้ที่สนใจส่งภาพผลงานของนักเรียนเข้าประกวด สามารถศึกษากติกาและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.scgfoundation.org หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2586 2042 และ 0 2586 1190 และเฟซบุ๊กมูลนิธิเอสซีจี

โครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (THAI KIDS FIGHT COVID)

ดาวน์โหลดใบสมัครประกวดวาดภาพระบายสีเด็กไทยสู้ภัยโควิด

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ได้จัดโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID) ในระดับประถมศึกษาขึ้นในครั้งนี้ เพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นความสำคัญของการดูแลและป้องกันตนเองที่โรงเรียนให้ห่างไกลจากการระบาดของ COVID-19 รวมไปถึงการปลูกฝังเรื่องสุขลักษณะสำหรับเด็ก เช่น การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การล้างมือ เป็นต้น ทั้งนี้ ได้แบ่งการประกวดเป็น 2 ประเภท คือ
– ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3
– ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6

รายละเอียดโครงการประกวดวาดภาพระบายสี “เด็กไทยสู้ภัยโควิด” (Thai Kids Fight COVID)

เยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา
ประเภท
– ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3
– ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6

ผลงาน
ภาพวาดขนาด A3 (ไม่ใส่กรอบ) ไม่จำกัดแนวคิด เทคนิคและประเภทของสี

การรับสมัคร
เปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2563 สามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.scgfoundation.org

ขั้นตอนการคัดเลือกและตัดสิน
รอบแรก – คัดเลือกผู้เข้ารอบ ประเภทละ 20 ภาพ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
รอบสอง – เปิดให้ทางบ้านร่วมโหวตผ่าน Facebook มูลนิธิเอสซีจี ระหว่างวันที่ 6 – 18 กันยายน 2563 ภาพที่มียอด Like สูงสุดจะได้รับ รางวัลขวัญใจมหาชน
รอบตัดสิน – ตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประกาศผลผู้ชนะรางวัลในวันที่ 19 กันยายน 2563 ที่ www.scgfoundation.org

รางวัล
ระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ปีที่ 1 – 3 รวม 80,000 บาท
– รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินสด 20,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตรจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์
– รางวัลดีเด่น 3 รางวัล เงินสดรางวัลละ 10,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลชมเชย 4 รางวัล เงินสดรางวัลละ 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลขวัญใจมหาชน 1 รางวัล เงินสด 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลขวัญใจคุณหมอ 1 รางวัล เงินสด 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลประกาศนียบัตร จำนวน 10 รางวัล

ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ปีที่ 4 – 6 รวม 80,000 บาท
– รางวัลยอดเยี่ยม 1 รางวัล เงินสด 20,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลและประกาศนียบัตรจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์
– รางวัลดีเด่น 3 รางวัล เงินสดรางวัลละ 10,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลชมเชย 4 รางวัล เงินสดรางวัลละ 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลขวัญใจมหาชน 1 รางวัล เงินสด 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลขวัญใจคุณหมอ 1 รางวัล เงินสด 5,000 บาท และ ประกาศนียบัตร
– รางวัลประกาศนียบัตร จำนวน 10 รางวัล
โดยโรงเรียนต้นสังกัดของนักเรียนที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม ,รางวัลดีเด่น , รางวัลชมเชย และ ขวัญใจฯ จะได้รับชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด
– รางวัลยอดเยี่ยม มีประเภทละ 1 รางวัล รวม 2 รางวัล
– รางวัลดีเด่น มีประเภทละ 3 รางวัล รวม 6 รางวัล
– รางวัลชมเชย มีประเภทละ 4 รางวัล รวม 8 รางวัล
– รางวัลขวัญใจ มีประเภทละ 2 รางวัล รวม 4 รางวัล
– รวมทั้งหมด 20 รางวัล

ชุดอุปกรณ์ป้องกันโควิด
1.เครื่องวัดอุณหภูมิ โรงเรียนละ 2 เครื่อง รวม 20 โรงเรียน จำนวน 40 เครื่อง
2.สเปรย์แอลกอฮอล์ โรงเรียนละ 100 ขวด รวม 20 โรงเรียน

รายชื่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษามูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ประธานกรรมการตัดสินการประกวดวาดภาพฯ

รายชื่อคณะกรรมการ รอบคัดเลือก
กรรมการ คุณครูสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร
กรรมการ อ.ฑีฆาวุฒิ บุญวิจิตร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กรรมการ นส.ลําพู กันเสนาะ ศิลปินอิสระ สาขาจิตรกรรม
กรรมการ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์
กรรมการ คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี

รายชื่อคณะกรรมการ รอบตัดสิน
กรรมการ คุณครูสังคม ทองมี ผู้อำนวยการศูนย์ศิลป์สิรินธร
กรรมการ ผศ.ดร.อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาคศิลปะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการ รศ.ทินกร กาษรสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร
กรรมการ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์
กรรมการ ผู้แทนจากสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

มูลนิธิเอสซีจี มอบ “ห้องน้ำเพื่อประชาชน”ให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับบริษัท เน็กซเตอร์ ดิจิตอล จำกัด ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และ SCG CHEMICALS

มอบ “ห้องน้ำเพื่อประชาชน”ให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสวนพุทธมณฑล เพื่อใช้เป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนที่มาร่วมงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ณ สวนพุทธมณฑล

มูลนิธิเอสซีจี และกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ห่วงใยพี่น้องสื่อมวลชน ร่วมมอบสเปรย์แอลกอฮอล์ 15,000 ขวด ให้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และรายการเรื่องเด่นเย็นนี้และสถานีวิทยุครอบครัวข่าว

จากวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้คนไทยการ์ดไม่ตกและเพื่อเผ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดรอบที่ 2 กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตน้ำตาลครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ร่วมมือกับมูลนิธิเอสซีจี และ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส ร่วมผลิตและขนส่งสเปรย์แอลกอฮอล์ขนาด 60 มิลลิลิตร จำนวนทั้งสิ้น 200,000 ขวด โดยได้ทยอยส่งมอบ และจัดส่งไปยังผู้รับในจุดหมายปลายทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสี่ยง หรือกลุ่มประชาชนผู้ขาดโอกาส กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนสื่อมวลชน ในการนี้ มูลนิธิเอสซีจีร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และเอสซีจี เอ็กซ์เพรส จึงได้ส่งมอบสเปรย์แอลกอฮอล์จำนวน 15,000 ขวดให้สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายการเรื่องเด่นเย็นนี้และสถานีวิทยุครอบครัวข่าว โดยมี ดร. อุกฤษฏ์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด บริษัทผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ภายใต้กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และคุณยุทธนา เจียมตระการ กรรมการมูลนิธิเอสซีจี เป็นผู้ส่งมอบ เพื่อนำไปแจกให้กับสื่อมวลชน ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพ ที่ต้องพบผู้คนมากมาย เดินทางเข้าไปรายงานข่าวในพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยง เพื่อนำข้อมูล ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจสถานการณ์ โควิด-19 ให้พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนเข้าถึงและเข้าใจสถานการณ์อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ ยังมีแผนจัดส่งสเปรย์แอลกอออล์ไปยังกลุ่มผู้ขาดโอกาสต่าง ๆ ในสังคม ได้แก่ กลุ่มผู้พิการทางสายตา โรงเรียนคนตาบอด และกลุ่มพี่น้องประชาชนในชุมชนแออัด ตลอดจนพื้นที่ห่างไกลที่เข้าถึงสเปรย์แอลกอฮอล์ยาก เพื่อสุขอนามัยที่ดี และช่วยลดการระบาดรอบที่ 2

ทั้งนี้ แม้ภาพรวม การระบาดในประเทศไทยจะน้อยลง แต่ก็ยังไม่อาจนิ่งนอนใจได้ เพราะสถานการณ์ทั่วโลกยังมีการระบาดต่อเนื่อง จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของคนไทยทุกคนที่จะช่วยกันดูแลตัวเอง เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง มูลนิธิเอสซีจี และ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส หวังว่าทุกคนจะปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

มูลนิธิเอสซีจี มอบเครื่อง CT Scan วินิจฉัยโควิด-19 ให้โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ มูลค่า 14 ล้านบาท

มูลนิธิเอสซีจี โดยคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานกรรมการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี และ ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมส่งมอบเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CT Scan) มูลค่าเครื่องรวมถึงการปรับปรุงห้องสำหรับใช้งาน เป็นงบประมาณ 14 ล้านบาท โดยนวัตกรรมนี้ได้รับคำแนะนำจาก Chinese Academy of Sciences สามารถแสดงผลการตรวจที่คมชัดด้วยภาพความละเอียดสูง ที่มาพร้อมซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเพื่อช่วยให้การวินิจฉัยอาการของโควิด-19 แม่นยำและรวดเร็ว รองรับการคัดกรองได้มากถึง 300 คน ต่อวัน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นๆ โดยมี รศ. นพ. ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศ.นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นตัวแทนรับมอบ

นอกจากนี้ มูลนิธิเอสซีจียังได้ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้กับสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ อาทิ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room) และแคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบขนาดเล็กสำหรับเข้าเครื่อง CT Scan (Small Patient Isolation Capsule for CT Scan) เพื่อปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ สยามโกลบอลเฮ้าส์ ส่งกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับบริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) สนับสนุน ห้องตรวจหาเชื้อและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swab Unit) และห้องน้ำสำเร็จรูป มูลค่า 3.9 ล้านบาทเพื่อเสริมความพร้อมหากมีสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวมีการแยกพื้นที่ระหว่างทีมแพทย์และคนไข้ออกจากกัน และใช้ระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม พร้อมมีระบบฆ่าเชื้อ ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยสามารถติดตั้งในพื้นที่จำกัดได้ในเวลารวดเร็ว ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งผู้ที่มาใช้บริการ โดยมีคุณวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในงานรับมอบ พร้อมด้วย นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ดร.นายแพทย์พิทักษ์พงศ์ พายุหะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดร้อยเอ็ด คุณวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และคุณบรรณ เกษมทรัพย์ Head of SCG Home Retail and Distribution Business ในฐานะผู้แทนมูลนิธิเอสซีจี ร่วมในพิธี

นายแพทย์ชลวิทย์ หลาวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า จากการที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดได้รับการสนับสนุนห้องตรวจหาเชื้อและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening& Swab Unit) จากมูลนิธิเอสซีจี และบริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีและขอบคุณยิ่ง ที่ทั้งสององค์กรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าในการดูแลผู้ป่วย ทำให้โรงพยาบาลมีห้องตรวจเชื้อและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงที่ได้มาตรฐานมาตรฐานสากล มีความปลอดภัย ทั้งนี้ โรงพยาบาลได้มีการต่อยอดพัฒนาห้องคัดกรอง และห้องตรวจให้เหมาะกับการใช้งานและการบริการผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ โดยได้ปรับสถานที่ให้บริการเป็นแบบเบ็ดเสร็จในจุดเดียว หรือ One Stop Service กล่าวคือ เป็นจุดลงทะเบียน สอบถามประวัติ พบคุณหมอเพื่อตรวจสอบอาการ ทำการตรวจหาเชื้อ และรับยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ขณะที่จุดบริการอยู่ในพื้นที่ที่จัดแยกเป็นสัดส่วนออกจากอาคารหลักจึงไม่ไปปะปนกับผู้ป่วยอื่น จึงช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ สำหรับการได้รับการสนับสนุนในครั้งนี้จะช่วยในการเตรียมความพร้อม หากเกิดการระบาดของโควิด-19 ระลอกสอง หรือเมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ผ่อนคลายลง จะสามารถใช้ห้องตรวจนี้สำหรับการตรวจผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด และวัณโรคปอด ที่มีผู้มาตรวจรักษาเฉลี่ยถึงปีละกว่า 9,700 คนอีกด้วย สำหรับโรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นโรงพยาบาลระดับ A ขนาด 820 เตียง มีผู้มาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 2,000 คน สำหรับห้องตรวจหาเชื้อและคัดกรองผู้มีความเสี่ยงได้ดำเนินการติดตั้งเสร็จเรียบร้อย และพร้อมเปิดให้ บริการผู้ป่วยที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หรือจมูกไม่ได้กลิ่น โดยตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าตึกมหาวีโร ถนนริมคลอง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เพื่อให้ผู้ที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงไม่ต้องเข้าไปปะปนกับผู้มาใช้บริการด้านใน เปิดให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563

คุณบรรณ เกษมทรัพย์ Head of SCG Home Retail and Distribution Business ในฐานะผู้แทนมูลนิธิเอสซีจี กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมห้องตรวจหาเชื้อและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swab Unit) นี้ พัฒนาจากเทคโนโลยีของ SCG HEIM และ Living Solution ภายในห้องตรวจผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ได้ออกแบบให้มีระบบ Smart Indoor Air Quality (IAQ Smart) ที่ช่วยควบคุมแรงดันและการหมุนเวียนของอากาศให้สะอาด ปลอดภัย และระบบการป้องกันอากาศรั่วไหล (Air Tightness) ที่ทำให้ห้องปิดสนิท ป้องกันอากาศเข้า-ออกตัวอาคาร ทำให้ในตัวอาคารสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เป็นอย่างดี โดยทีมแพทย์จะอยู่ในห้องความดันบวก ที่ไม่มีอากาศเสียจากภายนอกเข้าไป อากาศภายในจึงบริสุทธิ์ปลอดภัย ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจะอยู่ในห้องความดันลบ และมีระบบดูดอากาศเสียออกไปกำจัดอย่างต่อเนื่อง จึงป้องกันไม่ให้มีอากาศฟุ้งกระจายออกไปภายนอก เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยให้แก่ทีมแพทย์ ซึ่งการเก็บตัวอย่าง (Swab) จะทำผ่านแผ่นอะคริลิกที่เจาะเป็นช่อง โดยแพทย์สามารถสอดมือผ่านช่องที่มีถุงมือคลุมด้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อเก็บตัวอย่าง จึงลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนจากผู้ที่เข้ารับการตรวจ พร้อมใช้แสงยูวีเข้มข้นสูง ฆ่าเชื้อโรค (UV Germicide) หลังจากการใช้งานในห้องทุกครั้ง ทั้งนี้ โครงสร้างกว่าร้อยละ 80 ประกอบขึ้นรูปภายในโรงงาน ที่มีการควบคุมคุณภาพ และความสะอาดตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถติดตั้งได้รวดเร็ว เพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงการติดเชื้อสำหรับทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยที่มารับบริการ ได้ทราบผลที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

คุณวิทูร สุริยวนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามโกลบอลเฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงแรก และการเตรียมพร้อมรับมือถ้าหากเกิดการระบาดระลอกถัดมา สิ่งที่โรงพยาบาลต้องพบเจอเป็นด่านแรก คือ การตรวจและคัดกรองผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากผู้ป่วยทั่วไปก่อนนำไปรักษา และในช่วงที่ผ่านมามีผู้มีอาการเข้ามาตรวจคัดกรองโรคอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่บริษัทสยามโกลบอลเฮ้าส์ เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ มีคู่ค้าและพนักงานที่ทำงานร่วมกันเป็นคนในจังหวัดร้อยเอ็ด และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก เราได้เล็งเห็นว่า โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีภารกิจสำคัญยิ่งในการดูแลผู้ป่วยทั้งในจังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ยังมีความต้องการการสนับสนุนด้านความปลอดภัยและการอำนวยความสะดวกให้กับทีมบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่มาใช้บริการ

มูลนิธิเอสซีจี และกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ร่วมผนึกกำลัง มอบสเปรย์แอลกอฮอล์ 1 แสนขวด มูลค่า 5 ล้านบาท เพื่อให้คนไทยการ์ดไม่ตก ปกป้องตัวเองจากโควิด-19

ในวิกฤตมักมีโอกาส และเป็นโอกาสที่เราจะได้เห็นเพื่อน เห็นกลุ่มคน เห็นองค์กรที่มีความถนัดแตกต่างกัน มาร่วมมือกัน เพื่อช่วยให้ประเทศของเราผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตน้ำตาลครบวงจรรายแรกในประเทศไทย ร่วมมือกับมูลนิธิเอสซีจี และ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส  ร่วมผลิตและขนส่งสเปรย์แอลกอฮอล์ขนาด 60 มิลลิลิตร จำนวน 100,000 ขวด ให้แก่สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอสเพื่อส่งมอบสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกระทรวงแรงงานแจกจ่ายเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญกับความเสี่ยง และผู้ใช้แรงงานที่เดินทางข้ามเขตแดนทั่วประเทศ 

ดร. อุกฤษฏ์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรุ่งเรืองพลังงาน จำกัด บริษัทผู้ผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาล ภายใต้กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการร่วมมือครั้งนี้ว่า “เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ที่ได้ทราบข่าวถึงความขาดแคลนแอลกอฮอล์ ทางเรามองเห็นว่าโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรที่ดูแลสถานที่กักตัวชั่วคราว เปรียบเสมือนด่าหน้าที่เสียสละเพื่อทุกคน เมื่อบริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพสามิตให้ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อทำความสะอาดได้เป็นการชั่วคราว เราจึงส่งแอลกอฮอล์ไปยังโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่ช่วยในการดูแลกักตัวกลุ่มเสี่ยงที่กลับมาจากต่างประเทศทันที ถึงตอนนี้ได้ส่งมอบแอลกอฮอล์ไปแล้วกว่า 70,000 ลิตร จากปริมาณที่ต้องการกว่า 100,000 ลิตร  ซึ่งเรายังคงทยอยส่งมอบตามความสะดวกของผู้มารับให้ได้ครบจำนวนที่ต้องการ ส่วนหนึ่งเราต้องขอบคุณหลายๆ บริษัทเช่นเดียวกันที่สนับสนุนถังบรรจุและกลีเซอรอลในช่วงแรก  ซึ่งขณะนั้นหาซื้อได้ลำบาก จนเราสามารถส่งมอบแอลกอฮอล์ไปให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้กว่าร้อยแห่ง”

“มาถึงตอนนี้ หลังจากการขาดแคลนแอลกอฮอล์ที่โรงพยาบาลเบาบางลงแล้วเป้าหมายต่อไปของคนไทยทุกคน คือ ป้องกันไม่ให้โควิด-19 กลับมาอีก ซึ่งเราเชื่อว่ายังมีคนไทยบางส่วนยังไม่สามารถเข้าถึงแอลกอฮอล์ จึงร่วมกับมูลนิธิเอสซีจีผลิตแอลกอฮอล์แบบสเปรย์ ขนาดพกพา เพื่อให้คนไทยร่วมกันรักษาสุขอนามัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ประมาท และช่วยกันหยุดโควิด-19 ไม่ให้กลับมาอีก” ดร. อุกฤษฏ์ กล่าว

ด้าน คุณยุทธนา เจียมตระการ กรรมการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือและปกป้องบุคลากรทางการแพทย์จากความเสี่ยงในการติดเชื้อ ด้วยการส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศด้วยงบประมาณกว่า 60 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นห้องตรวจเชื้อแบบเคลื่อนที่ แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วย อุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้เพื่อลดการฟุ้งกระจายสำหรับงานทันตกรรม อีกทั้งยังได้ส่งมอบชุดอุปกรณ์ปฏิบัติหน้าที่เพื่อแทนความห่วงใยและคำขอบคุณไปยังอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.) เหล่าฮีโร่จิตอาสา จำนวน 600 ชุดด้วย”

“สถานการณ์การแพร่ระบาดในไทยดูเหมือนว่าจะมียอดผู้ติดเชื้อลดลง แต่เราก็ยังประมาทไม่ได้ การ์ดต้องไม่ตก มูลนิธิเอสซีจีและกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง จึงได้ร่วมมือผลิตสเปรย์แอลกอฮอล์ มอบให้กับกระทรวงแรงงานและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ และประชาชนซึ่งมีความเสี่ยงในการติดโรคระบาด เพราะต้องพบปะกับผู้ที่เดินทางข้ามเขตแดนจำนวนมากในแต่ละวัน จึงนับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มงานที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละนับแต่มีการระบาดของโรค พร้อมกันนี้ จะแจกจ่ายแอลกอฮอล์ให้กับกลุ่มแรงงาน โดยจะกระจายไปยังกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ และเขตปริมณฑล  กรมการจัดหางาน ด่านตรวจคนหางาน และสำนักงานจัดหางานทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และช่วยให้การเข้าออกประเทศเป็นไปอย่างปลอดภัยมากขึ้น  โดยได้รับความร่วมมือจากเอสซีจี เอ็กซ์เพรส ขนส่งแอลกอฮอล์ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญ ขอขอบคุณสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส ที่ร่วมเป็นสื่อกลาง ให้เกิดการเชื่อมต่อและส่งมอบความปลอดภัยให้กับคนไทยในครั้งนี้” คุณยุทธนา กล่าว   

นอกจากการมอบแอลกอฮอล์ดังกล่าวแล้ว  กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และมูลนิธิเอสซีจียังมีแผนแจกจ่ายสเปรย์แอลกอฮอล์อีก จำนวน 100,000 ขวด ให้แก่กลุ่มผู้ขาดโอกาสต่างๆ ในสังคม ได้แก่ กลุ่มผู้พิการทางสายตา โรงเรียนสอนคนตาบอด และกลุ่มพี่น้องประชาชนในชุมชนแออัดที่เข้าถึงสเปรย์แอลกอฮอล์ยาก เพื่อสุขอนามัยที่ดี และช่วยลดการระบาดรอบที่ 2  

ทั้งนี้ แม้ภาพรวมการระบาดในประเทศไทยจะน้อยลง แต่ก็ยังไม่อาจนิ่งนอนใจได้ เพราะสถานการณ์ทั่วโลกยังมีการระบาดต่อเนื่อง จึงเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของคนไทยทุกคนที่จะช่วยกันดูแลตัวเอง เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง มูลนิธิเอสซีจี และ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส หวังว่าทุกคนจะปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 แล้วเราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

มูลนิธิ​เอส​ซี​จี ​ส่งมอบ “อสม. Kits” แทนความห่วงใย​ให้ อสม. จิต​อาสา​ หัวใจ​แกร่ง​ ฮีโร่ของ​ชุมชน

คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ได้ส่งมอบชุดอุปกรณ์ปฏิบัติหน้าที่ (อสม.Kits) แก่นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)​ ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง และส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของฮีโร่เหล่านี้ มูลนิธิ​เอส​ซี​จี ได้จัดทำและมอบ “อสม. Kits” ชุดกระเป๋า​ปฏิบัติ​งานป้องกันและเฝ้าระวัง​การแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19​ ให้แก่ อสม. กำลังสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด -19 ในการให้ความรู้ ติดตามกลุ่มเสี่ยง ช่วยคนในชุมชนให้ปลอดภัย
ภายในกระเป๋าประกอบไปด้วย

  1. เครื่องวัดอุณหภูมิ Infrared Thermometer
  2. เจลแอลกอฮอล์
  3. สเปรย์แอลกอฮอล์
  4. หน้ากากสะท้อนน้ำ ซึ่งสามารถป้องกันละอองฝอยต่างๆ​
  5. ชุดคลุม (เสื้อกันฝน) เพื่อให้เหมาะกับการเข้าสู่ฤดูฝน
  6. ถุงมือทางการแพทย์

โดยสิ่งของทั้งหมด บรรจุในกระเป๋าทำจากถุงปูน SCG ที่พกพาได้คล่องตัว เหมาะสมต่อการเดินทางเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายผ่านเครือข่ายต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือนักพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งยังได้รับความร่วมมือร่วมแรงจากเพื่นพนักงาน SCG มาช่วยแพ็ค “อสม. Kits” เหล่านี้ด้วย

ทั้งนี้ มูลนิธิเอสซีจีหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอุปกรณ์เหล่านี้ จะช่วยให้ อสม. ผู้​อุทิศ​ตนเสียสละ สามารถทำงานได้สะดวก มีอุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างเหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไปพร้อมกับคนไทยทุกคน มูลนิธิฯ ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้ก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

จุดไฟคนรักงานศิลป์ สานฝันแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ กับโครงการ Young Thai Artist Award 2020 โดย มูลนิธิเอสซีจี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

มูลนิธิเอสซีจี เปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 18-25 ปีทั่วประเทศ ที่มีใจรักการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มาปล่อยของ ประลองความคิดสร้างสรรค์ ประชันไอเดียศิลป์ เพื่อแจ้งเกิดเป็นยุวศิลปินเลือดใหม่ในวงการศิลปะกับโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย 2563 หรือ Young Thai Artist Award 2020 รางวัลถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เวทีการประกวดศิลปะสำหรับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ น้องๆ สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวดได้ถึง 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี โดยผู้ชนะรางวัลผลงานยอดเยี่ยมแต่ละสาขาจะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมทัศนศึกษาสร้างแรงบันดาลใจและชมผลงานศิลปะในต่างประเทศ (หมายเหตุ: การทัศนศึกษาต่างประเทศอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม เนื่องจากสถานกาณ์ Covid-19) ส่วนรางวัลดีเด่นจะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท

น้องๆ เยาวชนไทยหัวใจศิลป์ที่สนใจปลดปล่อยพลังความสามารถด้านศิลปะอย่างสร้างสรรค์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัคร Online ได้ที่ www.youngthaiartistaward.com/ หรือโทร. 02 586 2042 พร้อมจุดไฟฝันให้คนรักงานศิลป์ตั้งแต่วันนี้ – 30 สิงหาคม 2563 สนใจติดตามความเคลื่อนไหว คลิก www.facebook.com/YoungThaiArtistAward/ และ www.instagram.com/youngthaiartistaward

Image preview...

มูลนิธิเอสซีจี ติดตั้ง “ตู้ปันน้ำใจ” กว่า 60 จุด ทั่วประเทศ

มูลนิธิเอสซีจี ติดตั้ง “ตู้ปันน้ำใจ” เพื่อเป็นตู้น้ำใจ ร่วมแบ่งปัน ซึ่ง “โครงการตู้ปันน้ำใจ” เป็นแนวคิดของการเชื่อมโยงกันระหว่าง “ผู้ให้” ที่มีกำลังหรือพอมีเหลือเพื่อแบ่งปัน กับ “ผู้รับ” ที่กำลังประสบภาวะยากลำบากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้นำตู้บรรจุเครื่องอุปโภค – บริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันไปวางตามจุดต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้คนที่ลำบากขาดรายได้มาหยิบไปให้พอดี และเผื่อแผ่ให้คนอื่นๆ ซึ่งต่อไปในวันข้างหน้าผู้รับก็อาจจะกลับมาเป็นผู้ให้บ้างเมื่อมีโอกาส เป็นการร่วมส่งต่อความดีให้กันในสังคมด้วย

ในตู้ปันน้ำใจจะมีสิ่งของทั้งของกิน ของใช้ ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร ปลากระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม นมกล่อง ทิชชู่ ผ้าอนามัย สบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ ซึ่งมูลนิธิฯ จะเลือกจุดวางในบริเวณชุมชนที่มีคนผ่านไปมา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งผู้ให้และผู้รับเป็นสำคัญ เช่น หน้าตลาด สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ วัด หรือโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งได้รับความร่วมมือจากชุมชนบริเวณใกล้เคียงเช่น ตำรวจ วินมอเตอร์ไซค์ หรือพ่อค้าแม่ค้า ในการร่วมกันดูแลตู้ปันน้ำใจนี้

มูลนิธิฯ ได้นำตู้ปันน้ำใจตู้แรกไปทดลองวางที่สถานีตำรวจนครบาลเตาปูน พบว่าทันทีที่ไปวางตู้ ก็มีเจ้าของร้านอาหารบริเวณใกล้เคียงมาร่วมเติมของ จากนั้นก็มีประชาชนทะยอยมาหยิบของไป จนถึงช่วงค่ำวันเดียวกันของในตู้ก็พร่องไปเพียงเล็กน้อย เพราะในขณะที่มีคนมาหยิบไปบ้าง ก็มีคนมาเติมของในตู้เช่นกัน

ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ยังได้ขยายความร่วมมือไปยังเครือข่ายต่างๆ ที่มาร่วมในการติดตั้งตู้ปันน้ำใจ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายสื่อมวลชนของไทยพีบีเอส ช่อง 7HD และยังได้ขยายไปยังจังหวัดต่างๆ ผ่านเครือข่ายต้นกล้าชุมชน โดยขณะนี้มีกว่า 60 จุดทั่วประเทศ

มูลนิธิเอสซีจี ส่งกำลังใจและดูแลบุคลากรการแพทย์ต่อเนื่อง เดินหน้าส่งมอบนวัตกรรมป้องกัน โควิด-19 แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ มูลค่ากว่า 0.3 ล้านบาท

คุณวิชาญ จิตร์ภักดี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี (คนแรกจากซ้าย) และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Chamber)  แก่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โดยมี คุณศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ (ที่ 3 จากซ้าย) ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัย (Swab) ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID – 19 แม้ว่าประเทศไทยเข้าสู่มาตรการผ่อนปรนแล้ว แต่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยนวัตกรรมดังกล่าว มีการควบคุมความดันอากาศที่มีประสิทธิภาพ เเละระบบกรองอากาศระดับ HEPA ที่ช่วยกรองอากาศให้สะอาด ปลอดภัย อีกทั้งสะดวกในการใช้งานอย่างมาก เพราะสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้สะดวก โครงสร้างทุกชิ้นแข็งแรง ใช้พลาสติกที่มีคุณภาพสูงเป็นส่วนประกอบหลัก

รายชื่อบุคคลในภาพ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

  1. คุณวิชาญ จิตร์ภักดี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี
  2. คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี
  3. คุณศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร 
  4. คุณกิตติ ตั้งจิตรมณีศักดา กรรมการมูลนิธิเอสซีจี
  5. นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์
  6. นพ.เกรียงไกร ตั้งจิตรมณีศักดา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์

มูลนิธิเอสซีจี ส่งความห่วงใยบุคลากรทางการแพทย์ต่อเนื่อง มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

มูลนิธิเอสซีจี โดย คุณแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ พร้อมด้วย คุณสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ ร่วมส่งมอบห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบเคลื่อนที่ เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยมี คุณชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี แพทย์หญิงมนัญญา วรรณไพสิฐกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง นายอำเภอบ้านโป่ง ผู้บริหารของโรงพยาบาล และราชการในพื้นที่ เป็นตัวแทนรับมอบ

ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบเคลื่อนที่ เป็นนวัตกรรมของเอสซีจีที่ออกแบบให้เหมาะกับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู หรือแม้แต่เป็นห้องพักผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์และพยาบาลสามารถรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่น ๆ ด้วยระบบควบคุมความดันอากาศที่มีประสิทธิภาพ เเละระบบกรองอากาศระดับ HEPA ที่ช่วยกรองอากาศให้สะอาด ปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย โดยโครงสร้างทุกชิ้นมีความแข็งแรงและใช้พลาสติกที่มีคุณภาพสูงเป็นส่วนประกอบหลัก จึงสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

บุคคลในภาพ (ซ้าย – ขวา) : คุณธนัชชา ว่องอมรนิธิ คุณรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอบ้านโป่ง คุณสหรัฐ พัฒนวิบูลย์ คุณแสงชัย วิริยะอำไพวงศ์ คุณกฤษณะ คำจันทร์ ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอบ้านโป่ง คุณชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี คุณจิรภัทร สิทธิสันต์ คุณเบญจรัตน์ จริยธาราสิทธิ์ สมาชิกวุฒิสภา คุณกิ่งกาญจน์ ทรัพย์เย็น รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล และแพทย์หญิงมนัญญา วรรณไพสิฐกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลบ้านโป่ง

มูลนิธิเอสซีจี ขอเชิญร่วมอุดหนุนสินค้าชุมชน พร้อมแนะนำชุมชนให้เข้ามาพบปะผู้ซื้อได้ที่กลุ่ม “ชุมชนชวนช้อป”

“ชุมชนชวนช้อป” คือกลุ่มใน Facebook ที่เราตั้งใจให้เป็นตลาดนัดชุมชนออนไลน์… เชื่อมโยงผู้ผลิตจากชุมชนทั่วไทย ที่ตั้งใจนำความสดใหม่ของสินค้า หรือเอกลักษณ์ จากท้องถิ่น มาแบ่งปันให้กับเพื่อนผู้ซื้อ ที่อยากอุดหนุนสินค้าคุณภาพ ด้วยหวังว่าจะช่วยแบ่งปันความสุขทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ

เรายินดีต้อนรับผู้ผลิตผู้ค้าและนักช้อปทุกท่าน…แล้วพบกันที่นี่.. “ชุมชนชวนช้อป” www.facebook.com/groups/189454128831939/

มูลนิธิเอสซีจี ส่งพลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง มอบนวัตกรรม ห้องตรวจหาเชื้อ พร้อมชุดติดตามสุขภาพทางไกล แก่โรงพยาบาลศิริราช

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณพิทยา จั่นบุญมี กรรมการมูลนิธิเอสซีจี และคุณวัทธยา พรพิพัฒน์กุล คณะทำงานมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนส่งมอบนวัตกรรมห้องตรวจหาเชื้อ (Modular swab unit) 1 ยูนิต ให้โรงพยาบาลศิริราช โดนยูนิตออกแบบแยกสัดส่วนพื้นที่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง พร้อมระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม จึงช่วยลดโอกาสการติดเชื้อพร้อมด้วยอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล (Tele-Monitoring)54 ชุด เพื่อช่วยติดตามข้อมูลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ ลดการสัมผัสโดยตรงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเก็บตัวตามลำพัง นอกจากนี้ยังได้ห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) 2 ห้อง ให้กับศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล รวมมูลค่า 5.4 ล้านบาท โดยมี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมด้วย รศ.นพ. วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เป็นตัวแทนรับมอบ

มูลนิธิเอสซีจี ดูแลบุคลากรทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ โรงพยาบาลศิริราช มูลค่ากว่า 1.6 ล้านบาท

มูลนิธิเอสซีจี เดินหน้าส่งมอบนวัตกรรมป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 แบบเคลื่อนที่ให้กับโรงพยาบาลอีก 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องตรวจรักษาผู้ป่วยและผู้ที่เสียงติดเชื้อ COVID – 19 ด้วยระบบควบคุมความดันอากาศที่มีประสิทธิภาพ เเละระบบกรองอากาศระดับ HEPA ที่ช่วยกรองอากาศให้สะอาด ปลอดภัย อีกทั้งสะดวกในการใช้งานอย่างมาก เพราะสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายได้สะดวก โครงสร้างทุกชิ้นแข็งแรง ใช้พลาสติกที่มีคุณภาพสูงเป็นส่วนประกอบหลัก

ทั้งนี้นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ประกอบไปด้วย 5 นวัตกรรม ได้แก่ ห้องแยกป้องกันเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Negative Pressure Isolation Room) สำหรับปฏิบัติการในห้องฉุกเฉิน ห้องไอซียู หรือแม้แต่เป็นห้องพักผู้ป่วย โดยสามารถรักษาผู้ป่วยหนักได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ (Negative/Positive Pressure Isolation Chamber) ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถสอดมือเข้าไปทำหัตถการ (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ (Patient Isolation Capsule) ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แคปซูลความดันลบขนาดเล็ก สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อเข้าเครื่อง CT Scan (Small Patient Isolation Capsule for CT scan) ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan และอุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้เพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อ สำหรับงานทันตกรรม (Dent Guard) ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างการทำงานทันตกรรม

การส่งมอบนวัตกรรมในครั้งนี้ มีคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี และดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมส่งมอบให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ศ.นพ. สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นพ. นิพนธ์ เขมะเพชร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านภาพลักษณ์องค์กร เป็นตัวแทนรับมอบ  

โรงพยาบาลศิริราช มี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล รศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช พร้อมด้วย รศ.ดร.นพ.ยงยุทธ ศิริวัฒนอักษร รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช เป็นตัวแทนรับมอบ

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบ “ถุงน้ำใจ” เพื่อผู้ได้รับผลกระทบวิกฤตโควิด – 19

คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ประธานกรรมการ และกรรมการมูลนิธิเอสซีจี ร่วมมอบ”ถุงน้ำใจ” บรรจุสินค้าบริโภค อุปโภค ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อแทนความห่วงใย กับพี่ๆ น้องๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา-19 จำนวน 270 คน อาทิ แม่บ้านที่ช่วยดูแลความสะอาดให้ในช่วง​ Work​ from​ Home, พนักงานขับรถ, พนักงานขนย้าย, พนักงานเสิร์ฟ และช่างระบบอาคาร ที่ยังคงมาทำงานปฏิบัติหน้าที่ดูแลสำนักงานให้เรียบร้อย ปลอดภัย ในทุกๆ วัน

มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) แห่งที่ 4 แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เพื่อปกป้องบุคลากรการแพทย์จากโควิด -19

คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วย คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการมูลนิธิเอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ร่วมส่งมอบนวัตกรรมห้องคัดกรอง (Modular Screening Unit) จำนวน 1 ยูนิต มูลค่า 1.4 ล้านบาท ให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรและทรัพยากรบุคคล และ รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนรับมอบ โดยนวัตกรรมดังกล่าว ถูกออกแบบให้แยกสัดส่วนพื้นที่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ อีกทั้งภายในยังเป็นระบบความดันบวกและมีคุณภาพอากาศที่เหมาะสม จึงช่วยลดโอกาสการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางโรงพยาบาลจะนำไปปรับใช้เป็นจุดลงทะเบียนผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ยังมีโรงพยาบาลทั่วประเทศอีกจำนวนมากที่ต้องการนวัตกรรมเพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ที่สนใจอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ สามารถร่วมบริจาคผ่าน“มูลนิธิชัยพัฒนา” “มูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม
โดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” หรือ “มูลนิธิพาณิชย์สงเคราะห์ โดยหอการค้าไทย” เพื่อส่งมอบนวัตกรรมต่าง ๆ ให้โรงพยาบาลที่มีความต้องการ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
คอลเซ็นเตอร์ โทร. 02-586-2888

รายชื่อบุคคลในภาพ (เรียงจากซ้ายไปขวา)

  1. อ.นพ.เพชร อลิสานันท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านสนับสนุนบริการ
  2. รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค รองผู้อำนวยการ ฝ่ายยุทธศาสตร์องค์กรและทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  4. คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี
  5. คุณนิธิ ภัทรโชค กรรมการมูลนิธิเอสซีจี และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเอสซีจี
  6. คุณวชิระชัย คูนำวัฒนา Head of Living Solution Business ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี
  7. คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี

มูลนิธิเอสซีจีเดินหน้าส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี และ ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมส่งมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ ให้โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้บุคลากรการแพทย์ ทั้งยังใช้งานง่าย ติดตั้ง-เคลื่อนย้ายสะดวก โดยมี นพ. ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ รศ.นพ.มล.ชาครีย์ กิติยากร หัวหน้าศูนย์นวัตกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นตัวแทนรับมอบ
ทั้งนี้นวัตกรรมป้องกันโควิด-19 แบบเคลื่อนที่ประกอบไปด้วย ห้องตรวจเชื้อความดันลบหรือบวกแบบเคลื่อนที่ (Negative/Positive Pressure Isolation Chamber) ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถสอดมือเข้าไปทำหัตถการ (Swab) โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย แคปซูลเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ (Patient Isolation Capsule) ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย แคปซูลความดันลบขนาดเล็ก สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อเข้าเครื่อง CT Scan (Small Patient Isolation Capsule for CT scan) ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเข้าเครื่อง CT Scan และอุปกรณ์ครอบศีรษะคนไข้เพื่อป้องกันเชื้อสำหรับงานทันตกรรม (Dent Guard) ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อระหว่างการทำงานทันตกรรม

รายชื่อบุคคลในภาพข่าว

  1. คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี (ที่ 2 จากขวา)
  2. ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ดูแลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรม
    (ที่ 1 จากขวา)
  3. นพ. ณรงค์ฤทธิ์ มัศยาอานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    (ที่ 2 จากซ้าย)
  4. รศ.นพ.มล.ชาครีย์ กิติยากร หัวหน้าศูนย์นวัตกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี (ที่ 1 จากซ้าย)

มูลนิธิเอสซีจี​ ร่วมส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ให้สถาบันบำราศนราดู​ร​ และสถาบันโรคทรวงอก​

เพื่อร่วมส่งกำลังใจและเป็นการขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์​ในการรักษาผู้ป่วยโควิด – 19​ ​มูลนิธิเอสซีจี​ ได้ร่วมส่งมอบเจลแอลกอฮอล์ให้แก่สถาบันบำราศนราดู​ร​ และสถาบันโรคทรวงอก​ แทนความห่วงใยต่อแพทย์และพยาบาลผู้ทุ่มเทและเสียสละในการต่อสู้กับโรคโควิด​ -​ 19​

มูลนิธิเอสซีจี​ มอบแอลกอฮอล์เจลให้กรุงเทพมหานคร​ เพื่อให้เจ้าหน้าที่และชุมชนได้ใช้​ เพื่อป้องกันไวรัสโควิด-19

มูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จัดทำแอลกอฮอลล์ชนิดเจล มอบให้กับกรุงเทพมหานคร เพื่อนำไปมอบต่อให้กับเจ้าหน้าที่เก็บขยะ กวาดถนน ได้นำไปใช้ขณะปฏิบัติหน้าที่ และชุมชนแออัดต่างๆ ต่อไป

มูลนิธิเอสซีจี มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท

มูลนิธิเอสซีจี มอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 : ห้องตรวจและคัดกรองผู้ป่วย ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกลและอุปกรณ์การแพทย์
ให้ 7 โรงพยาบาล มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และประธานกรรมการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจี รู้สึกห่วงใยในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ “ช่วยกันแคร์ดูแลกัน” ให้ประเทศไทยพ้นภัยครั้งนี้ ด้วยการมอบนวัตกรรมป้องกันโควิด-19 ให้โรงพยาบาล 7 แห่ง เพื่อตอบโจทย์การยกระดับความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ใกล้ชิด ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณมูลค่ากว่า 50 ล้านบาทของ มูลนิธิเอสซีจี โดยประกอบด้วย
1.) ห้องตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยง (Modular Screening & Swab Unit) ซึ่งมีระบบควบคุมแรงดันและคุณภาพอากาศที่เหมาะสม จึงช่วยลดโอกาสการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และผู้เข้ารับการตรวจ โดยใช้เวลาในการติดตั้งที่หน้างานเพียง 3 วัน ด้วยนวัตกรรมของ SCG HEIM และ Living Solution ของเอสซีจี จำนวน 12 ยูนิต รวมมูลค่า 27 ล้านบาท
2.) ชุดอุปกรณ์ติดตามสุขภาพทางไกล (Tele-Monitoring) ที่เชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี Internet of things (IoT) โดย Living Solution ของเอสซีจี ช่วยติดตามข้อมูลสุขภาพผ่านระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเก็บตัว จึงช่วยลดการสัมผัสของบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยได้ จำนวน 70 ชุด รวมมูลค่า 2 ล้านบาท
3.) ห้องน้ำสำเร็จรูป (Modular Bathroom) โครงสร้างผลิตจากคอนกรีตเบาแบบเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งานจากโรงงาน ทำความสะอาดฆ่าเชื้อง่ายจึงช่วยสร้างสุขอนามัยที่ดี โดยจัดวางแยกพื้นที่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรอง จำนวน 28 ห้อง รวมมูลค่า 1 ล้านบาท
4.) CT Scan ที่ช่วยตรวจและคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว จำนวน 1 เครื่อง มูลค่า 15 ล้านบาท
5.) อุปกรณ์ทางการแพทย์ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้แก่

  1. แคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ (Isolation Capsule) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อระหว่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จำนวน 20 ยูนิต รวมมูลค่า 4 ล้านบาท
  2. ห้องตรวจเชื้อความดันลบแบบเคลื่อนที่ (Isolation Chamber) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างการตรวจสอบเชื้อ จำนวน 5 ยูนิต (ยูนิตละ 3 ห้อง) รวมมูลค่า 1 ล้านบาท
  3. กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย (Aerosol Box) ช่วยในปฏิบัติการใส่ท่อช่วยหายใจ ผลิตจากแผ่นอะคริลิกชนิดใส จำนวน 200 ชิ้น รวมมูลค่า 3 แสนบาท

มูลนิธิเอสซีจีชวนเพื่อนพนักงานเอสซีจี เย็บหน้ากากผ้าทำเองใช้เอง

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิเอสซีจีได้ชวนเพื่อนพนักงานเอสซีจี เย็บหน้ากากผ้าทำเองใช้เองเพื่อลดการใช้หน้ากากอนามัยให้บุคลากรทางการแพทย์มีใช้อย่างเพียงพอ และแบ่งปันให้ผู้จำเป็นหรือขาดโอกาส โดยมีวิทยากร คุณภัทธิรา​ หาญ​สกุล สาธิตการเย็บหน้ากากอนามัย​จากผ้าคุณภาพดี​ที่มีเกิน​ Stock​ ของโรงงาน​ ตามแนวคิด​เศรษฐกิจหมุนเวียน​ (Circular​ Economy)​ ซึ่งพนักงานสามารถทำหน้ากากรวมกันแล้วได้ 50 ชิ้น และยังมีที่นำกลับไปทำต่อด้วย

มูลนิธิเอสซีจีขอขอบคุณทุกคนที่ร่วมกันทำหน้ากากผ้าครั้งนี้

มูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนผู้สนับสนุนมอบอุปกรณ์ลาดตระเวน แก่ผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ

เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนส่งมอบอุปกรณ์ลาดตระเวน ได้แก่ ชุดเครื่องแบบลายพราง และเป้เดินป่า จำนวน 3,868 ชุด มูลค่า 3.5 ล้านบาท แก่ผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ โดยมี ธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้รับมอบ ซึ่งรายได้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ผนึกพลังในการสนับสนุนช่วยเหลือการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าผ่านกิจกรรมระดมทุนต่างๆ ที่จัดขึ้นภายใต้โครงการ HANDS FOR HEROES ตลอดปี 2562 ที่ผ่านมา

ทั้งหมดนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ตระหนักถึงความสำคัญของผู้พิทักษ์ป่า และส่งต่อพลังสนับสนุนให้พวกเขามีกำลังใจปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง โดยไม่ต้อง“ห่วงหน้า พะวงหลัง” พร้อมปกป้องผืนป่าแทนคนไทยได้อย่างเต็มที่

เรือนสุขใจ พื้นที่แห่งความสุขของผู้ป่วยและครอบครัว

มูลนิธิเอสซีจีร่วมกับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปรับปรุงพื้นที่โรงพยาบาลให้เป็นมากกว่าพื้นที่รักษาความเจ็บป่วยทางกาย แต่เป็นพื้นที่สร้างความสุขและช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กับทุกคน

ด้วยการร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิเอสซีจี กับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช กลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี โดยหน่วยงาน
Cement and Construction Solution

‘เรือนสุขใจ’ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จ.อุดรธานี คืออาคารพักคอยญาติที่ผ่านการออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์การใช้เวลาในโรงพยาบาลอย่างแท้จริง

เฮือนสุขใจ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช มอบประกาศเกียรติคุณแก่เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี ในพิธีเปิดอาคารพักคอยญาติ ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จ.ขอนแก่น ใน “โครงการเฉลิมราชย์ราชา จิตอาสาพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชทั่วไทย”

“เฮือนสุขใจ” นี้ เป็นอาคารเรือนพักญาติที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะที่ดีของคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ทั้งผู้ป่วย ญาติ ตลอดจนประชาชนทุกคนที่มาใช้บริการ ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม สอดคล้องกับวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่และตรงตามความต้องการอย่างแท้จริงของผู้ใช้อาคาร ทั้งด้านความสุขสบายและการใช้เวลาพักคอยให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างเพื่อสุขภาวะ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มูลนิธิเอสซีจี บ่มเพาะต้นกล้าชุมชน มุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ สร้างโอกาสให้คนหนุ่มสาว ได้กลับไปทำงานรับใช้ถิ่นฐานบ้านเกิด

เพราะเราเชื่อว่าไม่มีใครจะพัฒนาชุมชนได้ดีเท่ากับคนในชุมชน มูลนิธิเอสซีจึงเปิดโอกาสให้คนหนุ่มสาวที่รักในถิ่นฐานบ้านเกิดได้สมัครเข้าร่วมโครงการ “ต้นกล้าชุมชน” โดยนำเสนอโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง ซึ่งมูลนิธิฯ ได้ดำเนินโครงการนี้มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เพื่อมุ่งบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าเหล่านี้ให้แตกหน่อ ผลิใบ และหยั่งรากเติบใหญ่ในชุมชน

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการต้นกล้าชุมชนว่า “ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด พัฒนาชุมชนในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิฯ ได้ให้การสนับสนุนเบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีพี่เลี้ยงนักพัฒนารุ่นพี่ ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงานชุมชนทั้งภาคสนามและภาคทฤษฎี โดยตลอดระยะเวลา 3 ปี มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพน้องๆ ต้นกล้า โดยนอกจากจะเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับน้องๆ ต้นกล้าแล้ว ยังจัดให้น้องๆ ต้นกล้าได้เดินทางไปศึกษาดูงานการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันในอนาคต”

ครั้งนี้มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพต้นกล้าชุมชน โดยได้นำน้องๆ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 -5 และพี่เลี้ยง รวม 60 คน ที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “สามพรานโมเดล” โมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนบนพื้นฐานความเป็นธรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณอรุษ นวราช ประธานกรรมการบริษัทสามพรานริเวอร์ไซด์ จำกัด และเสริมทักษะการเล่าเรื่อง และการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนเป้าหมายของการเล่าเรื่องกับคุณอัมมรา แผ่นดินทอง นักเขียนบทภาพยนตร์และ ซีรีย์ชื่อดัง และเสริมศักยภาพด้านการถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบภาพ และการแต่งภาพแบบง่ายด้วยมือถือกับคุณวิชญ เกียรติยิ่งอังศุลี ตากล้องอิสระ และบล๊อกเกอร์ด้านการถ่ายภาพ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้

อีกทั้งยังได้เดินทางไปศึกษาดูงานศาสตร์พระราชาที่โครงอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ (มูลนิธิชัยพัฒนา) จ.สมุทรสงคราม ที่ได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางและหลักการดำเนินงานที่สำคัญซึ่งเป้าหมายอยู่ที่การมีส่วนร่วม การร่วมมือร่วมใจระหว่างสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาและชาวอัมพวาทุกคนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนอัมพวาให้สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็งมั่นคง

นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานที่สวนมะม่วงหาวมะนาวโห่ลุงศิริ การดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรของเกษตรกรยุคใหม่ ที่ทั้งปลูก และแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้าสารพัดกว่า 30 รายการ ไปจนถึงเปิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ ศิริสมปองคาเฟ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของอัมพวาที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงเยี่ยมชมและอุดหนุนที่ ร้านข้าวใหม่ปลามัน ร้านต้นแบบด้านกิจการเพื่อสังคมแห่งเมืองอัมพวาที่ใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยการต่อยอดใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นควบคู่การอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

ด้านน้องกิ๊บ พจนา ศุภผล ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 บัณฑิตแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยบูรพา เด็กสาวที่เรียนจบแล้วตั้งใจอยากมาทำงานที่บ้านเพื่อรักษาคนในชุมชน จ.ระยอง กล่าวว่า “การมาอบรมครั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่าการเขียนเล่าเรื่องถือเป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะการนำสิ่งที่เราเรียนรู้มาสื่อสารให้คนรับรู้ตลอดจนเข้าใจ เข้าถึงเนื้องานที่เราทำอย่างเช่น การรักษาผู้ป่วย เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับการรักษาด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยให้สื่อออกไปให้คนในสังคมได้รับรู้ กลับไปคราวนี้ตั้งใจแล้วว่าจะกลับไปฝึกฝนด้านงานเขียน โดยเริ่มจากเล่าเรื่องราวต่างๆ ความรู้ใหม่ๆ ที่เราพบเจอ เพราะในสายงานพัฒนาทำให้เราเป็นคนที่ต้องเดินทางตลอด ในยุคออนไลน์ เราเชื่อว่าการสื่อสารผ่านเฟชบุ๊ค หรือกรุ๊ปไลน์ถือเป็นการประขาสัมพันธ์ในสิ่งที่เราทำงานได้ดีทีเดียว ต้องขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ”

ด้านน้องบาส ชยานันต์ ปัญญาคง ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 4 เด็กหนุ่มผู้หวังสืบสานดนตรีพื้นบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ในชุมชน จ.เชียงราย กล่าวเสริมว่า “การได้เรียนรู้และทำ Work Shop เรื่องภาพถ่าย ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและแปลกใหม่มากสำหรับผม ผมสนุกกับการได้ลองถ่ายภาพและใช้โปรแกรมแต่งภาพเบื้องต้น ผมมองว่ามันเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่าย ง่ายต่อกับการนำไปสื่อสาร เช่น ถ่ายภาพการแสดงดนตรีของเด็กๆ เยาวชนที่ผมฝึกสอนแล้วนำมาโพสต์ลงในช่องทางออนไลน์อย่างเพจของกลุ่มได้ ทำให้สังคมรับทราบในวงกว้างถึงความสามารถของเยาวชนในพื้นที่ สำหรับประเด็นการออกไปดูงานนอกสถานที่ ผมมองว่ามีจุดที่น่าสนใจอยู่ที่การหยิบใช้ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตที่มีอยู่แล้ว แล้วนำมาปรับเข้ากับยุคสมัย นำมาสร้างเรื่องราวให้มันเด่นชัดขึ้น ซึ่งทำให้เกิดน่าสนใจเป็นอย่างมาก ผมตั้งใจนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ทั้งหมดไปพัฒนาต่อยอดงานในพื้นที่ของตนเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม”

นอกจากความรู้ที่ทางมูลนิธิฯ ได้เสริมคมเขี้ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้แล้วยังนับเป็นโอกาสอันดีที่ได้พี่ๆนักพัฒนาชุมชนรุ่นใหญ่ที่อุทิศตนมาเป็นพี่เลี้ยง ผู้อภิบาลดูแล หล่อเลี้ยง รักษาเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าแห่งการพัฒนาเหล่านี้ให้เจริญงอกงาม

ป้าแล่ม ธีรดา นามให นายกสมาคมไทบ้าน (บ้านปลาบู่) จ.มหาสารคาม พี่เลี้ยงต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 ฝากให้กำลังในการทำงานถึงน้องๆ ต้นกล้าว่า “น้องๆ ต้นกล้าทุกคนตอนนี้ถือว่าได้เริ่มฝึกฝนลงพื้นที่ในฐานะการเป็นนักพัฒนาชุนชนรุ่นใหม่ ขอให้ทำความเข้าใจในประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อนของตนเองให้ชัดเจน เพื่อง่ายในการนำมาสื่อสารออกมาอย่างนุ่มลึก ถ้าเราเข้าถึงจิตวิญญานทั้งต่อตนเองและผู้อื่นมันจะง่ายต่อการสื่อสาร ขอชื่นชมในความเป็นต้นกล้า เมล็ดพันธุ์ชั้นดีของแผ่นดินในความกล้าอุทิศตนในการทำงานเพื่อสังคม เพราะในการพัฒนา เราก็อยากให้มีคนหลากหลายวัยมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ แล้วเราก็เชื่อมั่นว่าเราต้องได้มุมมองใหม่ๆ ไอเดียดีๆ จากคนรุ่นใหม่แน่นอน ขอเป็นกำลังใจให้ต้นกล้าทุกคนเติบโตอย่างงดงามค่ะ”

คุณสุวิมล กล่าวทิ้งท้ายว่า “มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้าเหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานในบ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเองไป เราหวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะเป็นต้นแบบและจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ที่มีไฟ มีฝัน และพลังในการพัฒนาชุมชนบ้านเกิดของตนเองได้กลับไปทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างอนาคตที่ดีของชุมชนต่อไป”

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

หอมกรุ่นกลิ่นกาแฟ หนังสั้นสร้างแรงบันดาลใจเด็กอาชีวะ

มูลนิธิเอสซีจีเปิดตัวหนังสั้นสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กอาชีวะฝีมือชนที่มีความฝัน ความพยายาม และมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน ผ่านหนังสั้น “ชงด้วยเลิฟ เสิร์ฟด้วยรัก” ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้จากการลงมือ มีฝีมือจากความพยายาม” นำเสนอเรื่องราวของความมุ่งมั่นที่จะทำตามความฝันของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง เพื่อเผยแพร่และเป็นกำลังใจให้กับน้องๆ อาชีวะ รับชมพร้อมกันทั่วประเทศ 19 กรกฎาคมนี้ ทางยูทูปแชนแนล scgfoundation และเฟซบุ๊กแฟนเพจ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ

โครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี จัดงานเปิดตัวหนังสั้นเรื่อง “ชงด้วยเลิฟ เสิร์ฟด้วยรัก” หนังสั้นสร้างแรงบันดาลใจ สะท้อนชีวิตเด็กอาชีวะที่มีความฝันอยากเป็นบาริสต้า และเส้นทางแห่งความฝันนี้เธอต้องพบเจอกับอะไรบ้างต้องคอยติดตามกัน งานในวันนี้ นำโดย คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี และคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ให้การต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน ไม่เพียงการเปิดตัวหนังสั้นเรื่องใหม่จากมูลนิธิเอสซีจีเท่านั้น บนเวทียังมีการเสวนาในหัวข้อ “เรียนรู้จากการลงมือ มีฝีมือจากความพยายาม” โดย น้องเหมียว – สายชล เศรษฐากา ตัวแทนศิษย์เก่าอาชีวะ คุณครูกันญาภัค คล้ายสิงห์โต ตัวแทนคุณครูอาชีวะ คุณอธิชัย แสงทอง ครีเอทีฟฝีมือเยี่ยมผู้คิดหนังสั้นเรื่องนี้ และแขกรับเชิญพิเศษ คุณเดี่ยว – สุริยนต์ อรุณวัฒนกูล ตัวแทนศิลปินดารา เจ้าของกิจการร้านกาแฟที่มีประสบการณ์การทำงานกับน้อง ๆ อาชีวะ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ รวมถึงแง่คิดดีๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจ ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า นับแต่ปี พ.ศ. 2556 มูลนิธิเอสซีจีได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สนใจศึกษาต่อด้านอาชีวะในสายช่างอุตสาหกรรม สายบริการและสายเกษตรกรรม ภายใต้โครงการ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เรียนอาชีวะ ปัจจุบันนี้มูลนิธิฯ ให้ทุนการศึกษาอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ ไปทั้งสิ้น 2,450 ทุน เพราะมูลนิธิฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบุคลากรในสาขาวิชาดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เด็กอาชีวะฝีมือชนเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่เด็กอาชีวะ แต่พวกเขาคือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ

“ในปีนี้ มูลนิธิเอสซีจีต้องการที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของเด็กอาชีวะสายบริการ โดยข้อมูลความต้องการแรงงานอาชีวศึกษาในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) ในช่วงปี 2560-2564 พบว่ากลุ่ม First S-Curve เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีรายได้และการเติบโตดี นอกจากนี้ การแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ ก็เป็นแนวโน้มที่มาแรงในปัจจุบันอีกด้วย นอกจากเรื่องการสร้างกำลังคนในสายอาชีวะด้วยการมอบทุนการศึกษา อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติแล้ว มูลนิธิฯ ยังเดินหน้าเสริมสร้างทัศนคติอันดีของสังคมที่มีต่อผู้เรียนและการเรียนอาชีวะควบคู่กันไป

โดยในปีนี้ มูลนิธิฯ ได้นำเสนอเรื่องราวที่แสดงให้เห็นศักยภาพและความสามารถของน้อง ๆ อาชีวะ ที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนแบบลงมือปฏิบัติ เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้จริง ผ่านหนังสั้นเรื่อง “ชงด้วยเลิฟ เสิร์ฟด้วยรัก” ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้จากการลงมือ มีฝีมือจากความพยายาม” เพื่อส่งเสริมให้สังคมมีมุมมองและทัศนคติที่ดีต่อนักเรียนอาชีวะ มองเห็นถึงความตั้งใจในการเลือกเรียนสายปฏิบัติ และรู้จักสาขาบริการมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจริง ๆ แล้ว สังคมก็มีมุมมองที่ดีต่อนักเรียนอาชีวะมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่หากเมื่อพูดถึงอาชีวศึกษาคนส่วนใหญ่จะนึกถึงแต่สายช่าง และอาจยังไม่รู้จักอาชีวะสายบริการดีเท่าที่ควร ซึ่งในสายนี้น้อง ๆ สามารถที่จะใช้ทักษะฝีมือที่ได้จากการเรียนอาชีวะ ไม่ว่าจะเป็นจากการจัดดอกไม้ การประกอบอาหาร การทำเครื่องดื่ม หรือการแกะสลัก มาเลี้ยงดูตัวเองได้ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ หรือยึดเป็นอาชีพหลักได้ เหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคต” เชาวลิต กล่าว

ด้าน วิทิต คำสระแก้ว ผู้กำกับหนังสั้น “ชงด้วยเลิฟ เสิร์ฟด้วยรัก” เล่าให้ฟังถึงการนำเสนอเนื้อหาของหนังสั้นเรื่องนี้ว่า ภาพจำของคนที่รู้จักเด็กอาชีวะส่วนใหญ่ คือเป็นผู้ชาย เรียนช่างยนต์ ช่างก่อสร้าง แต่ในปีนี้ได้รับโจทย์เบื้องต้นจากมูลนิธิเอสซีจี ที่อยากจะหยิบยกเด็กอาชีวะอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นบุคลากรที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักของประเทศมาพูดถึง เรามีเจตนาที่จะพูดถึงทักษะฝีมือของเด็กอาชีวะ เชิดชูคุณค่าของคนที่ลงมือทำ ตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมให้รู้ว่ายังมีเด็กอาชีวะจำนวนมากที่เป็นเด็กที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ และเป็นสิ่งที่ควรจะถ่ายทอดออกไปให้คนภายนอกได้รับรู้

“มูลนิธิฯ และทีมผู้สร้างมีเจตนาที่ดีเสมอ โดยพื้นฐานตั้งต้นอาจจะเหมือนแค่เล่าเรื่องเด็กอาชีวะทั่วไป แต่ผมว่าหนังทุก ๆ เรื่อง รวมถึงเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงเพียงแค่เด็กอาชีวะ แต่พูดถึงสังคมไทยโดยรวมเลยก็ว่าได้ คือการให้ความสำคัญกับคนที่มีส่วนผสมของความรู้ในเชิงทฤษฎีและเป็นนักปฏิบัติในคน ๆ เดียวกัน ซึ่งมูลนิธิฯ พยายามจะบอกเล่าเรื่องราวเหล่านี้ตลอดเวลา และคิดว่าหนังเรื่องนี้จะช่วยสื่อออกไปได้ ทั้งช่วยสร้างแรงบันดาลใจกับเด็กอาชีวะเบื้องต้นก่อน แล้วก็รวมไปถึงผู้ปกครองหรือญาติพี่น้อง ทำให้เค้ารู้สึกภาคภูมิใจในตัวบุตรหลานของตัวเองที่จบจากสถาบันอาชีวะ และสนับสนุนให้เด็กทำในสิ่งที่รัก ผมเชื่อว่าการเริ่มต้นจากสิ่งที่เรารัก จะทำให้เราพยายามมากกว่าปกติ และความพยายามที่มากกว่าปกติ ก็มักจะทำให้การเติบโตของเราเร็วกว่าปกติ และเมื่อเติบโตเร็วกว่าปกติ ความสำเร็จก็จะมาถึงเร็วกว่าปกติเช่นกัน ดังนั้น ความรักจึงเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญในการทำทุกสิ่งทุกอย่าง และความพยายามในการฝึกฝนตัวเอง ฝึกทักษะฝีมือ และสั่งสมประสบการณ์ ถือเป็นสูตรลับสู่ความสำเร็จ” นายวิทิต กล่าว
ทั้งนี้ หนังสั้น เรื่อง “ชงด้วยเลิฟ เสิร์ฟด้วยรัก” โดยมูลนิธิเอสซีจี เผยแพร่ผ่านทางยูทูปแชนแนล scgfoundation และเฟซบุ๊กแฟนเพจอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ

มูลนิธิเอสซีจี จัดกิจกรรม “Run for Heroes วิ่งเพื่อผู้พิทักษ์ป่า” ปีที่ 2 รวมพลคนรักษ์ป่า นำรายได้จัดซื้ออุปกรณ์ลาดตระเวนเพื่อผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ

นายเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี ร่วมกับ นายเฉลิมชัย ปาปะทา รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมด้วยองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคม จัดกิจกรรม “Run for Heroes วิ่งเพื่อผู้พิทักษ์ป่า” ปีที่ 2 โดยมีเหล่านักวิ่งสายแข็ง ศิลปินดาราจิตอาสา และบุคคลที่มีชื่อเสียงจากหลากหลายวงการ มาร่วมวิ่งเพื่อนำรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายไปจัดซื้อชุดอุปกรณ์ลาดตระเวนให้กับผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมนี้อยู่ภายใต้โครงการ “HANDS FOR HEROES” รวมมือเรา เพื่อคนเฝ้าป่า ปีที่ 2 ซึ่งมูลนิธิเอสซีจีมุ่งจุดประกายให้ทุกภาคส่วนในสังคมตระหนักถึงความสำคัญและภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการปกป้องผืนป่าแทนคนไทยทุกคนของผู้พิทักษ์ป่า และขยายความร่วมมือ ส่งต่อพลังสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าให้มีกำลังใจปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ต้อง ‘ห่วงหน้า พะวงหลัง’ ณ สวนพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

มูลนิธิเอสซีจี ชวนน้องๆ อาชีวะ มาร่วมกิจกรรม “Review Skills เจ๋ง คนเก่งอาชีวะ”

มูลนิธิเอสซีจี ชวนน้องๆ อาชีวะ มาร่วมกิจกรรม “Review Skills เจ๋ง คนเก่งอาชีวะ” มีดีอย่ารอช้า เราท้าให้อวด ชิงทุนการศึกษามูลค่ารวมกว่า 60,000 บาท

โครงการ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” โดยมูลนิธิเอสซีจี ขอเชิญน้องๆ ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับอาชีวศึกษา ในกลุ่มสาขาวิชาคหกรรม อุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั่วประเทศ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแข่งขันโชว์ทักษะและความสามารถ เพียงส่งคลิปวิดีโอ โชว์ทักษะที่คิดว่าสุดคูล ในกิจกรรม “Review Skills เจ๋ง คนเก่งอาชีวะ” เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพความเจ๋งและโดดเด่นของเด็กอาชีวะที่มากด้วยฝีมือ

กติกาคือส่งคลิปวิดีโอความยาวไม่เกิน 5 นาที (MP4) อวดฝีมือแบบจัดเต็มที่คิดว่าโดน ว่าเจ๋ง ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะการชงกาแฟสไตล์บาริสต้า เสน่ห์ปลายจวักสำรับคาวหวาน ทักษะการพูด การนำชมสถานที่ต่างๆ ในแบบฉบับมัคคุเทศก์สุดเชี่ยว หรืองานประดิดประดอย ร้อย จีบ พับ จัดดอกไม้ เป็นต้น เพื่อหาผลงานที่โดนใจกรรมการ โดยผู้ส่งคลิปที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษามูลค่า 15,000 บาท รองชนะเลิศได้รับทุนการศึกษา 10,000 บาท และ 5,000 บาท ตามลำดับ และวิทยาลัยต้นสังกัดยังจะได้รับการสนันสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนซึ่งมีมูลค่าเท่ากับเงินรางวัลที่ได้รับแต่ละรางวัลอีกด้วย

ผู้สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของกิจกรรม “Review Skills เจ๋ง คนเก่งอาชีวะ” ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ: อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ สมัครและส่งผลงาน หรือสอบถามเพิ่มเติม โทร.08-3770-2314, 09-5146-6163 แต่วันนี้ – 24 มิถุนายน ศกนี้

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ ฯ พระราชทานรางวัล และทรงเปิดนิทรรศการ “โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย” โดย มูลนิธิเอสซีจี ครั้งที่ 15 ประจำปี 2561

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานพิธีพระราชทานรางวัล และทรงเปิดนิทรรศการ “โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย” โดย มูลนิธิเอสซีจี ครั้งที่ 15 ประจำปี 2561 แก่ผู้ชนะการประกวดผลงานศิลปะระดับเยาวชน โดยมีนายเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร นางสาวสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วย นางพูลศรี จีบแก้ว ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป และคณะผู้จัดงานร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ

ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2561 จำนวน 6 ราย จากนั้นเสด็จ ฯ ไปยังห้องจัดแสดงนิทรรศการ ทรงตัดแถบแพรเปิดนิทรรศการ พร้อมทอดพระเนตรนิทรรศการ ต่อมาทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ

นายเชาลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจีเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งมั่นเรื่องการพัฒนาคน และตระหนักถึงการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ที่มีความสามารถด้านศิลปะจึงได้ร่วมกับหน่วยงานด้านการศึกษา และการส่งเสริมศิลปะหลายแห่งทั่วประเทศ จัดทำโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย มาตั้งแต่ปี 2547 เพื่อเฟ้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางศิลปะที่โดดเด่นอันเป็นการสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้เกิดความกระตือรือร้นในการสร้างสรรค์ผลงานอันนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของวงการศิลปะไทยให้ก้าวไปสู่การยอมรับในระดับสากล เพราะการสร้างยุวศิลปินถือเป็นการวางรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาวงการศิลปะไทยอย่างยั่งยืนสืบไป”

ซึ่งในปี 2561นี้ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา ศิลปะ 2 มิติ ได้แก่ “จิตใต้สำนึกที่ซ่อนเร้น” โดย นางสาวนิตยา เหิรเมฆ ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา ศิลปะ 3 มิติ ได้แก่ “ลมหายใจของสิ่งมีชีวิตภายใต้การกำหนดของมนุษย์” โดย นายภาราดา ภัทรกุลปรีดา ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา ภาพถ่าย ได้แก่ “สภาวะซ่อนเร้น” ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา ภาพยนตร์ ได้แก่ “เงาสูญสิ้นแสง” โดย นายกฤษดา นาคะเกตุ ผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา วรรณกรรม ได้แก่ “กระดาษคำตอบ” โดย นายชลัช จินตนะ และผลงานที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมสาขา การประพันธ์ดนตรี ได้แก่ “จิ๋งเญ่า” โดย นางสาวชุดาลักษณ์ พินันท์ ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมทั้ง 6 สาขา รับเงินรางวัล 150,000 บาท พร้อมศึกษาดูงานศิลปะระดับโลก รางวัลดีเด่นจำนวน 26 คน รับเงินรางวัล 50,000 บาท และ รางวัล Final List จำนวน 2 คน รับเงินรางวัล 10,000 บาท

ด้าน นายภาราดา ภัทรกุลปรีดา เจ้าของรางวัลยอดเยี่ยม สาขาศิลปะ 3 มิติ กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานว่า ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากการพฤติกรรมการใช้แรงงานสัตว์ของมนุษย์ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และไม่มีที่สิ้นสุด ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้จะไม่ได้ใช้แรงงานเหมือนในอดีต แต่ก็ยังคงหลงเหลือพฤติกรรมต่างๆ อย่างเช่น การล่าม การขัง การฝึกสัตว์ ที่ทำให้เห็นว่ามนุษย์นั้นได้นำความเป็นคนใส่ลงไปในสัตว์
“ผมต้องการสะท้อนสังคมผ่านเรื่องราวของช้าง ที่ต้องเจอกับความทุกข์ยาก ความหดหู่ และความเศร้า จากการถูกควบคุมขัง บังคับใช้แรงงาน ยัดเยียดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ตามความต้องการของคน โดยที่สัตว์เหล่านั้นไม่ได้ต้องการภาระหน้าที่ แต่ก็ไร้หนทางที่จะปฏิเสธ เป็นการสื่อให้ถึงความเจ็บปวดของสัตว์ที่มีลมหายใจ

ด้านนางสาวชุดาลักษณ์ พินันท์ เจ้าของผลงาน จิ๋งเญ่า เจ้าของรางวัลยอดเยี่ยม สาขาการประพันธ์ดนตรี กล่าวว่า ตนได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือเรื่อง เจ้าหงิญ ซึ่งเป็นหนังสือที่เล่าเรื่องของโลกในจินตนาการมาผสมกับโลกความเป็นจริง โดยในเรื่องได้พูดถึงคุณค่า การแสวงหาความสุขในชีวิต การเรียนรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ วิธีการเผชิญหน้ากับปัญหาและอุปสรรค เกิดเป็นแรงสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิธีการใช้เสียงต่างๆของแซกโซโฟน
“คำว่า จิ๋งเญ่า มาจากคำผวนของคำว่า เจ้าหญิง ต้องการเล่นคำเพื่อแสดงให้เห็นว่า เราสามารถมองเห็นสิ่งเดิมในมุมมองใหม่ได้ และสามารถนำสิ่งใหม่เหล่านั้นมาพัฒนาต่อยอดในอนาคต ซึ่งบนประพันธ์ดนตรี จิ๋งเญ่า จึงถือได้ว่าเป็นการนำความสามารถของแซกโซโฟนในรูปแบบต่างๆ มาสร้างสรรค์ดนตรีใหม่ แต่ยังคงความเป็นธรรมชาติของเครื่องดนตรีเดิมอยู่”

ทั้งนี้ นิทรรศการ “โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2561” จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม 2562 เวลา 09.00-16.30 น. ณ อาคาร 6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร

สำหรับการประกวดรางวัลโครงการยุวศิลปินไทย ประจำปี 2562 ได้เปิดโอกาสให้ยุวศิลปินอายุ 18- 25 ปี ได้ใช้จินตนาการ ผสานกับศักยภาพทางศิลปะ ถ่ายทอดความงดงามให้ปรากฏในรูปของผลงานศิลปะสร้างสรรค์จรรโลงสังคม จำนวน 6 สาขา ได้แก่ ศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี ทั้งนี้ จะเปิดรับผลงานวันนี้-กรกฎาคม 2562 โดยสามารถติดตามรายละเอียด ได้ทาง เฟซบุ๊ค: YoungThaiArtistAward หรือ www.scgfoundation.org

โครงการ “HANDS FOR HEROES รวมมือเรา เพื่อคนเฝ้าป่า” มูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนผู้สนับสนุนมอบอุปกรณ์ลาดตระเวน แก่ผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศ

นายเชาวลิต เอกบุตร (ที่ 4 จากซ้าย) กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี เป็นตัวแทนส่งมอบอุปกรณ์ลาดตระเวน ได้แก่ ชุดเครื่องแบบลายพราง และเป้เดินป่า จำนวน 3,635 ชุด มูลค่า 3.7 ล้านบาท แก่ผู้พิทักษ์ป่า ทั่วประเทศที่สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักงานอุทยานแห่งขาติ และสำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุม ไฟป่า โดยมี นายธัญญา เนติธรรมกุล (ที่ 5 จากซ้าย) อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้รับมอบ ณ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งรายได้ในการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สื่อมวลชน และภาคประชาชน ที่ผนึกพลังในการสนับสนุนช่วยเหลือการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าผ่านกิจกรรมระดมทุนต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอดปี 2561 ที่ผ่านมา ได้แก่กิจกรรม Paint for Heroes กิจกรรม Run for Heroes เดิน-วิ่งเพื่อผู้พิทักษ์ป่า และกิจกรรม Song for Heroes เวทีนี้เพื่อผู้พิทักษ์ป่า รวมทั้งการสนับสนุนเสื้อโครงการและเสื้อประมูลจากกิจกรรม Paint for Heroes โดยรายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ลาดตระเวนมอบผู้พิทักษ์ป่า

ทั้งหมดนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงพลังแห่งความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่ตระหนักถึงความสำคัญของผู้พิทักษ์ป่า และส่งต่อพลังสนับสนุนให้พวกเขามีกำลังใจปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง โดยไม่ต้อง “ห่วงหน้า พะวงหลัง” พร้อมปกป้องผืนป่าแทนคนไทยได้อย่างเต็มที่

ในปี 2562 นี้ มูลนิธิฯ ยังคงเดินหน้าโครงการ “HANDS FOR HEROES รวมมือเรา เพื่อคนเฝ้าป่า” เพื่อขยายความร่วมมือไปยังทุกๆ ภาคส่วนให้มารวมพลังกัน และกระจายความช่วยเหลือไปยังผู้พิทักษ์ป่าให้ได้มากที่สุดผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้นตลอดปี 2562 นี้ อาทิ Run for Heroes II และ Bike for Heroes

สำหรับผู้สนใจร่วมส่งต่อพลังใจเพื่อคนเฝ้าป่า สามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ “HANDS FOR HEROES” ผ่านแฟนเพจ www.facebook.com/handsforheroes หรือร่วมสมทบทุน เพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้พิทักษ์ป่าได้ที่ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชี : แฮนดส์ ฟอร์ ฮีโร่ส์ โดยมูลนิธิเอสซีจี เลขที่บัญชี 468-0-71691-0

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ มูลนิธิเอสซีจี โทร 0 2586 4177 หรือ 0 2586 5506

ลำดับรายชื่อจากซ้าย-ขวา

  1. คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ประธานกรรมการบริษัททีวีบูรพา จำกัด
  2. คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี
  3. คุณวรพล เจนนภา กรรมการและเลขานุการมูลนิธิเอสซีจี
  4. คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี
  5. คุณธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  6. คุณเฉลิมชัย ปาปะทา รองอธิบดีกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  7. คุณจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  8. คุณสว่าง กองอินทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานกลาง

เปิดบ้านต้อนรับอาชีวะรุ่นเยาว์ สู่ครอบครัวมูลนิธิเอสซีจี กับโครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ

ด้วยภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยกำลังฟื้นตัวและขยายตัวเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลให้ความต้องการทรัพยากรคนที่มีศักยภาพและมีทักษะฝีมือ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ จากผลดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ประจำเดือน พ.ค. 2561 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พบว่ามีอัตราขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 3.8% ทำให้ความต้องการกำลังคนสายอาชีพในประเทศเพิ่มจำนวนมากขึ้น มูลนิธิเอสซีจีซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการสร้างคนด้วยการศึกษา โดยเฉพาะสายอาชีวะเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ได้มอบทุนการศึกษา “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งในปีนี้มีนักเรียนทุนฯ ทั้งสิ้น 400 คน ทั้งในสายช่างอุตสาหกรรม สายบริการและสายเกษตรกรรมจากทั่วประเทศ

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า โครงการ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กไทยได้มีโอกาสศึกษาต่อในสายอาชีพ พร้อมพัฒนาสู่การเป็น ‘อาชีวะฝีมือชน’ ที่ทั้งเก่งและดี โดยในประเทศไทยเองก็มีสถาบันอาชีวศึกษาชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งสามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพสำหรับช่วยพัฒนาประเทศมากมาย มูลนิธิเอสซีจีได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการมอบโอกาสดีๆ ให้แก่น้องๆ ที่สนใจการเรียนอาชีวะ โดยมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ชั้น ม.3 ที่สามารถสอบเข้าศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในสาขาช่างอุตสาหกรรม สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สาขาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ และสาขาเกษตรกรรม ซึ่งทุนนี้ไม่มีภาระผูกพันต้องใช้คืน และเป็นทุนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

“สำหรับกิจกรรมปฐมนิเทศนี้ มูลนิธิฯ จัดขึ้นเพื่อต้อนรับน้องๆ สู่ครอบครัวมูลนิธิเอสซีจีอย่างเป็นทางการ และยังเป็นการเปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักกับเพื่อนจากต่างสถาบัน รวมถึงยังมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดและมุมมองที่เป็นประโยชน์จากรุ่นพี่อาชีวะฝีมือชน คนต้นแบบ ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นการเรียน และการใช้ชีวิตในสถานศึกษา รวมถึงข้อคิดดีๆ ที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเข้าร่วมโครงการฯ และการเรียนของน้องๆ ต่อไป” สุวิมล กล่าว

ตัวแทนน้องนักเรียนทุนฯ รุ่นใหม่อย่าง น้องดล นายธนดล สุวรรณโคตร นักเรียนระดับชั้น ปวช.1 สาขาก่อสร้างโยธา วิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า “ผมสนใจการเรียนสายอาชีพมานานแล้ว ประกอบกับความต้องการของครอบครัวด้วยที่อยากให้ผมเรียนสายอาชีพ เพราะการเรียนในสายนี้จะทำให้ผมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติภายในห้องเรียน อีกทั้งสามารถเรียนไปด้วยและประกอบอาชีพเพื่อหาเงินมาช่วยเลี้ยงดูครอบครัวของผมไปด้วย”

“หลังจากที่ได้ทราบว่าผมได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี ผมรู้สึกดีใจมากแทบจะเป็นลม เพราะนี่ถือเป็นการแบ่งเบาค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวผม อีกทั้งยังช่วยสานฝันให้ผมได้เรียนต่อในสิ่งที่ผมใฝ่ฝันอีกด้วย ซึ่งถ้าไม่ได้ทุนนี้ผมอาจจะต้องหยุดเรียนหนังสือเพื่อช่วยงานในครอบครัว แต่ตอนนี้ผมสามารถเรียนไปด้วยและทำงานควบคู่กันได้ เพื่อศึกษาหาความรู้ พร้อมเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพื่อทำเป้าหมายในอนาคตของผมให้สำเร็จ” น้องดล กล่าว

ไม่ต่างจากน้องกิ๊ฟ นางสาวนภารัตน์ สารศิริ นักเรียนระดับชั้น ปวช.1 สาขาการโรงแรม วิทยาลัยเทคโนโลยีพังโคนพณิชยการ จ.สกลนคร บอกเล่าถึงความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมว่า ตนเองมีความคิดว่าการเรียนสายอาชีพนั้นจะทำให้มีสายงานที่มั่นคง เนื่องจากสายอาชีพจะเน้นการเรียนภาคปฏิบัติกัน ซึ่งส่วนตัวตนเองอยากเรียนด้านการโรงแรม และตั้งใจที่จะทำงานด้านโรงแรม นอกจากนี้การได้เริ่มเรียนตั้งแต่ระดับชั้น ปวช. จะทำให้เกิดทักษะความรู้ ความชำนาญอย่างรวดเร็ว สามารถหาเลี้ยงชีพและประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

“รู้สึกดีใจมากที่ได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอสซีจี การที่หนูได้มาเข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศรับน้องใหม่ในครั้งนี้ ทำให้หนูได้รับความรู้ในหลายด้าน และยังได้เพื่อนใหม่จากสถาบันอื่น ซึ่งการที่ได้รับทุนในครั้งนี้ ทำให้หนูได้รับโอกาสทางการศึกษา ให้หนูได้เรียนการโรงแรมอย่างที่ฝันไว้ อีกทั้งได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากรุ่นพี่ ทำให้เรามีกำลังใจในการเรียนมากขึ้น” น้องกิ๊ฟ กล่าว

ปิดท้ายที่ประธานรุ่นคนล่าสุด อย่างน้องบอล นายชนาธิป มั่นคง นักเรียนระดับชั้น ปวช.1 สาขาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง จ.อ่างทอง กล่าวถึงการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ตนเองได้เลือกเรียนต่อในสายอาชีวะ เพราะเชื่อว่าการเรียนสายนี้จะทำให้ได้ฝึกฝนจากประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงๆ และสามารถต่อยอดในการประกอบอาชีพได้เลยทันทีหลังจากเรียนจบ ซึ่งตนเองมีความชอบและรักในการทำอาหารอยู่ก่อนแล้ว จึงสนใจที่จะเรียนในสาขานี้ เพื่อนำความรู้ที่ได้นำไปประกอบอาชีพ และประกอบธุรกิจของตนเองได้ในอนาคต

“ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวมูลนิธิเอสซีจี แถมยังได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน ๆ ให้เป็นประธานรุ่นอีกด้วย และผมยังได้รับมุมมองใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตภายในรั้วอาชีวะจากรุ่นพี่ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้ผมมีแรงผลักดันรวมถึงแรงบันดาลใจในการมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อที่จะทำความฝันของผมให้เป็นจริง พร้อมกับนำแรงบันดาลใจที่ได้รับ รวมถึงความรู้จากการเรียนไปช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้อีกด้วยครับ” น้องบอล กล่าว

เพราะประเทศไทยยังต้องการ ‘อาชีวะฝีมือชน’ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0 และรอน้องๆ อาชีวะเหล่านี้ เติบโตเป็นคนเก่งและดี เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปในอนาคต

“มูลนิธิเอสซีจี” ส่งต่อพลังใจสู่ “ผู้พิทักษ์ป่า” มอบทุนการศึกษาบุตร ลดความห่วงหน้า พะวงหลัง

“ผู้พิทักษ์ป่า” อาชีพที่ใครหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าเขาเหล่านี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางความเสี่ยงและอันตรายมากเพียงใด เพื่อดูแลเเละปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของประเทศให้คงอยู่

จากข้อมูลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประเทศไทยมีผืนป่ากว่า 102 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศไทย อยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าจำนวน 20,000 คน ซึ่งหมายถึง พื้นที่ป่ากว่า 5,000 ไร่ อยู่ภายใต้การดูแลของผู้พิทักษ์ป่าเพียง 1 คนเท่านั้น

เบื้องหน้า คือ ผืนป่าอันกว้างใหญ่ เบื้องหลัง คือ ครอบครัวที่ห่วงใย แม้จะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักหน่วง บางครั้งอาจจะต้องเผชิญกับขบวนการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ โรคภัยไข้เจ็บสารพัด หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติและความดุร้ายของสัตว์ป่าที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการทำหน้าที่ไปพร้อมกับความกังวลว่าใครจะดูแลลูกและครอบครัว แต่เขาเหล่านี้ยังคงเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฮีโร่อย่างเข้มแข็ง แม้จะตกอยู่ในภาวะ “ห่วงหน้า พะวงหลัง” ก็ตาม

เพื่อตอบแทนความทุ่มเท เสียสละทั้งเเรงกายเเรงใจของผู้พิทักษ์ป่า “มูลนิธิเอสซีจี” จึงมอบทุนการศึกษาเเก่บุตรผู้พิทักษ์ป่า ภายใต้ โครงการ “Sharing the Dream Scholarship โดยมูลนิธิเอสซีจี” ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2558 เป็นปีแรก จนถึงปัจจุบันได้มอบทุนเเก่บุตรผู้พิทักษ์ป่าไปแล้ว 366 ทุน ใน 152 พื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งในปี 2561 นี้ นับเป็นปีที่ 4 ได้มอบทุนแก่บุตรผู้พิทักษ์ป่าอีกจำนวน 160 ทุน ใน 92 พื้นที่อนุรักษ์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้พิทักษ์ป่าให้ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถโดยไม่ต้อง ‘ห่วงหน้า พะวงหลัง’ ต่อไป

“ทุนการศึกษาที่บุตรของผู้พิทักษ์ป่าได้รับนั้นเป็นทุนให้เปล่า ไม่มีภาระผูกพันต้องใช้คืน มูลนิธิเอสซีจีจะมอบให้ต่อเนื่องไปจนจบการศึกษา เรียกได้ว่าช่วยลดความกังวลให้กับผู้พิทักษ์ป่า ไม่ต้องห่วงหน้า พะวงหลัง สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่” ขจรเดช เเสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าว

“ถาวร ชูกรณ์” พนักงานพิทักษ์ป่า สำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่า เล่าว่า จุดเริ่มต้นชีวิตผู้พิทักษ์ป่าของเขาเริ่มขึ้นเมื่อปี 2550 ในตำแหน่งพนักงานจ้างเหมาชุดปฏิบัติการพิเศษดับไฟป่า ในขณะนั้นทำหน้าที่ลาดตระเวนตรวจหาไฟป่าและควบคุมไฟป่า ตลอดระยะเวลา 7 ปี ปฏิบัติหน้าที่ลาดตระเวนด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเทมาโดยตลอด จนกระทั่งได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งพนักงานพิทักษ์ป่า สำนักป้องกัน ปราบปรามและควบคุมไฟป่าในปี 2557

ถาวรต้องปฏิบัติงานในพื้นยากลำบาก หน้าที่หลักของเขาคือการทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันไฟไม่ให้ลุกลามต่อเนื่อง และเมื่อเกิดไฟป่าขึ้น ต้องควบคุมไฟและดับไฟให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่บนความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่เขาก็ยังยืนหยัดที่จะปฏิบัติหน้าที่นี้ เพราะต้องการจะปกป้องผืนป่าและทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังได้สัมผัสและชื่นชมต่อไป

11 ปี กับอาชีพผู้พิทักษ์ป่า ภารกิจที่ถาวรภูมิใจมากที่สุดคือ การได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดับไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุ จ. นครศรีธรรมราช เมื่อปี 2555 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ไฟป่ามีความรุนแรง ลุกโหมกินพื้นที่กว่าพันไร่ เขาต้องแบกเครื่องสูบน้ำเข้าไปในป่าเป็นระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตรเพื่อดับไฟป่า และต้องอัดฉีดน้ำลงไปในดิน ให้น้ำซึมลงไปให้ลึกพอที่จะดับไฟได้ การดับไฟป่าในครั้งนี้ทำให้ถาวรต้องใช้ชีวิตกินนอนอยู่ในป่านานกว่า 2 เดือน เลยทีเดียว

สิ่งที่ถาวรห่วงอยู่เสมอนอกเหนือจากการดูแลป่า คือการศึกษาของลูก

“รายได้ของผมตอนนี้ไม่เพียงพอที่จะส่งลูกๆ เรียน ผมต้องทำงานกรีดยางเป็นอาชีพเสริม เพื่อสานฝันของพวกเขาให้เป็นจริง พอผมรู้ว่ามูลนิธิเอสซีจีให้ทุนการศึกษาลูกผม ทำให้ผมหายห่วง และมีกำลังใจทำงานต่อไป และบอกลูกเสมอว่าได้ทุนเรียนแล้ว ขอให้ตั้งใจเรียน เรียนให้เก่งๆ เมื่อโตขึ้นจะได้เป็นพยาบาลอย่างที่ลูกตั้งใจไว้” ถาวร กล่าว

ด.ญ.ทักษิณา ชูกรณ์ หรือ “น้องวิว” บุตรสาวคนโตของถาวร ปัจจุบันอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช หนึ่งในผู้รับทุนการศึกษาบุตรผู้พิทักษ์ป่า กล่าวว่า รู้สึกดีใจและตื้นตันใจที่มีคนมองเห็นความสำคัญของพ่อ ภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นลูกของพ่อ ก่อนที่พ่อจะออกไปทำงานในป่าแต่ละครั้งจะยกมือไหว้ แม้จะไม่แสดงออกมาเป็นคำพูดว่ารักพ่อมากแค่ไหน แต่เมื่อพ่อกลับมาบ้านทุกครั้ง จะวิ่งเข้าไปกอดพ่อ ดีใจที่พ่อกลับมาบ้านอย่างปลอดภัยทุกครั้ง

สำหรับความรู้สึกที่ได้รับทุนการศึกษาในครั้งนี้ รู้สึกดีใจและขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่เล็งเห็นความสำคัญของผู้พิทักษ์ป่า ตนเองในฐานะลูกจะตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด ปัจจุบันเกรดเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3.5 และมีความใฝ่ฝันที่จะเป็นพยาบาล เพื่อจะได้ดูแลพ่อและแม่ในอนาคต

“เฉลิม ปิดกลาง” เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.ปราจีนบุรี บอกเล่าถึงการทำหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าตลอด 11 ปีที่ผ่านมา ว่า ตนเองเป็นชาว ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา มีครอบครัวและลูก 2 คน เริ่มรับราชการเมื่อปี 2550 ในตำแหน่งพนักงานจ้างเหมาที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 5 ปี จึงได้ย้ายมารับตำแหน่งที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ต่อมาในปี 2557 ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการในตำแหน่งผู้พิทักษ์ป่า

ตลอดอายุการทำงานกว่า 11 ปี เฉลิมเป็นผู้เสียสละและทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงานอย่างเต็มที่มาโดยตลอด เหตุการณ์ที่ตอกย้ำความเสียสละในการทำงานของเขาคือ การกระโดดลงจากรถยนต์กระบะ เข้าขวางรถยนต์ของกลุ่มขบวนการลักลอบตัดและลำเลียงไม้พะยูงที่ ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อสกัดกั้นและจับกุม ตัวเฉลิมถูกรถยนต์คันดังกล่าวพุ่งชนจนร่างกระเด็น ส่วนรถยนต์คันที่พุ่งชนก็เร่งเครื่องหลบหนีไป แต่ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็สามารถติดตามจับกุมกลุ่มผู้ร่วมขบวนการได้ 2 คน พร้อมรถยนต์กระบะ 1 คัน และไม้พะยูงแปรรูปซุกซ่อนอำพราง จำนวน 8 แผ่น จากเหตุการณ์นี้ทำให้เขาเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ จนเพื่อนๆ และผู้บังคับบัญชาตั้งฉายาให้เป็น “เฉลิม คนบิน”

อีกสิ่งหนึ่งที่เฉลิมไม่เคยบกพร่อง คือ หน้าที่ของหัวหน้าครอบครัว เขาต้องดูแลลูก 2 คนและภรรยา นับเป็นภาระที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน

“เดือนหนึ่งๆ ผมเข้าป่า 26 วัน มีเวลาให้ครอบครัวแค่ 4 วัน ผมคิดถึงและห่วงพวกเขามาก ลูกๆ ก็ห่วงผมเช่นกัน เวลาที่ผมออกไปลาดตระเวนในป่าแต่ละครั้ง เขากลัวผมจะไม่ได้กลับมา เวลาที่ลูกป่วย เราเป็นพ่อเขาแท้ๆกลับไม่มีเวลาไปดูแลลูก เคยคิดถอดใจกับอาชีพนี้หลายครั้ง แต่ทุกครั้งก็ได้รับกำลังใจที่ดีจากภรรยา ผมจึงบอกกับลูกๆ เสมอว่ามันเป็นหน้าที่ที่พ่อต้องทำ ถ้าไม่ทำใครจะดูแลป่า ซึ่งผมรู้สึกดีใจมากที่มูลนิธิเอสซีจีเข้ามาช่วยสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับลูก ต่อไปนี้ไม่ต้องห่วงคนข้างหลัง สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่ ผมสอนลูกเสมอให้ทำหน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด อยากเห็นลูกได้เรียนสูงๆ มีอนาคตที่ดี” เฉลิม กล่าว

“โตขึ้นผมจะเป็นผู้พิทักษ์ป่าแบบพ่อ” นี่คือสิ่งที่ “น้องฟลุ๊ค” ด.ช วัชรชัย เพรชสาโย อายุ 12 ปี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านซับใต้ จ.นครราชสีมา บุตรชายของ “เฉลิม คนบิน” หนึ่งในผู้รับทุนการศึกษาบุตรผู้พิทักษ์ป่า บอกถึงความมุ่งมั่นกับอาชีพที่เขาใฝ่ฝันในอนาคต นั่นคือการเดินตามรอยพ่อ ในอาชีพ “ผู้พิทักษ์ป่า” ด้วยความตั้งใจที่จะดูแลผืนป่า ซึ่งสิ่งที่น้องฟลุ๊คบอกมานั้น ทำเอาเฉลิม ผู้เป็นพ่อได้ฟังถึงกับภาคภูมิใจและตื้นตันใจอยู่ไม่น้อย และดีใจที่ลูกของตนมีความกล้าหาญและอยากสานต่ออาชีพของพ่อ ซึ่งเป็นอาชีพที่หลายคนมองว่าเสี่ยงและไม่มีใครนึกถึง

แม้จะเป็นอาชีพที่มุ่งมั่นในอนาคต แต่ปัจจุบัน “น้องฟลุ๊ค” บอกว่าสิ่งที่ตนสามารถทำได้นั่นคือ การตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและทำหน้าที่ของตนเองในขณะนี้ให้ดีที่สุด ว่างจากการเรียน สิ่งที่จะทำเสมอคือการแบ่งเบางานบ้านเช่น ช่วยยายล้างจาน และเข้าป่าเลี้ยงวัวให้ตา “น้องฟลุ๊ค” ขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่มอบโอกาสที่ดีให้ ทำให้เขารู้สึกว่ายังมีคนมองเห็นคุณค่าของพ่อ “ฮีโร่” ที่เสียสละทำหน้าที่ในการดูแลผืนป่าที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ

“ยอด วงศ์ดวงคำ” เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี เล่าถึงพื้นเพเดิมว่าเกิดที่ อ.ห้วยคต ต.ทองหลาง จ.อุทัยธานี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ จึงตัดสินใจสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ลาดตระเวน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งในปี 2547 ต่อมาในปี 2555 ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทับลาน ด้วยการออกปฏิบัติการลาดตระเวน ตรวจปราบปราม ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าและการลักลอบล่าสัตว์ป่า นับเป็นงานที่เสี่ยงต่อชีวิต ทุกครั้งที่ยอดปฏิบัติงานลาดตระเวน เขาจับกุมผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่าได้เสมอ จึงทำให้อัตราผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่าลดลงอย่างต่อเนื่อง นับเป็นผลงานแห่งความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสัตว์ป่า

“ผมไม่เคยกลัว หรือ ท้อ ที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อต้องการปกป้องผืนป่า” นี่คือสิ่งที่ยอดกล่าว และสิ่งที่ตอกย้ำคำพูดของยอดได้ดี นั่นคือเหตุปะทะกับกลุ่มพรานป่าลักลอบล่าสัตว์เมื่อปี 2556 ซึ่งครั้งนั้นทำให้ยอดโดนกระสุนแฉลบเข้าบริเวณคางได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 2 ปี หลังจากหายเป็นปกติ ยอดได้กลับมาปฏิบัติงานที่เขารักอีกครั้ง เหตุการณ์ในวันนั้นไม่ทำให้เขาคิดที่จะทิ้งอาชีพ แต่กลับเป็นแรงผลักดันให้เขาปฏิบัติงานต่อไป เพราะคำว่ารักในอาชีพนี้

“เวลาผมไปทำงาน ผมต้องเข้าป่าอย่างน้อยเดือนละ 15 วัน ผมเป็นห่วงและคิดถึงลูกๆ มาก เคยคิดหลายครั้งว่าถ้าหากผมเป็นอะไรขึ้นมาใครจะดูแลครอบครัวของผมโดยเฉพาะลูกๆ แต่พอรู้ว่ามูลนิธิเอสซีจีให้ทุนการศึกษาลูกผม ทำให้ผมหายห่วงและอุ่นใจ ที่อย่างน้อยยังมีคนเห็นคุณค่าและยื่นมือมาช่วยดูแลอนาคตของลูก” ยอด กล่าว
15 วันที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า กับ 10 วันที่ประจำการที่หน่วย เหลือเพียง 5 วันเท่านั้นที่ได้กลับมาหาครอบครัว แม้จะเป็นเวลาอันน้อยนิด แต่ยอดก็ใช้เวลาทุกนาทีอย่างคุ้มค่า ด้วยการปลูกฝังให้ลูกๆ รักสัตว์ รักป่าเหมือนตนเองอยู่เสมอ และหวังว่าพวกเขาจะมีอนาคตที่ดี ท่ามกลางภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่วัยชรา และดูแลลูกอีก 2 คน การที่ลูกได้รับทุนการศึกษาบุตรผู้พิทักษ์ป่าที่มูลนิธิเอสซีมอบให้ นับเป็นพลังใจอันสำคัญที่ทำให้เขายังคงยืนหยัดในการเป็นผู้พิทักษ์ป่าต่อไป ไม่ต้องห่วงหน้า พะวงหลังอย่างที่เคยเป็น

“ทุกครั้งที่พ่อเสร็จสิ้นจากภารกิจลาดตระเวนในป่ากลับมาบ้าน หนูจะใช้เวลากับพ่อเสมอ พ่อจะชอบสอนหนูทำการบ้าน ให้หนูอ่านหนังสือให้ฟังทุกเช้าและก่อนเข้านอน ดีใจที่พ่อกลับมาบ้าน เวลาพ่อเข้าป่าจะบอกพ่อทุกครั้งว่า ขอให้พ่อกลับมาบ้านอย่างปลอดภัยนะ หนูรอพ่ออยู่” ด.ญ.อรจิรา วงศ์ดวงดำ “น้องโฟร์” บุตรสาวของยอด หนึ่งในผู้รับทุนการศึกษาบุตรผู้พิทักษ์ป่า กล่าวถึงความรู้สึกเมื่อเวลาพ่อออกไปปฏิบัติภารกิจในฐานะ “ผู้พิทักษ์ป่า”

ปัจจุบัน น้องโฟร์ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความฝันอยากเป็นคุณหมอในอนาคต เมื่อมูลนิธิเอสซีจี มอบทุนการศึกษาให้ตน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าเล่าเรียน ทุกวันนี้ตนพยายามตั้งใจเรียน ทำหน้าที่ของความเป็นลูกอย่างดีที่สุด ให้สมกับโอกาสดีๆ ที่มูลนิธิเอสซีจีหยิบยื่นให้ แม้ว่าจะได้ใช้เวลาอยู่กับพ่อน้อยกว่าเด็กๆ คนอื่นเขา แต่ตนก็ไม่เคยรู้สึกน้อยใจ กลับรู้สึกภูมิใจมากกว่าที่มีพ่อเป็นฮีโร่

“มูลนิธิเอสซีจี” ส่งหนังสั้น “Believe” สื่อกำลังใจถึง “ครูอาชีวะ” อนาคตที่มองหา เริ่มจาก ‘ครู’ ที่มองเห็น

มูลนิธิเอสซีจีส่งหนังสั้นเชิดชูครูอาชีวะ หวังสร้างความเข้าใจของคนในสังคมให้เล็งเห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของ “ครูอาชีวะ” ผ่านหนังสั้น “Believe” ภายใต้แนวคิด “อนาคตที่มองหา เริ่มจากครู ที่มองเห็น” เพื่อเผยแพร่ให้สังคมได้เห็นอีกแง่มุมที่งดงามของบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังของเหล่าอาชีวะฝีมือชนคุณภาพ รับชมพร้อมกันทั่วประเทศ 17 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป ทางยูทูปแชนแนล scgfoundation และเฟซบุ๊กแฟนเพจ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ

โครงการอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี จัดงานเปิดตัวหนังสั้นเรื่อง “Believe” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ผ่านมุมมองสายตาของครูอาชีวะ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเชิดชู และเป็นกำลังใจให้กับครูอาชีวะในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญในการหล่อหลอมเยาวชน ให้กลายเป็นอาชีวะฝีมือชนที่มีคุณภาพ เป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศต้องเตรียมพร้อมก้าวเข้าสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก ขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการบริหาร และสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ให้การต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน ไม่เพียงการเปิดตัวหนังสั้นเรื่องใหม่จากมูลนิธิเอสซีจีเท่านั้น บนเวทียังมีการเสวนาในหัวข้อ “อนาคตที่มองหา เริ่มจากครูที่มองเห็น” โดย ดร.มงคลชัย สมอุดร ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาเกษตรกรรมและประมง และศิษย์เก่าอาชีวะอย่าง อาร์ต – พศุตม์ บานแย้ม ร่วมด้วยตัวแทนนักเรียน และคุณครูอาชีวะ มาพูดคุยถึงหนังสั้น และแบ่งปันเรื่องราว ประสบการณ์ในฐานะครูและศิษย์อาชีวะ พร้อมทั้งการจัดนิทรรศการเรื่องราวของครูอาชีวะในดวงใจ ที่นักเรียนอาชีวะส่งเข้ามาจากทั่วประเทศ รวมถึงกิจกรรมพิเศษสุดประทับใจต่าง ๆ ณ ลานเอเทรียม 1 ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์

นายขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า นับแต่ปี พ.ศ. 2556 มูลนิธิเอสซีจีได้มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนที่สนใจศึกษาต่อด้านอาชีวะในสายช่างอุตสาหกรรม สายบริการและสายเกษตรกรรมภายใต้ โครงการ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผู้เรียนอาชีวะและเพื่อเสริมสร้างทัศนคติอันดีของสังคมที่มีต่อผู้เรียนและการเรียนอาชีวะ ด้วยมูลนิธิฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบุคลากรในสาขาวิชาดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 เนื่องจากมูลนิธิฯ ตระหนักดีว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่เด็กอาชีวะ แต่พวกเขาคือฟันเฟืองที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ปัจจุบันนี้มูลนิธิฯ มีนักเรียนทุนอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ กว่า 1,500 คนทั่วประเทศ

“ในปีนี้ มูลนิธิฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนอาชีวะ ด้วยการนำเสนอและถ่ายทอดเรื่องราวรวมทั้งแง่คิดผ่านมุมมองของ “ครูอาชีวะ” สืบเนื่องจากพันธกิจหลักของมูลนิธิฯ ว่าด้วยการพัฒนาคน โดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชน เพราะมูลนิธิเอสซีจี ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’ จึง ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของครู’ บุคคลผู้อยู่เบื้องหลัง ซึ่งมองเห็นศิษย์แตกต่างจากมุมมองของคนในสังคม โดยเชื่อว่าเด็กเหล่านี้ แท้จริงแล้วมีความสามารถมากมายที่รอการค้นพบ หลายครั้งที่เด็กๆ อาจจะยังไม่รู้ตัว แต่ครูกลับมองเห็นสิ่งเหล่านั้นได้ชัดเจน จึงทำให้ครูมีบทบาทสำคัญใน การสั่งสอนและถ่ายทอดประสบการณ์ เพื่อหลอมให้พวกเขากลายเป็นอาชีวะฝีมือชนที่พร้อมพัฒนาประเทศต่อไป เป็นที่มาของหนังสั้นเรื่อง “Believe” ภายใต้แนวคิด “อนาคตที่มองหา เริ่มจากครูที่มองเห็น” เชื่อว่าหนังสั้นเรื่องนี้ จะเป็นพลังตอกย้ำให้ผู้ชมตระหนักถึงความสำคัญของครูอาชีวะ ในขณะเดียวกัน หนังสั้นเรื่องนี้จะเป็นการส่งกำลังใจ และคำขอบคุณไปยังครูอาชีวะ เพื่อให้ครูอาชีวะได้เกิดความภาคภูมิใจ เล็งเห็นคุณค่าในตัวเอง และไม่หยุดพัฒนาตัวเองเพื่อพัฒนาเด็กต่อไป” นายขจรเดช กล่าว

ด้าน นายวิทิต คำสระแก้ว ผู้กำกับหนังสั้น “Believe” เล่าให้ฟังถึงการนำเสนอเนื้อหาของหนังสั้นเรื่องนี้ ว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก “ครู” ผู้สร้างเด็กอาชีวะ โดยมองว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่สำคัญ แต่กลับไม่ค่อยมีคนอยากเป็นครู เพราะภาพจำของหลายคนในสังคมที่มีต่อครู มีอยู่ 2 อย่าง คือผู้เสียสละและเป็นเรือจ้างที่เหนื่อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ครูกลับเป็นผู้ที่สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กได้ โดยการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการสอนเพื่อผลักดันให้เด็กมีอนาคตที่ดี สอนด้วยความรัก สอนด้วยพลังมุ่งมั่นที่อยากจะปั้นเด็กให้ดี

“มูลนิธิฯ และทีมผู้สร้างได้หารือกันตลอดกว่าจะมาเป็นหนังสั้นเรื่องนี้ พวกเรามองว่าเด็กอาชีวะก็เหมือนกับเด็กทั่วไป แต่สังคมไทยติดภาพที่มองเด็กอาชีวะว่าเป็นเด็กเกเร แต่จริง ๆ แล้วเขาเป็นแค่เด็กคนหนึ่ง ที่เลือกเรียนในสิ่งที่เน้นการลงมือทำ และรักครูที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชมากกว่าเป็นครู มีความเข้าใจในตัวพวกเขา หนังตั้งใจจะสื่อสารให้คนในสังคมเห็นว่า จริงๆแล้วในโรงเรียนอาชีวะ มีครูที่พร้อมจะผลักดันและคอยสนับสนุนเด็กอีกเยอะมาก ครูที่มองเห็นอนาคต ของเด็กและคอยพัฒนาให้พวกเขาเติบโตไปเป็นคนที่มีคุณภาพ

นอกจากนี้ ในฐานะผู้กำกับ เราจะทำหนังรูปแบบไหนก็ได้ แต่สำหรับผมหนังเป็นมากกว่าความบันเทิง ผมมองว่าหนังที่มีเนื้อหาที่พูดถึงสังคม จะค่อยๆผลักดันให้คนดูคิดและตั้งคำถาม ใคร่ครวญมากขึ้น ถามตัวเองมากขึ้นว่า เราจะสะท้อนและเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นอย่างไรจากสิ่งที่เราทำ เพราะหนังแบบนี้ไม่ใช่การขายของ แต่เป็นการนำเสนอเรื่องราวและคุณค่าบางอย่างให้สังคมได้รู้ เราเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เราช่วยกันทำทีละเล็กทีละน้อยให้มันดีขึ้นได้” นายวิทิต กล่าว

ทั้งนี้ หนังสั้น เรื่อง “Believe” โดยมูลนิธิเอสซีจี จะเริ่มเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ผ่านทางยูทูปแชนแนล scgfoundation และเฟซบุ๊กแฟนเพจ อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ

มูลนิธิเอสซีจี มุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่พัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ด้วยความเชื่อว่า ไม่มีการสร้างใด จะยั่งยืนไปกว่าการสร้าง ‘คน’ มูลนิธิเอสซีจี จึงส่งเสริมคนรุ่นใหม่ให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด พัฒนาชุมชนในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการศึกษา สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ ต้นกล้าชุมชน มาตั้งแต่ปี 2559 เพื่อมุ่งสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการดูแล และพัฒนาท้องถิ่นของตนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมูลนิธิเอสซีจี ได้ให้การสนับสนุน เบี้ยยังชีพ และค่าดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ให้แก่ต้นกล้าเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีพี่เลี้ยงนักพัฒนารุ่นพี่ ผู้มากประสบการณ์ในพื้นที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการทำงานชุมชนทั้งภาคสนามและภาคทฤษฎี โดยตลอดระยะเวลา 3 ปี มูลนิธิฯ ยังได้จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าโดยนอกจากจะเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขามาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับน้องๆ ต้นกล้าแล้ว ยังจัดให้น้องๆ ต้นกล้าได้เดินทางไปศึกษาดูงานการทำงานชุมชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเสริมประสบการณ์ พร้อมสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกัน ปัจจุบันมีต้นกล้าชุมชนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ

ครั้งนี้มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมศักยภาพต้นกล้าชุมชน โดยพาน้องๆ ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 และพี่เลี้ยงฯ รวม 44 คน ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานยังจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Tadashi Uchida President of International OVOP Exchange Committee และทีม ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อช่วยชี้แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ต้นกล้าและพี่เลี้ยงฯ นำไปปรับใช้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของตนให้แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ น่าสนใจ มีเรื่องราว นำเสนอจุดแข็ง เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ศึกษาดูงานจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านใต้ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และ ชุมชนโหล่งฮิมคาว อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ รวมถึงเยี่ยมชมตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ณ ลานพุทธามหาชัย อ.แม่ทา จ.ลำพูน ตลาดที่เพิ่งเปิดดำเนินการด้วยแรงผลักดันจากต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชนรุ่นที่ 2 ที่ได้แรงบันดาลใจในการทำตลาดจากการที่มูลนิธิฯพาไปดูงานที่โอย่าม่าแลนด์ที่ญี่ปุ่น แล้วน้องๆ ต้นกล้าจากทุกภาคยังได้นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมานำเสนอเพื่อขอคำแนะนำ และล้อมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันจนเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เสริมสร้างการทำงานภาคสังคมที่เข้มแข็งต่อไปในอนาคต

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพต้นกล้าชุมชนว่า “มูลนิธิเอสซีจีตระหนักดีว่า ต้นกล้าชุมชน จะเติบโตและแข็งแรงได้นั้น ต้องได้รับการพัฒนาที่เหมาะสม การจัดให้มีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพน้องๆ ต้นกล้าในมิติต่างๆ ทั้งการเดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศทั้งที่เมืองฮอกไกโด และเมืองโออิตะ เพื่อศึกษาดูงาน OVOP หรือโอทอป และการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศอย่าง Mr. Tadashi Uchida และทีม ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการขับเคลื่อนพัฒนา และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากประเทศญี่ปุ่น ให้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อให้กับน้องๆ ต้นกล้าได้เปิดประสบการณ์ แนวคิด และมุมมองใหม่ๆ เพราะเราเชื่อว่าการได้สัมผัสประสบการณ์จริงย่อมมีคุณค่าและสร้างแรงแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ต้นกล้าตลอดจนพี่เลี้ยงได้นำกลับไปปรับใช้ตามความเหมาะสมของชุมชนตนเอง ถือเป็นเครื่องมือในการเสริมศักยภาพความเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืน”

ด้าน Mr. Tadashi Uchida, President of International OVOP Exchange Committee กล่าวถึงการเดินทางมาให้คำแนะนำน้องๆ ต้นกล้าชุมชนในครั้งนี้ว่า “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ One Village One Product (OVOP) มีความใกล้เคียงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นอย่างมาก คือ เริ่มจากการทำสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตนเอง แล้วใส่พลังความคิดสร้างสรรค์และความพยายามอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างกระตือรือร้น กล้าหาญ และวิริยะอุสาหะ ผมจึงเชื่อว่าน้องๆ ต้นกล้าสามารถทำได้แน่นอน ดังนั้น ภารกิจของพวกเราก็คือการให้คำแนะนำ มอบความมั่นใจและให้ความหวังแก่น้องๆ ต้นกล้า พี่เลี้ยงฯ และชุมชนที่เราไปเยี่ยมชม เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยเน้นให้ความสำคัญกับคุณค่าของจิตใจ มากกว่าคุณค่าของเงิน และเมื่อพวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีความภาคภูมิใจ และมีเกียรติ ก็จะส่งผลให้ชุมชนมีเสถียรภาพและความยั่งยืนในระยะยาว ทำให้คนหนุ่มสาวไม่อยากละทิ้งบ้านไปทำงานในเมืองและใช้ชีวิตอย่างผาสุกในชุมชน”

ต้นกล้าหญิง พฤติพร จินา ต้นกล้าชุมชน รุ่นที่ 2 เจ้าของโครงการสืบสานพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อความมั่นคงทางอาหาร จ.ลำพูน กล่าวถึงความประทับใจในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพต้นกล้าครั้งนี้ว่า “ในส่วนตัวในของหญิงเอง หญิงได้พลังเป็นอย่างมากจากคำแนะนำทั้งจากคุณอูชิดะ และพี่เลี้ยงฯ การที่มีคนข้างนอกเข้ามาในพื้นที่ ทุกคำติชม กับสิ่งที่บอกพวกเราว่า ทำดีแล้ว ทำถูกต้องแล้ว ปรับปรุงบ้างในบางประเด็นอีกนิดหน่อย มันเป็นการช่วยยืนยันและยิ่งเพิ่มความมั่นใจให้กับเราทุกคน หญิงคิดว่าความทรงจำแบบนี้ มันให้แรงบันดาลใจ มากกว่าการดูจากภาพ หรือเล่าให้ฟัง แต่การพาไปเจอและได้สัมผัส ทำให้เราได้คิดทบทวนแล้วนำกลับไปปรับใช้ ถือเป็นโอกาสอันดี ต้องขอขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีมาก หญิงมองว่ามันเป็นบันไดขั้นแรกในการต่อยอดสู่ความสำเร็จสำหรับการเริ่มต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาชุมชนต่อไป”

ด้านบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย นักพัฒนารุ่นพี่กล่าวเสริมว่า “สำหรับการมาศึกษาดูงานในครั้งนี้ พี่ว่ามันมีความสมบูรณ์ คือเราได้ดูงานในพื้นที่จริง ทั้งร้านอาหาร กิ๊ฟท์ช้อป ร้านผักอินทรีย์ ทำให้น้องๆ ต้นกล้าที่ยังไม่เห็นภาพการทำงาน ยังมีความลังเล ได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เธอสามารถทำได้ ฉันก็ต้องทำได้ การดูงานในพื้นที่จริง ทำให้เห็น ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ส่วนวิทยากรที่เดินทางมาจากญี่ปุ่นเพื่อลงพื้นที่ชุมชนในครั้งนี้ ทำให้พวกเราได้รับคำแนะนำดีๆ จากเขาหลายๆ เรื่อง อย่างเรื่องสินค้าที่ดีและมีคุณภาพต้องมีอะไรบ้าง เช่น การอธิบายเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบที่ตลาดต้องการ หลักการตลาด ฟังเขาพูดในหลายมิติ สิ่งที่พี่ชอบมากครั้งนี้คือที่เขาบอกว่าการตลาดที่ดีที่สุด คือ ปากต่อปาก บางทีเราก็ละเลยอะไรตรงนี้ไป ทำอย่างไรให้คนมาเห็นแล้วพูดถึง คิดถึง พี่ว่ากิจกรรมครั้งนี้สมบูรณ์และมีประโยชน์ ถือเป็นคุณูปการแก่นักพัฒนารุ่นใหม่อย่างแท้จริง”

มูลนิธิเอสซีจีภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนักพัฒนารุ่นใหม่ เพราะไม่ใช่เพียงต้นกล้า เหล่านี้จะมีอาชีพเป็นของตัวเอง แต่ยังสามารถสร้างอาชีพ กระจายรายได้ให้คนในชุมชน ได้ทำงานใน บ้านเกิด ส่งผลให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ทิ้งรากเหง้าและวิถีชีวิตอันงดงามของตัวเองไป เราหวังว่าโครงการต้นกล้าชุมชนจะจุดประกายให้เมล็ดพันธุ์นักพัฒนารุ่นใหม่ได้เติบโต หยั่งราก และตั้งมั่น ในการรับใช้บ้านเกิดของตนเองต่อไป

มูลนิธิเอสซีจี “เชื่อมั่นในคุณค่าของคน”

สานพลังสังคมเปิดโครงการ “HANDS FOR HEROES” รวมมือเรา เพื่อคนเฝ้าป่า

วันที่ 2 มิถุนายน 2561 – มูลนิธิเอสซีจี ผนึกความร่วมมือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช บจก.ทีวีบูรพา พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ร่วมเปิดโครงการ “HANDS FOR HEROES” รวมมือเรา เพื่อคนเฝ้าป่า เพื่อจุดประกายให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของผู้พิทักษ์ป่าพร้อมสนับสนุนการทำงาน เละส่งแรงใจให้พวกเขาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ต้อง “ห่วงหน้า พะวงหลัง” ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอดทั้งปี โดยนำร่องกิจกรรมแรก “Paint for Heroes” เปิดโอกาสให้คนภายนอกได้ร่วมเพ้นท์ เละประมูลเสื้อเพ้นท์จากฝีมือของศิลปิน ดารา ผู้คร่ำหวอดในแวดวงสายป่า เพื่อสมทบทุนจัดซื้อชุดอุปกรณ์ลาดตระเวนให้กับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งจัดขึ้นที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สำหรับผู้สนใจร่วมเป็นอีกหนึ่งมือเพื่อคนเฝ้าป่า สามารถติดตามข้อมูล ข่าวสาร รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ “HANDS FOR HEROES” ผ่านทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจ “HANDS FOR HEROES” หรือ https://www.facebook.com/handsforheroes/

ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ มูลนิธิเอสซีจี โทร 0 2586 4177 หรือ 0 2586 5506
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท อินทิเกรเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด โทร. 0 2354 3588 www.incom.co.th
อุษณีย์ ถาวรกาญจน์ โทร.081 984 5500

Young Thai Artist Award โดย มูลนิธิเอสซีจี

ศิลปะ คือ ความงดงามและคุณค่าจรรโลงสังคม เติมเต็มหล่อเลี้ยงชุบชูชีวิตให้มีความสมบูรณ์ นอกจากนั้นศิลปะยังทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ บริบทสังคมในยุคสมัยนั้นๆ ไว้ให้ได้ศึกษาเรียนรู้ เราเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมีศิลปะอยู่ในหัวใจ มูลนิธิเอสซีจีจึงดำเนิน โครงการรางวัลยุวศิลปินไทย หรือ Young Thai Artist Award รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เวทีการประกวดศิลปะระดับเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ หนึ่งพื้นที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้เยาวชนผู้รักงานศิลป์อายุ 18 – 25 ปีจากทั่วประเทศส่งผลงานสร้างสรรค์เข้าประชันเชิงชั้นด้านศิลปะถึง 6 สาขาได้แก่ สาขาศิลปะ 2 มิติ ศิลปะ 3 มิติ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ วรรณกรรม และการประพันธ์ดนตรี ถือเป็นเวทีแห่งการเจียระไนเพชรน้ำงาม สร้างศิลปินรุ่นเยาว์ให้เติบโตบนเส้นทางศิลปะ ซึ่งการันตีคุณภาพด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นที่ยอมรับมากว่าหนึ่งทศวรรษ

“ศิลปะ มิใช่จะมีอยู่เพื่อให้ชื่นชมความงามเท่านั้น หากยังมีอยู่เพื่อจรรโลงสังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าด้านความคิดและจิตใจอีกด้วย มูลนิธิฯ จึงได้ให้การสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของเยาวชนที่มีความสามารถด้านศิลปะ โดยริเริ่มโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย มาตั้่งแต่ปี 2547 เพื่อให้เป็นเวทีแห่งโอกาสในการสานฝันสำหรับเยาวชนผู้รักงานศิลปะจากทั่วประเทศ โดยน้องๆ ยุวศิลปินผู้ได้รับรางวัล ยอดเยี่ยมในแต่ละสาขานั้น นอกจากจะได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศและความภาคภูมิใจแล้ว ยังจะได้รับเงินรางวัลอีก 150,000 บาท รวมถึงโอกาสเดินทางทัศนศึกษาต่างประเทศ เพื่อชมเมืองศิลปะ งานศิลป์ในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำ เทศกาลศิลปะที่สำคัญ ตลอดจนผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าจากศิลปินระดับโลก เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ สร้างแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานศิลปะต่อไป และสำหรับผู้ได้รับรางวัลดีเด่นในแต่ละสาขาจะได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท โดยผลงานทั้งหมดที่ได้รับรางวัลจะนำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ และสัญจรไปจัดแสดงในหอศิลป์ที่เป็นเมืองศิลปะในส่วนภูมิภาค ถือเป็นใบเบิกทางสู่การก้าวเป็นยุวศิลปินไทย เป็นดาวดวงใหม่แห่งวงการศิลปะที่น้องๆ ไม่ควรพลาด” สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าว

ตลอดระยะเวลา 14 ปี มูลนิธิฯ ได้มุ่งพัฒนาส่งเสริมให้เวทีการประกวดศิลปะเวทีนี้เป็นพื้นที่แห่งการบ่มเพาะสร้างยุวศิลปินเลือดใหม่มาประดับวงการศิลปะ จนประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงทั้งในประเทศและเวทีโลกมากมายหลายคน อาทิ ลี้ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุทร นักเขียนซีไรต์ที่อายุน้อยที่สุด ได้เล่าถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมประกวดในโครงการนี้ว่า “ก่อนจะส่งผลงานประกวดเวทีรางวัลยุวศิลปินไทย ลี้เคยส่งประกวดมาแล้วหลายเวที แต่ส่วนมากเป็นเรื่องสั้น ส่งเรื่องเดียวจบ แต่สำหรับเวทีนี้ถ้าจะส่งประกวดเรื่องสั้นต้องส่งต้นฉบับอย่างน้อย 8 เรื่อง ถือเป็นความท้าทายที่ทำให้อยากร่วมประกวด นอกจากนี้ลี้ก็เห็นว่าเวทีนี้มีการจำกัดอายุเฉพาะเยาวชนด้วยกัน ไม่ได้มีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่างนักเขียนมืออาชีพที่มีประสบการณ์มากๆ มาลงสนาม ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับเยาวชนอย่างแท้จริง ลี้ได้รับรางวัลดีเด่น สาขาวรรณกรรม จากโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ประจำปี 2556 และ 2559 จากผลงานรวมเรื่องสั้น และนวนิยาย การได้รับรางวัลทั้งสองครั้งมอบความประทับใจให้กับลี้เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากรางวัลแล้ว เวทีนี้ยังเปิดโอกาสให้ผลงานวรรณกรรมของลี้ไปจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และหาไม่ได้ในเวทีประกวดอื่น ซึ่งหลังจากได้รับรางวัลแล้ว ลี้ก็มองหาก้าวต่อไปในการพัฒนาฝีมือด้วยการส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด จนได้รับรางวัลชนะเลิศในประเภทเรื่องสั้น จึงได้รับโอกาสรวบรวมเรื่องสั้นตีพิมพ์ชื่อ “สิงโตนอกคอก” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (S.E.A. Write) ประจำปี 2560 ลี้มาถึงวันนี้ได้ต้องขอขอบคุณโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย ที่ถือเป็นประตูแห่งโอกาสบานหนึ่งที่ผลักดันส่งเสริมให้นักเขียนรุ่นใหม่ที่มีกลวิธีการเขียนที่หลากหลาย แปลกใหม่ ได้แจ้งเกิดในวงการวรรณกรรมไทยเป็นนักเขียนมืออาชีพ”

ด้าน เอก เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ ผู้กำกับภาพยนตร์เลือดใหม่ คนไทยเพียงคนเดียวที่ผลงานของเขาได้รับคัดเลือกไปฉายและเข้าประกวดสาขาหนังสั้นในเทศกาล Winter Film Awards ณ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กล่าวเสริมว่า “สาเหตุที่ตัดสินใจเข้าร่วมประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทยนี้เพราะเป็น เวทีที่น่าสนใจ รุ่นพี่ที่เป็นผู้กำกับดังหลายคนอย่าง พี่เมษ ธราธร พี่นุชี่ อนุชา บุญยวรรธนะ ล้วนแจ้งเกิดจากเวทีนี้ ตอนส่งก็แอบหวังว่าผลงานของเราจะได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของคณะกรรมการ พอประกาศผลว่าหนังสั้น เรื่อง “ฝน” ของผมได้รับรางวัลยอดเยี่ยม สาขาภาพยนตร์ ประจำปี 2558 ผมก็อดภาคภูมิใจไม่ได้ เพราะการได้รับรางวัลถือเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือได้เป็นอย่างดี และยังเป็นแรงกระตุ้น เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงให้ผมมีเรี่ยวแรงสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ซึ่งในปี 2561 ผมได้ส่งหนังสั้นของผมเรื่องนี้ไปร่วมคัดเลือกเพื่อเข้าฉายและประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ในงานเทศกาล Winter Film Awards 2018 ณ เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งในเทศกาลนี้มีผลงานภาพยนตร์เข้าร่วมประกวดกว่า 650 เรื่องจากทั่วโลก มีเพียง 100 เรื่องเท่านั้นที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าฉายในประเภทต่างๆ ได้แก่ แอนิเมชัน สารคดี หนังยาว หนังสั้น และมิวสิควิดีโอ ซึ่งหนังของผมได้ผ่านการคัดเลือกเป็น 1 ใน 4 เรื่องที่ให้เข้าฉายและร่วมประกวดหนังสั้นยอดเยี่ยม สาขานักศึกษา ซึ่งมูลนิธิเอสซีจีได้ให้การสนับสนุนต่อยอดให้ผมเดินทางนำภาพยนตร์ไปฉายในครั้งนี้ แม้ผมจะไม่ได้รับรางวัลกลับมา แต่ก็ได้รับโอกาสและประสบการณ์ที่น่าจดจำ เพราะได้รู้จักกับผู้สร้างภาพยนตร์ ผู้กำกับหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้เปิดมุมมองใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งผมจะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาสร้างหนังสารคดีของตัวเองต่อไป”

ในปี 2561 นี้ เวทีประกวดโครงการรางวัลยุวศิลปินไทยก็กำลังเฟ้นหาดาวดวงใหม่ที่มีฝีมือความสามารถ และศักยภาพด้านศิลปะในการสร้างสรรค์ผลงาน ลี้ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุทร รุ่นพี่ที่แจ้งเกิดจากเวทีนี้จึงขอเชิญชวนน้องๆ ให้ส่งผลงานเข้าประกวดว่า “เหตุผลที่น้องๆ ควรตัดสินใจเข้าร่วมประกวดโครงการนี้ ข้อที่หนึ่งคือรางวัลของเวทีนี้ที่สูงกว่าการประกวดวรรณกรรมเวทีอื่นๆ สองคือการแข่งขัน เวทีนี้เป็นระดับเยาวชน ถ้าคุณอายุไม่เกิน 25 ปี คุณควรจะส่งประกวดเวทีนี้ และสามนี่คือโอกาสที่ผลงานของคุณจะได้เข้าไปอยู่ในสายตาของกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา กรรมการแต่ละคนจะได้ชมภาพของคุณ ดูหนังของคุณ ฟังเพลงของคุณ อ่านงานของคุณ เราว่ามันเป็นสิ่งที่มีค่าทางจิตใจ และเป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้ง่ายๆ”

ด้าน เอก เอกพงษ์ สราญเศรษฐ์ ก็เชิญชวนน้องๆ ให้ร่วมประกวดในปีนี้ว่า “ส่งกันเถอะครับไม่มีอะไรเสียหาย มันจะเป็นประตูบานหนึ่งที่นำไปสู่ประตูอีกหลายๆ บานในอนาคตของเรา ไม่อยากให้หลายคนปิดกั้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม โอกาสเป็นของคนที่วิ่งเข้าหา และการพาตัวเองไปสู่เส้นทางความสำเร็จเสมอ”

น้องๆ เยาวชนที่สนใจแจ้งเกิดในวงการศิลปะในฐานะยุวศิลปิน แพ็คไอเดียศิลป์ให้เต็มกระเป๋าแล้วออกเดินทางไปลุยกันเลย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.scgfoundation.org หรือโทร. สอบถามได้ที่ 02 586 2042 ออกเดินทาง สร้างสรรค์งานศิลป์ได้ตั้งแต่วันนี้ – กรกฎาคม 2561 สนใจติดตามความเคลื่อนไหว คลิก www.facebook.com/YoungThaiArtistAward

จิตอาสาอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ โดยมูลนิธิเอสซีจี ร่วมทำความดี ประกอบรถเข็นเพื่อผู้พิการ

ด้วยเชื่อมั่นว่าสังคมที่มีคุณภาพ ย่อมต้องประกอบไปด้วยคน “เก่งและดี” มูลนิธิเอสซีจีเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนา “คน” จึงมุ่งมั่นเสริมสร้างและปลูกฝังให้นักเรียนทุนอาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ ได้พัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะฝีมือควบคู่ไปกับการนำความรู้ที่เรียนไปทำประโยชน์เพื่อสังคม ผ่านกิจกรรม จิตอาสาที่หลากหลายและต่อเนื่องมากว่า 5 ปี

ล่าสุด มูลนิธิเอสซีจีได้นำตัวแทนนักเรียนทุนฯ ในระดับชั้น ปวช.ปี 2 จากทั่วประเทศ มาร่วมแรงร่วมใจใช้ความรู้ความสามารถร่วมประกอบรถเข็นสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 10 ตัว เพื่อส่งมอบให้แก่มูลนิธิคนพิการไทย จ.นนทบุรี สร้างความประทับใจและปลาบปลื้มใจให้กับน้องๆ นักเรียนทุนฯ เป็นอย่างมาก

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจีส่งเสริมให้นักเรียนทุนฯ ทุกคนเป็นคนที่มีจิตอาสา นำความรู้ความสามารถมาทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ผ่านกิจกรรมอาชีวะฝีมือชน คนทำดี โดยที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมจิตอาสามาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมทำฝาย กิจกรรมเก็บขยะ ทำบ้านปลา กิจกรรม Fix It Center กิจกรรมซ่อมแซม ทาสี อาคารและสนามเด็กเล่นตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ รวมถึงการปรับปรุงวัดและโรงเรียนในถิ่นที่อยู่ห่างไกล และในครั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้นำนักเรียนทุนฯ จากหลากหลายสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นสาขาช่างอุตสาหกรรม สาขาบริการ มาร่วมกันประกอบรถเข็นสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวแบบมาตรฐานจำนวน 10 ตัว มอบให้แก่มูลนิธิคนพิการไทย จ.นนทุบรี ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้อีกจำนวนมาก และการทำกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ มูลนิธิฯ ยังส่งเสริมให้นักเรียนทุนฯ ได้ลองฝึกความคิด พร้อมแชร์ไอเดียใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนารถเข็นคนพิการ ให้มีความเหมาะสมและมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิฯ พร้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนในการทำความดีของน้องๆ เพราะเราเชื่อว่า นักเรียนทุนฯ ทุกคนมีความตั้งใจที่ดี การมีจิตอาสาเป็นเรื่องที่ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา เริ่มได้ทันทีที่ตัวน้องๆ เอง การทำกิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการจุดประกายให้แก่น้องทุกคน ซึ่งเราหวังว่าน้องๆ จะนำความรู้ที่ได้จากการทำจิตอาสาในครั้งนี้ ไปพัฒนาต่อยอดการทำความดีอื่นๆ ต่อไปในอนาคต” สุวิมล กล่าว

ลองมาคุยกับหนึ่งในนักเรียนทุนฯ ที่มาร่วมกิจกรรมอย่าง น้อย – นายปารเมศ สายสุทธิ ปวช.2 สาขาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยเทคโนโลยีพงษ์สวัสดิ์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของการทำกิจกรรมจิตอาสาว่า นอกจากทุนการศึกษาที่ได้รับ ยังได้รับประสบการณ์ที่ดีมากมาย เมื่อมีโอกาสจึงอยากจะเป็นผู้ให้บ้าง ซึ่งนอกจากกิจกรรมนี้ ยังมีโอกาสทำกิจกรรมจิตอาสามากมายที่เคยทำมาก่อน เช่น วิทยาลัยจะมีกิจกรรมออกแนะแนวการทำอาหารตามโรงเรียนต่างๆ สอนทำเค้กส้ม ทำซูชิ เพื่อเป็นการสาธิต พร้อมแนะแนวอาชีพให้น้องๆ หรือบางครั้งก็ไปทำอาหารเลี้ยงเด็กๆ ที่บ้านเด็กกำพร้า

“ผมอยากมอบอะไรกลับคืนให้สังคมบ้าง ผมดีใจที่ได้มาทำรถเข็นให้ผู้พิการในครั้งนี้ กิจกรรมนี้ทำให้เรารู้ว่ายังมีผู้พิการทางการเคลื่อนไหวจำนวนมากที่มีรายได้น้อย อยู่ไกล และไม่สามารถเข้าถึงบริการรถเข็น ผมก็หวังว่ารถเข็นที่ผมและเพื่อนๆ ได้ประกอบไป จะช่วยพวกเขาให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้เช่นคนปกติ ลดภาระครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” น้องน้อย กล่าว

ไม่ต่างจาก อ๋อม – นางสาวญาณิศา โยธาภักดี ปวช.2 สาขาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีไทย-วิจิตรศิลป์ เล่าถึงจุดประสงค์ที่เข้าร่วมกิจกรรมว่า

“การทำกิจกรรมจิตอาสาแบบนี้ทำให้เราได้รับความสุขจากการที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น โดยก่อนหน้านี้หนูก็มีโอกาสได้ทำกิจกรรมจิตอาสากับวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการนำสิ่งของที่เราทำเองไปมอบให้เด็กๆ ตามสถานเลี้ยงเด็กหรือมูลนิธิต่างๆ ทุกครั้งที่หนูได้ลงมือทำ หนูจะตั้งใจและทำออกมาให้ดีที่สุด สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การเข้าร่วมหกิจกรรมและ ลงมือทำอย่างเดียว แต่มันคือการที่เราใส่ใจลงไปในทุกๆ รายละเอียด และสิ่งที่เราได้รับกลับมานั้นก็คือความสุขที่ไม่สามารถหาซื้อได้ด้วยเงิน ขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่จัดกิจกรรมจิตอาสาดีๆ แบบนี้ค่ะ” น้องอ๋อม กล่าว

ประกอบรถเข็นให้กับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งรถเข็นที่พวกผมได้ร่วมกันทำนั้น จะนำไปบริจาคให้กับผู้พิการที่มีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นต่อไป”

“ปกติแล้วผมเป็นคนขี้อายมากครับ แต่ผมก็พยายามกำจัดความขี้อายนั้นออกไป แล้วเดินหน้าทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น นอกจากนี้ยังทำให้ผมได้เพื่อนและมิตรภาพที่ดีมากๆ ที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และผมตั้งใจจะทำความดีต่อไป อย่างน้อยเราก็สามารถเป็นอีกหนึ่งแรงที่จะช่วยเหลือผู้อื่นได้” น้องก๊อต กล่าว

ปิดท้ายที่ จ๊ะเอ๋ – นางสาวศิรินทร์ทิพย์ นามวงษ์ ปวช.2 สาขาอาหารและโภชนาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย กล่าวถึงการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ที่เลือกเข้าร่วมกิจกรรมอาชีวะฝีมือชน คนทำดี เพราะอยากทำกิจกรรมจิตอาสาในหลากหลายรูปแบบ ในครั้งนี้นอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังได้เรียนรู้เรื่องความสามัคคีในกลุ่มด้วย ได้ช่วยกันประกอบรถเข็นเพื่อผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เราต้องลงแรงช่วยกันถึงจะประกอบได้สำเร็จ

“รู้สึกดีใจที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ อยากให้เพื่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนนักเรียนทุน หรือคนอื่นๆ ช่วยกันทำความดี เพราะการทำดีแบบไม่ต้องใช้เงินก็มี เราสามารถนำความรู้ความสามารถของเราไปช่วยเหลือคนอื่นได้ หนูจึงอยากให้ทุกคนช่วยเหลือคนที่ด้อยโอกาส สังคมของเราจะได้น่าอยู่ขึ้น ครั้งหน้าถ้ามูลนิธิเอสซีจีจัดกิจกรรมดีๆ แบบนี้อีก หนูก็จะมาเข้าร่วมด้วยทุกครั้งค่ะ” น้องจ๊ะเอ๋ กล่าวทิ้งท้าย

นี่คืออีกหนึ่งกิจกรรมที่มูลนิธิฯ หวังว่าการที่น้องๆ ได้มาทำเรื่องราวดีๆ เพื่อสังคมจะติดตรึงอยู่ในใจน้องๆ อย่างน้อยก็จะได้ค้นพบว่าการทำความดีเป็นเรื่องที่ดีงาม ทำได้ไม่ยาก และทำได้ทุกที่ทุกเวลา มูลนิธิฯ เชื่อว่าสังคมต้องการคน ‘เก่งและดี’ ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเสียสละอีกมาก และก่อนที่น้องๆ อาชีวะฝีมือชนจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาควรจะมีจิตอาสา นึกถึงผู้อื่น และลงมือทำสิ่งดีเพื่อผู้อื่นตามกำลังความสามารถของตนติดตัวตลอดไป

สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ: ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ บริษัท เอ็กซ์ตราวาแกนซ่า พีอาร์ จำกัด คุณกิตติพงษ์ สัจจพลากร (เอ็กซ์) โทร. 08 2498 8842, 06 2639 9794

มูลนิธิเอสซีจีชวนน้อง ปวส. และ ป.ตรี ‘กล้า ลอง ดี’ ทำโครงการสาธารณประโยชน์เพื่อสังคม

‘เยาวชนคนทำดี’ โครงการของมูลนิธิเอสซีจีที่เปิดโอกาสให้น้องๆ นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรีหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้นำทักษะ ความรู้ ความสามารถจากการเรียนในแต่ละสาขา หลักสูตร หรือวิชาชีพของตนเองมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์โครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “ในปี 2561 นี้ โครงการเยาวชนคนทำดี โดยมูลนิธิเอสซีจีได้เปิดรับสมัครต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ภายใต้แนวคิด “กล้า ลอง ดี” เพื่อให้น้องๆ เยาวชนรุ่นใหม่ ได้กล้าออกจาก Comfort zone แล้วลองกระโจน ไปทำความดี ซึ่ง 5 ปีที่ผ่านมา น้องๆ นิสิต นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการเยาวชนคนทำดี จะได้ลงมือทำโครงการจริง ลงพื้นที่จริง ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม คิดวิเคราะห์ถึงกระบวนการการทำงานและฝึกแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน นับว่าน้องกลุ่มนี้จะได้รับประสบการณ์อันล้ำค่าที่ไม่สามารถหาได้จากห้องเรียน ในขณะเดียวกันการทำโครงการด้วยจิตอาสาเช่นนี้ จะทำให้น้องๆ รู้จักการทำงานเป็นทีม มีความเห็นอกเห็นใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ในวันข้างหน้าน้องๆ จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นคน ‘เก่งและดี’ ใช้ชีวิตเพื่อตนเองและผู้อื่นอย่างมีคุณค่า ในนามมูลนิธิเอสซีจีขอเชิญชวนน้องๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับ ป.ตรี และ ปวส. มารวมตัวกันเพื่อแสดงออกทางความคิด ร่วมกันทำโครงการที่เป็นประโยชน์เพื่อตอบแทนสิ่งดีๆ คืนสู่สังคม โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 15 มิถุนายน 2561 โครงการที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานสูงสุดโครงการละ 100,000 บาท”

‘น้องนิค’ นายกิตติพงษ์ บำรุงพงษ์ นักศึกษาชั้น ปวส. 2 สาขาวิชาปิโตรเคมี วิทยาลัยเทคนิคระยอง ได้เล่าประสบการณ์จากการทำโครงการกังหันน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เขาและเพื่อนๆ ได้รวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียจากบ่อพักน้ำเสียของเรือนจำกลางระยอง ที่เอ่อล้นเข้าไปเจิ่งนองบริเวณบ้านเรือนของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียงว่า “เมื่อปีที่แล้วผมและเพื่อนรวมกลุ่มกันสมัครโครงการเยาวชนคนทำดี ปีที่ 5 เพื่อไปช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วเรือนจำและชุมชนโดยรอบ และในช่วงหน้าฝนน้ำจากบ่อน้ำนี้จะไหลเอ่อเข้าไปในชุมชนหมู่ที่ 9 ต.หนองละลอก ที่อยู่รอบๆ เรือนจำฯ ด้วย สิ่งที่พวกเราทำคือช่วยกันประกอบกังหันพร้อมต่อวงจรไฟฟ้าเข้ากับแผงโซลาเซลล์ และนำกังหันไปช่วยปรับคุณภาพน้ำเน่าเสียให้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้ ชาวบ้านเขาก็ดีใจที่มีกังหันมาช่วยทำให้คุณภาพน้ำดีขึ้น เมื่อน้ำไม่เน่าเสียแล้ว ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ก็ดีขึ้นด้วย ตอนแรกผมก็ไม่มั่นใจเท่าไหร่ว่าจะทำโครงการได้สำเร็จ แต่พอได้ลงมือทำจริงแล้ว ผมภูมิใจและประทับใจกับโครงการนี้มาก โครงการนี้ให้ประโยชน์หลายด้าน ช่วยเปิดมุมมองทัศนคติที่ดี สร้างเสริมการทำงานเป็นทีม ทำให้ผมมีความรับผิดชอบมากขึ้น และในช่วงทำโครงการ ตัวผม เพื่อน รุ่นพี่ แม้แต่อาจารย์จะอยู่ด้วยกันบ่อยขึ้น ทำให้พวกเราสนิทและรู้ใจกันมากขึ้น แต่ก่อนจะโกรธและงอนกันง่ายมากเวลาเพื่อนแกล้งหรือไม่ช่วยงานกลุ่ม แต่เดี๋ยวนี้พวกเรามีเหตุและผลกันมากขึ้น เปิดใจฟังกันเยอะขึ้น”

ด้าน ‘น้องฟ้า’ นางสาวนวลอนงค์ จรลี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้สนอกสนใจในวัฒนธรรม ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิตของชาวมอญในหมู่บ้านตากแดด ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี หนึ่งในผู้เสนอโครงการมอญเล่าเรื่อง เมืองสามโคก ได้รวมกลุ่มเพื่อนๆ จากคณะมนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้าไปถอดบทเรียนองค์ความรู้เรื่องวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนมอญ และนำมาจัดทำเป็น ‘เครื่องมือศึกษาชุมชน : ทำแผนที่เดินดิน ปฏิทินประเพณี ทำเนียบภูมิปัญญา ไอดอลชุมชน’ เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลเป็นหลักฐานให้สืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานในชุมชน อีกทั้งยังสามารถนำไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอกที่สนใจในวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมได้อีกด้วย

‘น้องฟ้า’ ได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้ลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านตากแดด ต.บางเตย อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ว่า “พวกเรารวมกลุ่มเพื่อนจาก 3 คณะ คณะมนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และบริหารธุรกิจ ลงไปเก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของคนในชุมชนเชื้อสายมอญ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในชุมชนตั้งใจที่จะอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานอยู่แล้ว หลังจากเข้าไปพูดคุยกับคนในชุมชนว่าจะมาขอความรู้เรื่องวัฒนธรรมประเพณีของเขา ลุง ป้า น้า อา ก็มีความยินดีที่จะบอกเล่าข้อมูล เพื่อให้เราจดบันทึกเก็บเป็นองค์ความรู้ไว้ เพื่อนำไปจัดทำเป็นเครื่องมือศึกษาชุมชนก่อนส่งมอบให้คนในชุมชนได้เก็บไว้ให้ลูกหลานศึกษา และเราก็ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาชุมชนด้วย เครื่องมือศึกษาชุมชนฉบับนี้มี 4 อย่าง คือ แผนที่เดินดิน เราวาดลักษณะของหมู่บ้านออกมาเป็นแผนที่และปักหมุดไว้เลยว่า บ้านหลังไหนมีความถนัดหรือมีภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องใด เช่น การทำหางหงส์ การทำข้าวแช่ เป็นต้น ซึ่งพอเราได้แผนที่มาแล้วเราก็เข้าไปพูดคุยกับบ้านที่เราปักหมุดเอาไว้ เพื่อจดบันทึกภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ทีละเรื่อง และนำมาจัดเก็บเป็นทำเนียบภูมิปัญญาของชุมชน และตอนที่เราไปขอความรู้จากลุง ป้า น้า อา ตามบ้านแต่ละหลัง เราก็เห็นว่าพวกเขานี่ล่ะคือตัวจริงเสียงจริง พวกเราจึงอยากปั้นลุง ป้า น้า อา เป็นไอดอลของชุมชน เวลาที่มีคนนอกชุมชนหรือนักท่องเที่ยวเข้ามาพวกเขาจะเป็นมัคคุเทศก์ที่เชี่ยวชาญในการนำเที่ยวที่สุด นอกจากนี้เรายังพบว่าชาวมอญยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี เราจึงนำข้อมูลที่ได้มาทำปฏิทินประเพณี ควบคู่ไปด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าช่วงเวลาไหนที่ชุมชนจะมีกิจกรรมอะไร เพื่อจะได้เชิญชวนให้คนทั่วไปมาท่องเที่ยวและเรียนรู้วัฒนธรรมที่น่าสนใจนี้ได้ ผลจากการเข้าไปทำโครงการครั้งนี้ได้ช่วยสร้างรอยยิ้มให้แก่คนในชุมชนได้จริงๆ ลุง ป้า น้า อา ขอบใจพวกเรากันใหญ่เลย หนูมองว่าการทำกิจกรรมที่นอกเหนือจากการเรียนหนังสืออย่างโครงการเยาวชนคนทำดีแบบนี้ ถือว่าได้กำไรอย่างมากเพราะประสบการณ์หลายอย่างไม่อาจได้รับจากห้องเรียน เชื่อเถอะว่ามันดีจริงๆ อยากให้น้องรุ่นใหม่ๆ มาลองใช้พื้นที่ตรงนี้ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กัน นอกจากจะได้ช่วยสร้างประโยชน์ให้คนอื่นแล้ว ยังได้ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วย ท้ายนี้หนูขอบคุณโอกาสจากมูลนิธิเอสซีจีที่เชื่อมั่นในตัวพวกเรา ให้โอกาสพวกเราทำโครงการจนสำเร็จ ถ้าไม่ผ่านโครงการนี้พวกเราคงจะไม่รู้เลยว่า พวกเราสามารถนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทำประโยชน์ให้คนอื่นได้จริงๆ”

ด้าน ‘ป้าไก่’ เบญจวรรณ สุทธิผล ชาวบ้านในชุมชนบ้านตากแดด รู้สึกประทับใจน้องๆ นักศึกษาที่ทำให้คนในชุมชนได้หันกลับมาหวงแหนความงดงามของวัฒนธรรม ประเพณีโบราณ ว่า “ถ้านักศึกษาไม่เข้ามาสืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในครั้งนี้ คนในชุมชนก็อาจจะหลงลืมไป เนื่องจากเห็นเป็นเรื่องที่เคยชิน เพราะอยู่กับสิ่งนั้นมาตั้งแต่เกิด เป็นสิ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งล้วนเป็นภูมิปัญญา เป็นวิถีชีวิตที่ควรเก็บรักษาเพื่อสืบทอดให้ลูกหลานต่อไป เช่น การทำข้าวแช่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ การทำหางหงส์และแห่ไปแขวนไว้ที่วัดในวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ ถ้าไม่มีการเก็บรักษาและขาดคนมาสืบสานไว้ สักวันหนึ่งคงหายไป ป้าขอบคุณน้องๆ นักศึกษากลุ่มนี้มากที่กล้าหาญ กล้าเข้ามาบอกว่าบ้านมอญของเรามีของดี ขอบคุณที่เด็กๆ กล้าเข้ามาบอกป้าว่าให้ช่วยกันจดบันทึกไว้เพื่อรักษาให้คนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป ซึ่งป้าเชื่อว่าเด็กๆ ที่มีความคิดที่ดี และมีความเก่งอย่างนี้ สักวันหนึ่งเขาจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถ จะช่วยพัฒนาสังคมประเทศชาติได้อีกมากมาย”

มูลนิธิเอสซีจีเชื่อว่าเด็กและเยาวชนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมในวันนี้ ย่อมจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ “เก่งและดี” มีคุณภาพในวันข้างหน้า จึงควรปลูกฝังให้พวกเขาเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องช่วยกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยพลังความคิดเชิงบวกและความรู้ ความสามารถของพวกเขาเอง เพราะในท้ายที่สุดแล้วความรู้ในห้องเรียนจะยิ่งมีคุณค่า หากสิ่งนั้นสามารถนำมาประยุกต์เพื่อรับใช้สังคมและสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่อไป มูลนิธิเอสซีจี ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’

สำหรับน้องๆ ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ ‘เยาวชนคนทำดี’ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.scgfoundation.org และสามารถติดตามข่าวสารโครงการผ่าน Facebook Fanpage “เยาวชนคนทำดี” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร 0 2586 5218, 0 2586 5506

มูลนิธิเอสซีจีส่งมอบอาคาร “เอื้อสุข” ให้แก่พี่น้องชาวปากพนังเพื่อใช้พักพิงในยามเกิดอุทกภัย

“ทุกครั้งที่น้ำท่วม ไม่มีใครคาดเดาได้และไม่รู้เลยว่าจะท่วมนานไหม ท่วมสูงแค่ไหน บางทีป้าลงจากบ้านไม่ได้เลยเป็นเดือน ถนนหนทางถูกตัดขาดหมด คนข้างนอกก็เข้ามาไม่ได้ คนข้างในก็ออกไปไม่ได้ ต้องสัญจรโดยเรืออย่างเดียว อยู่ในบ้านก็กลัวลมกลัวฝน ไม่รู้ว่าจะพัดหลังคาบ้านไปเมื่อไหร่ นั่งมองน้ำที่สูงขึ้นๆ ก็สิ้นหวังเหมือนกันนะ ตอนที่รู้ว่าจะมีอาคารหลังนี้ให้หลบภัย ให้อาศัยตอนน้ำท่วม ป้าดีใจมาก การมีที่อยู่ ถึงแม้จะชั่วคราวแต่ก็ช่วยให้อุ่นใจไม่ต้องหวาดกลัว ไม่ต้องลำบากอย่างที่ผ่านมาอีก” กานดา สุขศรีเมือง หรือ ‘ป้าทึ่ง’ ชาวชุมชนหมู่ที่ 8 ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช หนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ทุกปี

ย้อนไปเมื่อปลายปี 2559 ได้เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ขึ้นในเขตพื้นที่ภาคใต้ น้ำป่าไหลหลากเข้ามากวาดล้างบ้านเรือน และพรากหลายสิ่งไปจากพี่น้องผู้ประสบภัย ทั้งต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน สูญเสียอาชีพ ที่ดินและเครื่องมือทำกินเสียหาย ขาดซึ่งขวัญและกำลังใจ ในบางพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน ถนนหนทางได้รับความเสียหาย ซึ่งความเสียหายในครั้งนั้น ครอบคลุม 12 จังหวัดภาคใต้ โดย 3 อำเภอที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ได้แก่ อ.ชะอวด อ.ปากพนัง และ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เพราะเป็นทางผ่านสุดท้ายที่ต้องระบายน้ำลงสู่ทะเล จากเหตุการณ์รุนแรงทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น มูลนิธิเอสซีจี มุ่งเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน จึงก่อสร้าง อาคาร ‘เอื้อสุข’ ขึ้นเพื่อให้พี่น้องผู้ประสบภัยได้มีที่พักพิงที่ปลอดภัยยามเกิดภัยพิบัติ

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “มูลนิธิเอสซีจีร่วมกับสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในเอสซีจี และเพื่อนพนักงานเอสซีจีจิตอาสา จัดสร้างอาคาร “เอื้อสุข” ขึ้นในพื้นที่วัดโคกแสง ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อให้เป็นสมบัติของคนในชุมชนได้ใช้พักพิงอาศัยในยามเกิดอุทกภัยและวาตภัย โดยอาคารเอื้อสุขเป็นอาคารอเนกประสงค์ มีคุณสมบัติแข็งแรง มั่นคง ทนทาน สามารถรองรับการเกิดอุทกภัยและวาตภัยได้ ตัวอาคารยกใต้ถุนสูง 2 เมตร เพื่อให้ชาวบ้านมั่นใจว่าน้ำจะไม่ท่วมถึงตัวอาคาร เนื่องจากที่ผ่านมา ที่ตั้งของอาคารแห่งนี้เคยถูกน้ำท่วมสูงสุด 60 เซนติเมตร ในขณะที่บริเวณอื่นๆ น้ำเคยท่วมสูงถึงเกือบ 2 เมตร ดังนั้น พื้นที่บริเวณวัดโคกแสงจึงถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมมากที่จะก่อสร้างอาคารเพื่อป้องกันอุทกภัย ชาวบ้านสามารถเข้ามาพักพิงหลับภัยบนอาคารได้ประมาณ 200 คน และพักพิงอยู่ได้เป็นระยะเวลานับแรมเดือน ด้านในอาคารจะมีห้องน้ำไว้ปลดทุกข์อย่างถูกสุขลักษณะ มีห้องสำรองเสบียงอาหารแห้ง มีพื้นที่สำหรับประกอบกิจวัตรประจำวัน เช่น หุงหาอาหาร ซักล้าง ฯ ซึ่งจะช่วยให้พี่น้องผู้ประสบภัยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างดีพอสมควรทีเดียว”

ด้าน ปรีชา นวประภากุล อุปนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กล่าวว่า “ก่อนจะมาเป็นอาคารเอื้อสุข ทางสมาคมฯ ได้ดำเนินการจัดประกวดแบบก่อสร้างอาคาร โดยเราเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไป กลุ่มสมาชิกของสมาคม และบริษัทต่างๆ ในเขตพื้นที่ภาคใต้เข้ามามีส่วนร่วมในการประกวดแบบอาคาร เราต้องการแบบที่ดี มีคุณภาพ ปลอดภัย มั่นคง และมีพื้นที่ใช้สอยที่สะดวกเหมาะสมกับการอยู่อาศัยชั่วคราว อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้นักออกแบบได้ประชันความคิด ได้สร้างสรรค์คุณค่าและสร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยแบบที่ชนะการประกวด จะถูกนำไปก่อสร้างจริงและป้องกันภัยให้คนในชุมชนได้จริง”

นฤดล เจ๊ะแฮ หรือ ‘ซิกกรี’ ผู้เขียนแบบอาคารเอื้อสุข ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในนามของบริษัท ณัฐ บิวดิ้ง จำกัด เล่าว่า “ผมต้องการนำวิชาความรู้มาช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย แม้ว่าผมจะเป็นมุสลิม แต่การออกแบบในครั้งนี้ ผมคำนึงถึงบริเวณที่ก่อสร้างเป็นหลัก ว่าบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่ชาวพุทธอาศัยอยู่เป็นส่วนมาก ผมจึงอยากให้รูปทรงอาคารมีความสอดคล้องกับมิติสังคมวัฒนธรรมของคนในพื้นที่นี้ จึงได้นำแนวคิดการนั่งสมาธิของชาวพุทธ มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบอาคาร รูปทรงอาคารจึงมีส่วนคล้ายกับวงของมือที่ประสานกันในขณะนั่งสมาธิ คือการวางมือขวาทับมือซ้ายและหัวแม่มือชนกัน ตัวอาคารจึงตั้งอยู่อย่างสง่างามและให้ความรู้สึกสงบนิ่ง ไม่อ่อนล้าแม้ยามแดดจัดและไม่สั่นไหวแม้ลมพัดแรง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต่อต้านกับสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงเลือกวางแนวอาคารให้สอดคล้องไปกับธรรมชาติคือให้อยู่ตามทิศทางลม เปิดช่องลมไว้ตามจั่วและประตู ยกพื้นอาคารให้สูง 2 เมตร เพื่อให้ลมพัดผ่านได้สะดวก อีกทั้งยังช่วยให้พ้นระดับน้ำท่วมด้วย โครงสร้างของอาคารมีความแข็งแรงทนทานมาก ด้วยการลงเสาเข็มลึก 25 เมตร เทฐานรากด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และยึดตอม่อทุกตัวเข้าด้วยกันเหมือนยึดตอม่อสะพาน เพื่อให้กระจายการรับน้ำหนักได้ดียิ่งขึ้นและป้องกันการทรุดตัวของอาคาร สามารถรองรับคน 200 คนได้นาน 2-3 เดือน ปลอดภัยแน่นอน นอกจากนี้ผมยังได้นำแนวคิดเรื่อง Carbon Zero มาใช้ด้วย คือ ในระหว่างการก่อสร้างเราจะพยายามลดขยะหรือของเสีย หรือของเหลือใช้ที่เกิดจากการก่อสร้างให้มากที่สุด หรือแม้แต่การเลือกใช้วัสดุหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ต้องเป็นของที่มีคุณภาพและหาซื้อได้ง่ายตามท้องถิ่น เพื่อให้คนในชุมชนสามารถซื้อหามาเปลี่ยนหรือซ่อมแซมได้ด้วยตนเอง”

นอกจาก ‘แบบ’ ที่พร้อมก่อสร้างแล้ว อีกหนึ่งแรงสำคัญคือผู้กำกับดูแลทุกขั้นตอนของการก่อสร้างนับตั้งแต่การปรับพื้นที่ให้พร้อมกับการดำเนินการ ณรงค์ฤทธิ์ อุปถัมภ์ Product and Service Development Director บริษัทกระเบื้องหลังคาซีแพค จำกัด ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในเอสซีจี กล่าวว่า “ทุกรายละเอียดของการติดตั้งและประกอบวัสดุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ต้องได้มาตรฐาน เพราะนั่นหมายถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ถ้าจุดไหนที่เราไม่แน่ใจ ก็จะต้องยืนยันข้อมูลกับผู้เขียนแบบก่อนเสมอเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการก่อสร้าง แม้การควบคุมงานก่อสร้างอาคารตลอดระยะเวลา 90 วัน จะมีอุปสรรคจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนบ้าง แต่พวกเราทีมงานทุกคนรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาคารหลังนี้ ภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือชุมชน”

สำหรับอาคารเอื้อสุขแห่งนี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,050,000 บาท โดยเป็นงบประมาณจากมูลนิธิเอสซีจี 2,900,000 บาท ซึ่งได้รับเงินบริจาคส่วนหนึ่งมาจากพนักงานเอสซีจีจิตอาสากว่า 500,000 บาท และพี่น้องประชาชนที่ร่วมสมทบบริจาคผ่านมูลนิธิเอสซีจี พร้อมนี้สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมสนับสนุนอีก 150,000 บาท เพื่อให้อาคารนี้เสร็จสมบูรณ์และพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ

มูลนิธิเอสซีจีหวังว่าอาคารหลังนี้จะเป็นประโยชน์ สามารถรับใช้ชุมชนทั้งในยามปกติและในยามฉุกเฉิน ในยามปกติที่คลื่นลมสงบปราศจากภัยพิบัติใดๆ อาคารแห่งนี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อคนในชุมชน เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวความเป็นไปของชุมชน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแม้กระทั่งระแวดระวังและร่วมกันวางแผนรับมือกับภัยพิบัติได้ในเบื้องต้น ส่วนในยามฉุกเฉิน
มูลนิธิฯ ก็หวังว่าที่พักพิงแห่งนี้จะทำหน้าที่ปกป้องดูแลผู้ประสบภัยให้รอดพ้นจากอันตรายได้

มูลนิธิเอสซีจีขึ้นเหนือ…ชวนรุ่นพี่เผยเคล็ดลับเรียน “เก่งและดี”ในโครงการ SCG Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี

ในยุคสมัยที่มีการแข่งขันสูงอย่างในปัจจุบัน “ความรู้” ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด ใครมีความรู้มากย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ สำหรับใครหลายคน “ความรู้” มักมาควบคู่กับ “โอกาส” ที่ทางบ้านพร้อมจะมอบให้ แต่ในอีกมุมหนึ่งของสังคมยังมีน้อง ๆ เยาวชนอีกมากมายที่อยากจะได้รับ “ความรู้” อยากเรียนรู้ อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ยังขาด “โอกาส” ดังนั้น หนึ่งในภารกิจสำคัญของ มูลนิธิเอสซีจี ก็คือการมอบ “โอกาส” ให้กับน้องๆ ที่มีความตั้งใจแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ต่อยอดและสรรหาเครื่องมือเลี้ยงชีวิตด้วยตัวเอง เพื่อเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

กว่า 33 ปีที่ มูลนิธิเอสซีจี ได้มอบทุนการศึกษา SCG Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี จวบจนปัจจุบันมีน้องๆ ได้รับโอกาสเหล่านี้แล้วกว่า 63,000 คนทั่วประเทศ เพื่อสร้างคนเก่งและดีให้แก่สังคม ด้วยงบประมาณทั้งสิ้นกว่า 550 ล้านบาท โดยทุนนี้เป็นทุนให้เปล่า ไม่มีภาระผูกพันต้องใช้คืน เพื่อให้นักเรียนทุนมีหลักประกันด้านการศึกษาว่าจะสามารถเรียนได้สูงสุดจนจบปริญญาตรี หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ทั้งสายสามัญและสายอาชีวะ ตามที่ตัวเองใฝ่ฝันได้ ทั้งนี้ มูลนิธิฯ มีหลักในการพิจารณามอบทุนจากรายได้ของครอบครัว จำนวนพี่น้อง และการขาดผู้อุปการะส่งเสียเล่าเรียน โดยเยาวชนที่รับทุนไม่จำเป็นต้องมีผลการเรียนเป็นเลิศ แต่ต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.5 มีความประพฤติดี และมุ่งมั่นตั้งใจเรียน

ในปีนี้ มูลนิธิเอสซีจี ได้เดินสายพบปะและสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับน้องๆ ที่ได้รับทุนทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องของ “ครอบครัวมูลนิธิเอสซีจี” ภายใต้ชื่องาน “SCG Foundation Family Day” โดยทีมผู้บริหารของมูลนิธิเอสซีจี ได้เดินสายไปพบปะกับนักเรียนทุนอย่างอบอุ่นในทั่วทุกภาคของประเทศโดยเมื่อเร็วๆ นี้ คุณขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลินิธิเอสซีจี พร้อมด้วย สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจีและพี่ๆ คณะกรรมการเดินทางขึ้นเหนือร่วมพบปะนักเรียนทุนพร้อมร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ในบรรยากาศที่อบอุ่น

“ดีใจที่ได้เห็นน้องๆ นักเรียนทุนฯ ภาคเหนือมารวมตัวกันในวันนี้ ด้วยเชื่อว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดในการนำพาน้องๆ ไปสู่ความสำเร็จ มูลนิธิเอสซีจีจึงได้มอบทุนการศึกษาSCG Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี โดยเรามุ่งหมายอยากให้โอกาสกับน้อง ๆ ที่ตั้งใจเรียนแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพราะเรา ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’ ยังมีคนอีกเยอะที่เค้าไม่มีโอกาสเหมือนพวกเรา เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้รับโอกาสแล้วก็ต้องมุ่งมั่นตั้งใจเรียนให้ดี โตขึ้นจะได้เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป” ขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี กล่าว

หนึ่งในไฮไลท์ของกิจกรรมในวันนี้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ กว่า 200 คน ในภาคเหนือก็คือ การได้รับฟังเรื่องราวดี ๆ จากรุ่นพี่มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะอดีตนักเรียนทุน SCG Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี พร้อมทั้งยังแนะเคล็ดลับในการเรียน และให้แง่คิดดี ๆ ในการใช้ชีวิตมากมายอีกด้วย

เริ่มด้วย เภสัชกรสาวคนเก่ง ประจำโรงพยาบาลแม่สอด-ราม อ. แม่สอด จ. ตาก อย่าง บิว หรือ นางสาวสุฑารัตน์ บูรณะทอง จบจากมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเภสัชศาสตร์ สาขาบริบาลเภสัชกรรม ช่วงเวลาในการรับทุน 6 ปี ตั้งแต่ปี 1 – ปี 6 โดย บิวได้เล่าถึงความรู้สึกแรกที่ได้รับทุนว่ารู้สึกดีใจมาก และอยากขอบคุณมูลนิธิเอสซีจี เพราะทุนนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางบ้านได้เยอะมาก ทำให้เราได้เรียนและทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องมากังวลเรื่องค่าใช้จ่าย

“การเรียนเภสัชฯ นั้นไม่ยากเกินไป เพราะระหว่างที่เรียนแค่เรามีความตั้งใจ และทำความเข้าใจทุกครั้ง เราก็จะสามารถสอบและผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน จริงๆ แล้วบิวก็ไม่ใช่คนเรียนเก่ง ดังนั้นจึงต้องตั้งใจมากกว่าคนอื่น อ่านมากกว่าคนอื่น 2 – 3 เท่า เพราะเชื่อว่าการเรียนไม่จำเป็นต้องเก่งเสมอไป ถึงจะสามารถเรียนได้ดี แค่เรามีความพยายามก็จะสามารถประสบความสำเร็จในการเรียนได้เหมือนกัน พอเรียนจบและได้เข้ามาทำงานก็ยิ่งรู้สึกภูมิใจในวิชาชีพมาก อยากจะพัฒนาวิชาชีพของเราให้ดีที่สุด อยากเห็นรอยยิ้มจากผู้ใช้บริการ และอยากให้เค้าใช้ยาอย่างถูกต้อง แค่นี้ก็ถือเป็นความสุขในการทำงานแล้วค่ะ

อยากให้น้อง ๆ ลองสำรวจตัวเองว่าชอบสิ่งไหน และเมื่อเรารู้แล้วก็อยากให้น้อง ๆ ทำในสิ่งที่ตั้งใจและสิ่งที่เรารักให้ดีที่สุด สุดท้ายแล้วเราก็จะประสบความสำเร็จได้และภาคภูมิใจกับความสำเร็จนั้นอย่างแน่นอน อย่าไปคิดว่าเราด้อยกว่าคนอื่น แต่ให้ใช้โอกาสที่ได้รับมาจากมูลนิธิเอสซีจีให้ดีที่สุดอย่างเต็มที่เต็มกำลัง ถึงแม้ว่าจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นก็ตาม เพราะในที่สุดแล้วความพยายามนั้นจะทำให้เราเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ ได้เหมือนกันค่ะ” บิวกล่าวทิ้งท้าย

ต่อด้วยสาวบรรณารักษ์กลุ่มพัฒนาความร่วมมือทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อย่าง เมย์ หรือ นางสาวสุทธิกานต์ กันตี จากการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ซึ่งได้รับทุนตลอด 4 ปี ในการเรียนมหาวิทยาลัย โดยในตอนนั้นคุณพ่อซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวล้มป่วย ทำให้ครอบครัวประสบกับปัญหาวิกฤติทางการเงิน

“เมย์นำได้ทุนการศึกษาของมูลนิธิเอสซีจีมาช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน จึงทำให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ที่เลวร้ายของครอบครัวมาได้ จริงๆ แล้วบรรณารักษ์ไม่ใช่อาชีพในฝัน เพราะเลือกเป็นอันดับ 2 แต่สอบได้จึงตัดสินใจเลือกเรียนสาขานี้ และด้วยพื้นฐานที่เป็นคนชอบอ่านหนังสืออยู่แล้ว พอได้มาเรียน ได้เจอเพื่อนและอาจารย์แนะนำที่ดี ทำให้ชอบมากและรู้สึกตกหลุมรักในอาชีพนี้ไปแล้ว
อยากจะฝากไปถึงน้องๆ ว่าไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน สาขาใด ถ้าน้อง ๆ มีความตั้งใจ ความสำเร็จรออยู่ตรงหน้าอย่างแน่นอน จึงอยากให้ทุกคนตั้งใจเรียนและทำให้เต็มที่ ที่สำคัญคือมีความกตัญญูรู้คุณผู้ที่มอบโอกาสดีๆ ให้กับเรา และเมื่อเราได้รับโอกาสดีๆ แล้ว ก็อย่าลืมที่จะเป็นผู้ที่มอบโอกาสหรือเป็นผู้ให้ที่ส่งมอบสิ่งดีๆให้กับผู้อื่นต่อไปด้วยนะคะ” เมย์ กล่าวทิ้งท้าย

ด้าน แน็ต หรือ นางสาวศิริลักษณ์ ขาวฟอง รุ่นพี่ที่ได้รับทุนถึง 7 ปี ตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 4 จนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ จังหวัดเชียงราย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 และกำลังเตรียมศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ Yunnan Normal University สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยทุนของรัฐบาลจีน ปัจจุบันเป็นคุณครูสอนภาษาจีน ที่โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)

แน็ตได้เล่าถึงสาเหตุที่มาเรียนภาษาจีนว่า เริ่มต้นมาจากเรียนวิชาสังคมศึกษา แล้วทราบว่าประชากรของประเทศจีนมีเยอะที่สุดในโลก มีถึง 1.3 พันล้านคน จึงทำให้คิดว่าหากเรียนรู้ภาษาจีนจะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกับคนได้จำนวนมาก และยังสามารถเพิ่มประสบการณ์และเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ของประเทศจีนได้อีกด้วย ก็เลยเลือกเรียนภาษาจีน ซึ่งเป็นการขยายต่อความคิดจากการเรียนวิชาสังคมนั่นเอง โดย แน็ต เล่าต่อว่า“ภาษาจีนไม่ได้ยากอย่างที่ทุกคนคิดค่ะ เพราะภาษาแต่ละภาษามีเสน่ห์ เอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของเขาแฝงอยู่ แน็ตอยากให้น้องๆ ลองเปิดใจ การเรียนภาษาไม่ใช่เรื่องยาก อย่างภาษาจีนเพียงแค่เราเรียนรู้พื้นฐาน รู้การอ่าน ผันเสียงวรรณยุกต์ บวกกับเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มเติม รับรองเราสามารถไปต่อได้อย่างสบาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาไหนถ้าเราชอบแล้วเริ่มเลยค่ะ เพราะการทำในสิ่งที่เราชอบ จะทำให้เรามีความมุ่งมั่นพยายามความสำเร็จก็จะอยู่แค่เอื้อมค่ะ”

นอกจากนั้น แน็ตยังกล่าวทิ้งท้ายเพิ่มเติมอีกด้วยว่า
“จากที่เป็นผู้รับมาตลอด 7 ปีจากทุน SCG Sharing the Dream โดยมูลนิธิเอสซีจี ต่อไปนี้จะขอเป็นผู้ให้บ้าง ให้ในสิ่งที่ได้เรียนรู้มา โดยการมอบความรู้ให้กับน้อง ๆ ทุกคนที่สนใจอยากจะเรียนรู้ภาษาจีน และแน็ตเชื่อว่าบนพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ ทุกคนมีมันสมองและสองมือเท่า ๆ กัน ต่างกันก็คือเวลาและโอกาส ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับตัวเราว่าเราจะใช้มันอย่างเต็มที่หรือเปล่า ถึงแม้ใน 1 วันจะมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ละคนก็ใช้เวลาที่มีให้เกิดประโยชน์ได้ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการบริหารและจัดการเวลา หรือแม้แต่โอกาสที่เราต้องออกไปแสวงหาเอง ไม่ใช้นั่งรอให้โอกาสมาถึงจึงจะไขว่คว้า เพราะบางทีโอกาสของเราอาจจะด้อยกว่าคนอื่นๆ แต่ถ้าเราไม่นิ่งเฉยหรือหมดกำลังใจ ถึงแม้จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นๆ เราก็สามารถประสบความสำเร็จใจชีวิตได้เช่นกัน” แน็ตกล่าวทิ้งท้าย

เมื่อ “ความรู้” มาพร้อม “โอกาส” อย่ารอช้าที่จะคว้าไว้ เพราะการศึกษานี่แหละที่จะสามารถทำให้ตัวเรามีเครื่องมือในการก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างไม่อายใคร และยังเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยผลักดันตัวเราให้ประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน

มูลนิธิเอสซีจี…เพื่อก้าวย่างที่มั่นคงของชุมชน

“…ในการช่วยเหลือนั้น ควรจะยึดหลักสำคัญว่า เราจะช่วยเขา เพื่อให้เขาสามารถช่วยตัวเองได้ต่อไป….” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๒๐

ด้วยแนวทางการดำเนินงานของมูลนิธิเอสซีจีคือ การพัฒนาคนตามพันธกิจหลักที่ว่า ‘เชื่อมั่นในคุณค่าของคน’ ส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากร‘คน’ เป็นเสมือนพันธสัญญาที่มูลนิธิเอสซีจีมีต่อสังคม มูลนิธิเอสซีจีจึงขอน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้มาเป็นเข็มทิศนำทางในการทำงาน ด้วยตระหนักดีว่าการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่เริ่มจาก ‘คน’ ก่อน ชุมชนก็ไม่อาจเดินหน้า ประเทศก็ไม่อาจพัฒนาไปในทิศทางที่ยั่งยืนได้ เหตุนี้เองการส่งเสริมศักยภาพของคน และการสนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ จึงเป็นความมุ่งหวังตั้งใจของมูลนิธิเอสซีจีในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของสังคมอย่างสร้างสรรค์

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2547 เมื่อคลื่นสึนามิถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งอันดามันอย่างไม่ปราณี นับเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานระหว่างชุมชนกับมูลนิธิเอสซีจีอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์ในกรณีเร่งด่วน รวมถึงใช้วิกฤตนี้เปลี่ยนเป็นโอกาสในการวางรากฐานแนวคิดชุมชนเข้มแข็ง พร้อมสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมหรือพัฒนาอาชีพให้กับผู้ประสบภัย โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการหนุนเสริมศักยภาพชุมชนเพื่อให้ได้พลิกฟื้นคืนอาชีพนั่นก็คือ การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนนั่นเอง จากวันนั้น ถึงวันนี้นับเป็นเวลาร่วม 10 ปีแล้วที่มูลนิธิเอสซีจีได้ทำงานร่วมกับชุมชน โดยได้นำประสบการณ์การช่วยเหลือในครั้งนั้น เรียนรู้ต่อยอดการทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในหลากหลายพื้นที่ และขยายผลกระบวนการของกองทุนหมุนเวียนไปยังชุมชนอีก6 พื้นที่ เพียงแต่แตกต่างที่ลักษณะของกองทุน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชนนั้นๆ โดยอาศัยต้นทุนทางภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่ชุมชนแต่ละแห่งมีอยู่เดิมได้แก่ 1.พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2.พื้นที่บ้านปลาบู่ จังหวัดมหาสารคาม 3.พื้นที่เครือข่ายอินแปง จังหวัดสกลนคร 4.พื้นที่บ้านช่องฟืน จังหวัดพัทลุง5. พื้นที่บ้านคูขุด จังหวัดสงขลา6. พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่านอย่างไรก็ตามรูปแบบการช่วยเหลือของมูลนิธิฯ จะเป็นการช่วยแบบมีเงื่อนไข นั่นหมายถึง เงินที่กู้ยืมไปจะต้องใช้คืนกลับมายังกองทุนฯ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและการจัดระบบการกู้ยืมของชุมชนนั้นๆ นอกจากนี้การที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในกองทุนร่วมกันย่อมนำมาซึ่งการร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน

“ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิเอสซีจี ได้นำเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน อันหมายถึงกองทุนหมุนเวียน มาประยุกต์ใช้กับชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดย 6 กองทุนนี้ เป็นเสมือนความภาคภูมิใจของมูลนิธิเอสซีจีที่ได้ร่วมเดินไปพร้อมๆ กับชุมชน แม้จะมีปัญหาหรืออุปสรรค แต่คนในชุมชนก็เป็นผู้จัดลำดับความสำคัญและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไป โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และองค์ความรู้ทางการบริหารจัดการของมูลนิธิเอสซีจี ร่วมเดินไปด้วยกันกองทุนนี้ยังมุ่งสร้างผู้นำชุมชนคนรุ่นใหม่ให้ประกอบอาชีพในท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด พึ่งพาตนเองได้ ปัจจุบัน กองทุนฯ ใน 6 พื้นที่ยังดำเนินไปได้ด้วยดี มีเงินหมุนเวียนกลับมายังชุมชน สร้างรายได้หมุนเวียนเรื่อยไป” ขจรเดช แสงสุพรรณ กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจีกล่าว

อย่างไรก็ตามมูลนิธิเอสซีจีได้แบ่งกองทุนหมุนเวียนออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ กองทุนเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (Investment Fund) และ กองทุนสวัสดิการ (Welfare Fund)

สำหรับกองทุนเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (Investment Fund) คือ กองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ริเริ่มและต่อยอดการประกอบอาชีพโดยใช้ฐานทรัพยากรของชุมชนเป็นหลัก กองทุนประเภทนี้จะให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพและเน้นให้มีการนำเงินมาหมุนเวียนในระบบโดยมีดอกเบี้ยซึ่งไม่ได้นำมาปันผลตอบแทนสมาชิกเป็นรายคน แต่นำมาต่อยอดให้แก่สมาชิกในกลุ่ม มีดอกเบี้ยนำมาเป็นเงินหมุนเวียนให้สมาชิกรายอื่น กองทุนสัมมาชีพที่อยู่ในประเภทนี้ได้แก่ 1.กองทุนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอาชีพ บ้านปลาบู่ จ.มหาสารคาม2.กองทุนคนรุ่นใหม่ลูกหลานเกษตรกรเครือข่ายอินแปง จ.สกลนคร3.กองทุนหมุนเวียนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุมจ.น่าน

“เงินจากกองทุนหมุนเวียนของมูลนิธิเอสซีจี ถูกจัดสรรเป็นหลายส่วน เช่นเอามาทำกองทุนปุ๋ยอินทรีย์ กองทุนนาอินทรีย์ กองทุนผ้ามัดย้อม เพาะเห็ด เลี้ยงไก่ปลอดสารเคมี ยกตัวอย่างเช่นชาวบ้านรวมกลุ่มกันทำผ้ามัดย้อม เพราะเป็นภูมิปัญญาท้องถินที่มี เราถนัดเรื่องย้อมผ้า เรามีไม้ที่เปลือกของมันนำมาทำสีย้อมผ้าได้ คือไม้ประดู่ ไม้อะลาง ทีนี้พอใส่น้ำปูนใสลงไปจะได้สีอิฐ ถ้าใส่สนิมจะได้สีเทา และถ้าใส่เปลือกมะม่วง เปลือกเพกา จะได้สีเขียว นี่เป็นภูมิปัญญานับแต่สมัยพุทธกาล เรามีความถนัดเรื่องนี้ ก็เปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นและความถนัดมาทำผ้ามัดย้อมขาย เพิ่มเติมรายได้จากอาชีพหลักคือการทำนา แม่บ้านในชุมชนก็มีอาชีพ มีสังคม มีปัญหาก็เอามาคุยกัน ผ้ามัดย้อมนี้ใครถนัดมัดก็มัด ใครถนัดย้อมก็ย้อม ใครถนัดทั้งสองอย่าง ก็จะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น เพราะค่าแรงที่นี่คิดตามจำนวนชิ้นที่แต่ละคนทำได้ในแต่ละวัน ส่วนการแปรรูปเราก็ยังส่งผ้ามัดย้อมไปแปรรูปที่ชุมชนเครือข่ายของเราได้อีกที่บ้านสองห้อง จังหวัดมหาสารคาม พอเราเริ่มมาด้วยกัน เวลามีปัญหาอะไรก็จะไม่ยากเกินแก้ ปัจจุบันสินค้าผ้ามัดย้อมของเราได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร่วมพัฒนาเป็นสินค้าโอทอป นอกจากนี้ ที่บ้านปลาบู่ของเรา ยังมีหลักสูตรการทำผ้ามัดย้อมเพื่อสอนเด็กๆ ในชุมชนให้มาเรียนเป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนแต่ใช้ได้ในชีวิตจริง เป็นภูมิปัญญาของพ่อแม่พี่น้อง ที่เขาควรจะรู้เรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นของพวกเขา” พี่ณรงค์ กุลจันทร์เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจเพื่อสังคมสมาคมไทบ้าน กล่าว

อีกชุมชนหนึ่งที่สมาชิกในกลุ่มมีความเข้มแข็งไม่แพ้กัน นั่นคือ กลุ่มกองทุนเกษตรรุ่นใหม่ผู้เลี้ยงหมูหลุมโดยกองทุนนี้อยู่ภายใต้กองทุนสัมมาชีพน่านหรือที่รู้จักกันในชื่อกองทุนสัมมาชีพโจ้โก้ ด้วยงบประมาณจัดตั้งกองทุนเพียง 500,000 บาทจากมูลนิธิเอสซีจีเมื่อปี 2555 วันนี้กลุ่มเกษตรรุ่นใหม่ผู้เลี้ยงหมูหลุม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กัน โดยเฉพาะกระบวนการ “หมูของขวัญ”

พี่บัวตอง ธรรมมะ ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ จ.น่าน และ ผู้จัดการกองทุนสัมมาชีพน่าน เล่าให้ฟังว่า“หมูของขวัญ” คือ การที่สมาชิกในกลุ่มตกลงกันว่าแทนที่จะเป็นการกู้ยืมและคืนในแบบที่ผ่านมา อาจจะไม่เกิดการสร้างอาชีพหรือการสร้างองค์ความรู้เท่าไรนัก จึงตกลงกันว่าสมาชิกในกลุ่มที่เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู จะสามารถกู้ยืมเงินกองทุนได้ แต่เวลาคืน แทนที่จะคืนเป็นเงิน ก็จะคืนเป็นแม่หมูพันธุ์ดีซึ่งจะต้องคืนทั้งหมด 3 ตัว โดย 2 ตัว ต้องคืนเข้ากลุ่มเพื่อให้กลุ่มมีแม่หมูพันธุ์ดีเพื่อส่งต่อ และอีก 1 ตัว จะส่งให้ใครก็ได้ที่ไม่ใช่ญาติกัน เพื่อสร้างการขยายผลต่อยอดแม่หมูพันธุ์ดีเรื่อยไป แต่หากหมูที่เลี้ยงมีลักษณะไม่ตรงกับการเป็นแม่พันธุ์ที่ดี สมาชิกก็สามารถคืนเป็นหมูขุนได้ โดยมีข้อแม้ว่าต้องคืนตามน้ำหนักที่เคยได้ไป เช่น ตอนได้รับหมูครั้งแรก หมูมีน้ำหนัก 95 กิโลกรัม ดังนั้นตอนที่นำมาคืนก็ต้องเลี้ยงให้ได้น้ำหนัก 95 กิโลกรัมเช่นกัน การที่ชุมชนเลือกวิธีนี้เพราะมองว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้จริง และคนในชุมชนได้พูดกันมากขึ้น ฟังกันมากขึ้น เพราะการได้แม่หมูพันธุ์ดีไปเลี้ยง จะต้องรู้วิธีการดูแล ซึ่งจำเป็นที่ชาวบ้านต้องเรียนรู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากกันและกัน นอกจากนี้ที่ชุมชนของเรา เวลาบ้านใครจะทำคอกหมู ก็จะมาช่วยกันทั้งกลุ่ม มาลงแรงสร้างคอกกัน หรือหมูใครป่วยก็จะมาช่วยกันดูแลวิเคราะห์อาการ สิ่งเล็กน้อยเหล่านี้ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเอง พึ่งพากันได้ จึงอยากขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่เปิดโอกาสให้เราได้ประกอบอาชีพในแบบที่เราถนัด ในแบบที่เรามีองค์ความรู้ของเรา ถือเป็นความช่วยเหลือที่ตรงจุด และตอบโจทย์ชุมชน เรารู้สึกว่าเป็นแนวทางการช่วยเหลือที่ถูกต้องแล้ว มันถูกจริตกับชุมชนเรา”

ส่วนกองทุนสวัสดิการ (Welfare Fund) คือ กองทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเงินทุนสวัสดิการให้แก่กลุ่มในเหตุการณ์เฉพาะ หรือกรณีเร่งด่วนเกิดจากการรวมตัวของคนในชุมชนด้วยความสมัครใจที่ประสงค์จะดูแลซึ่งกันและกันตั้งแต่เกิดจนตาย กองทุนประเภทนี้จะเน้นให้มีเงินมาหมุนเวียนในระบบและเป็นเงินออมในกลุ่มเพื่อให้สมาชิกรายอื่นมีการนำเงินไปใช้ประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้ ลดรายจ่าย นำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจน เป็นกองทุนที่ทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของได้แก่1.กองทุนหมุนเวียนซ่อมสร้างเรือและกองทุนเครื่องมือประมง ทะเลสาบสงขลาบ้านคูขุด อ.สทิงพระ จ.สงขลา 2. กองทุนหมุนเวียนซ่อมสร้างเรือและกองทุนเครื่องมือประมง ทะเลสาบสงขลา บ้านช่องฟืน อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 3. กองทุนเพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้

ตัวอย่างกองทุนสวัสดิการเพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีที่มาจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นที่นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ.เทพา อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย และอ. นาทวี สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ท่ามกลางความตึงเครียดและความเป็นอยู่อย่างหวาดระแวงของคนในพื้นที่ กลับมีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นชาวบ้านเป็นผู้นำชุมชน ยังคงเลือกที่จะไม่ละทิ้งบ้านเกิดและเลือกทำงานจิตอาสาไม่มีแม้เงินเดือนหรือสวัสดิการใดๆ เพื่อดูแลประคับประคองชุมชนบ้านเกิดของตัวเองให้มีบรรยากาศที่ดีเท่าที่จะทำได้มูลนิธิเอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญของคนกลุ่มเล็กๆ ที่นอกจากจะต้องอยู่ใกล้ชิดพื้นที่เสี่ยงแล้ว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน ทั้งยังไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมต่างๆ คนกลุ่มนี้สมควรได้รับการช่วยเหลือเพื่อเพิ่มเติมกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

พี่สุภารัตน์ มูซอ นอกจากเป็นเกษตรกรแล้ว ยังเป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลมะกรูดอ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานีและเป็นประธานชมรมจิตอาสาของโรงพยาบาลโคกโพธิ์ เธอทำงานจิตอาสามา 5 ปีต่อกันแล้ว โดยหน้าที่หลักของพี่จะอยู่ที่ห้องเวชกรรม คอยดูแลผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ คอยช่วยเหลือหากคนที่มาพูดภาษาไทยไม่ได้ เมื่อ 2 ปีที่แล้วเธอนำเงินจากกองทุนเพื่อเกื้อหนุนครอบครัวที่ทำงานเพื่อสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปซื้อวัว 2 ตัว และปลูกผักสวนครัว ปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงวัว ปัจจุบันนี้เงินตั้งต้น30,000 บาทที่กู้ยืมไปซื้อวัว ซื้อหญ้าในวันนั้น ทำให้วันนี้พี่สุภารัตน์เป็นเจ้าของวัวจำนวน 15 ตัวแล้ว “ทุกวันนี้ความเป็นอยู่ดีขึ้น รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ทำงานช่วยสังคม และอยากขอบคุณมูลนิธิเอสซีจีที่มองเห็นสิ่งที่พี่ทำและให้กำลังใจ ให้อาชีพ ทำให้หมดกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่าย สร้างกำลังใจในการทำงานเพื่อสังคม พี่ก็ตั้งใจว่าจะทำไปเรื่อยจนกว่าจะทำไม่ได้ พี่เชื่อว่าถ้าเราไม่ช่วยสังคมก่อน ก็อย่าหวังให้สังคมช่วยเรา”

กว่า 10 ปี ที่เดินร่วมทางมากับชุมชน ถึงเวลาแล้วที่คนของชุมชนนั้นๆ จะเป็นผู้บอกเล่าถึงเส้นทางเดินของพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการก้าวเดินบนทางขรุขระ หรือทางเรียบ แต่เส้นทางที่เดินมานั้น ล้วนมีเรื่องราวและประสบการณ์ที่น่าสนใจ มูลนิธิเอสซีจีจึงได้จัดกิจกรรม Show & Share บทเรียนกองทุนสัมมาชีพ ก้าวย่างที่มั่นคงของชุมชนขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้บทเรียนการดำเนินงานของกองทุนทั้ง 6 กองทุน และเผยแพร่ให้กับชุมชนอื่นๆ ที่สนใจ

มูลนิธิเอสซีจีเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามชุมชนมีปัญหาเกิดขึ้น ผู้ที่จะแก้ปัญหานั้นได้ดีที่สุดก็คือคนในชุมชนนั่นเอง เพราะความตั้งใจจริง และรู้ถึงปัญหาที่แท้จริง ย่อมเป็นนิมิตรหมายอันดีในการแสวงหาทางออกร่วมกัน มูลนิธิเอสซีจีจึงมุ่งเน้นไปที่การช่วย ‘คน’ มากกว่าการช่วยในลักษณะของวัตถุหรือการบริจาคสิ่งของซึ่งไม่นานก็อาจหมดไป เป็นกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกระบวนการแห่งวิถีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง