มูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้านครปฐมและเครือข่าย ส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) แห่งแรกของไทย ให้ รพ.นครปฐม

มูลนิธิเอสซีจี นำโดย คุณเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลนิธิเอสซีจี พร้อมด้วยคุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ผนึกกำลังหอการค้าจังหวัดนครปฐม และมูลนิธิไทยพีบีเอส ร่วมส่งมอบห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy unit) แห่งแรกของไทย มูลค่า 5.17 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลนครปฐม โดยมี ดร.พญ.ดารารัตน์ รัตนรักษ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครปฐม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมรับมอบ ซึ่งห้องชันสูตรความดันลบนี้ นอกจากจะลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 แล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการขยายการให้บริการชันสูตรศพกับจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียงกว่า 700 ราย ต่อปี ลดภาระงานของโรงเรียนแพทย์ รวมถึงต่อยอดการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคโควิด 19 และโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

ห้องชันสูตรความดันลบ (Modular Autopsy) มีขนาด 80.38 ตร.ม. สามารถควบคุมแรงดันอากาศได้เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งระบบความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) เพื่อกำจัดเชื้อโรคและฝุ่น และระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร โดยมีพื้นที่การใช้งานทั้งสิ้น 4 ส่วน ได้แก่

  1. AUTOPSY ZONE สำหรับบุคลากรปฏิบัติงานผ่าชันสูตรพลิกศพ โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ใช้ระบบห้องความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) ออกแบบห้องให้ทำความสะอาดง่ายและ ANTE Zone เพื่อกักอากาศลดการแพร่เชื้อออกสู่ภายนอก
  2. PREPARATION ZONE และ ANTE ROOM สำหรับบุคลากรเพื่อเตรียมตัวเข้าปฏิบัติงาน โดยแบ่งเป็น Locker room สำหรับเก็บสัมภาระ เปลี่ยนชุด PPE โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ ใช้ระบบห้องความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM) 
  3. EXIT ZONE และ ANTE ROOM สำหรับบุคลากรออกหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน และถอดชุด PPE โดยระบบการจัดการอากาศใน Zone นี้ใช้ระบบห้องความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM)  
  4. Bathroom สำหรับบุคลากรใช้ชำระล้างร่างกายก่อนและหลังการปฏิบัติหน้าที่

คิกออฟ แนวคิด “Learn to Earn” มูลนิธิเอสซีจี จุดประกายคน Gen Z มุ่งปลูกฝังการเรียนรู้เพื่ออยู่รอดในยุคนี้

 “มูลนิธิเอสซีจี” คิกออฟแนวคิด “Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด สร้างอนาคตเด็กและเยาวชน ผ่านภารกิจหลักในการมอบทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชนคน Gen Z  โดยการเสริมทักษะทางด้านความรู้ความสามารถ (Hard skill) และ ทักษะทางด้านการเข้าสังคมและอารมณ์ (Soft skill) หรือที่เรียกว่า ‘ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21’ (Power Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการทำงานในยุคปัจจุบันและอนาคต พร้อมเดินหน้าสร้างการรับรู้และความเข้าใจ โดยดึง สไปร์ท เขื่อน และ ลูกกอล์ฟ มาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนคน Gen Z  นอกจากนี้ ยังจับมือกับ GMMTV จัดแคมเปญ CLASS of 21st นำทัพศิลปินคนรุ่นใหม่ในสังกัดร่วมทำภารกิจที่ต้องอาศัยทักษะความรู้และการใช้ชีวิต ทำให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงการเรียนรู้ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น

สุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี กล่าวว่า “เมื่อก่อน เราอาจจะเคยเชื่อว่าการเรียนในห้องเรียนมีเพียงรูปแบบเดียวที่จำเป็นและเหมาะกับทุกคน แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป  รูปแบบการเรียนรู้ก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย  ยิ่งโลกไร้พรมแดน ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น น้องๆ เยาวชนเองก็รู้จักตั้งคำถามกับตัวเองมากขึ้นว่าตนเองชอบอะไร ถนัดอะไร อยากจะมีชีวิตแบบไหน ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิฯ จึงได้วางแนวทางในการพัฒนาทักษะของเยาวชนให้ตอบโจทย์และตรงกับสภาวการณ์ปัจจุบันผ่านแนวคิด Learn to Earn มุ่งเน้นให้ทุนการศึกษาในการหนุนและเสริมสร้างพัฒนาทักษะให้กับคนรุ่นใหม่ หรือคน Gen Z ด้วยการใช้ทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Power Skill) ทักษะที่มีบทบาทสำคัญในการนำไปใช้ประกอบอาชีพ เช่น นักบริบาล ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ ยูทูปเบอร์ นักกีฬาอีสปอร์ต เป็นต้น ไม่เพียงเท่านี้ ยังสนับสนุนการสร้างทักษะเข้าสังคมและอารมณ์  (Social & Emotional skills) ยกตัวอย่างเช่น ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะความฉลาดทางอารมณ์ และทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการติดอาวุธเสริมทักษะให้เยาวชนพร้อมออกไปดำเนินชีวิตสามารถอยู่รอดในโลกปัจจุบันและอนาคตอย่างดีที่สุด

ในส่วนของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตลอดปี 2565  มูลนิธิเอสซีจีได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดยหนึ่งในพลังที่สำคัญคือกลุ่มผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับชาว Gen Z ทั้ง 3 ท่าน ประกอบด้วย สไปร์ท – ศุกลวัฒน์ พวงสมบัติ แรปเปอร์มากความสามารถ แรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่อายุยังน้อย

เขื่อน – ภัทรดนัย เสตสุวรรณ ตัวแทนผู้ที่มีทักษะในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างมาก และ ลูกกอล์ฟ – คณาธิป สุนทรรักษ์ ผู้สอนยุคใหม่ขวัญใจเด็ก Gen Z จะมาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของพวกเขา

สำหรับแคมเปญ ‘CLASS of 21st เป็นการรวมตัวของกลุ่มศิลปินคนรุ่นใหม่ 3 รุ่นจาก GMMTV อาทิ คริส-พีรวัส, ปอนด์-ณราวิชญ์ และ เจมิไนน์-นรวิชญ์ ที่จะต้องมาปฏิบัติภารกิจแบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์ และทำความเข้าใจ ‘ทักษะแห่งอนาคต’ ไปพร้อม ๆ กับผู้ชมเพื่อเอาตัวรอดจากภารกิจในคลาสต่าง ๆ ภายใต้คอนเซปต์ ‘Young Survivors รุ่นนี้…ต้องรอด’ ผ่านช่องทาง YouTube channel GMMTV  

อย่างไรก็ตาม  ยังมีอีกหนึ่งภารกิจหลักของมูลนิธิเอสซีจี  คือ การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน โดยที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้มอบทุนการศึกษาภายใต้แนวคิด Learn to Earn  ไปแล้วทั้งสิ้นจำนวน 1,700 ทุน รวมเป็นเงินกว่า 40 ล้านบาท โดยเป็นทุนการศึกษาในระดับ ปวส. และ ป.ตรี รวมถึงหลักสูตรระยะสั้น ได้แก่ ด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve ด้านเทคโนโลยี IT รวมถึง ด้านการส่งเสริมอาชีพทั่วไป  

ทั้งนี้ นายศักดิ์ชัย นามเหลา หนึ่งในเยาวชนที่เคยได้รับทุนจากมูลนิธิเอสซีจี ประเภททุนระยะสั้นเพื่อการประกอบอาชีพ โดยปัจจุบันเขาประกอบอาชีพเป็นผู้ช่วยพยาบาล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล โดย นายศักดิ์ชัย เปิดเผยว่า “ด้วยสภาพทางการเงินของครอบครัวที่ไม่เอื้ออำนวย ในขณะที่ผมต้องเตรียมตัวเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ตอนนั้นคิดอย่างเดียวว่าคงไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่พอทราบว่ามูลนิธิเอสซีจีมีทุนระยะสั้นเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งตอบโจทย์การเรียนอะไรก็ได้ที่สามารถเรียนจบออกมาแล้วมีทักษะอาชีพติดตัวเพื่อหางานทำได้อย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากได้พัฒนาทักษะในการทำงานที่มีศักยภาพแล้ว ยังสามารถนำทักษะในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นมาปรับใช้เมื่อต้องทำงานจริงได้เป็นอย่างดี ขอขอบคุณมูลนิธิฯ มากที่ช่วยมอบโอกาสทำให้มีอาชีพติดตัวไปตลอดชีวิต อีกทั้งยังสามารถกลับไปทำงานจิตอาสาช่วยเหลือคนอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมตั้งใจอยากทำมาตลอด”

การขยายแนวคิด Learn to Earn จะสามารถสร้างเด็กและเยาวชนให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ นับเป็นพันธกิจหลักของมูลนิธิเอสซีจี เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้าง ‘คน’ ให้เติบโตเป็นคน ‘เก่งและดี’ มีน้ำใจช่วยเหลือสังคมต่อไป สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org  และเฟซบุ๊ก LEARNtoEARNbySCGFoundation

#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #รุ่นนี้ต้องรอด #มูลนิธิเอสซีจี

มูลนิธิเอสซีจี มอบ “Modular ER” นวัตกรรมห้องฉุกเฉิน New Normal ให้ รพ.มหาราชนครราชสีมา หนุนนักรบด่านหน้าฝ่าวิกฤต และผู้ป่วยโควิดให้ปลอดภัย

คุณสุวิมล จิวาลักษณ์ กรรมการและผู้จัดการมูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบนวัตกรรมห้องผู้ป่วยฉุกเฉินโมดูลาร์ (Modular ER) มูลค่า 8 ล้านบาท ให้กับโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โดยมี นพ.ประวีณ ตัณฑประภา ผู้อำนวยการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ร่วมรับมอบ ซึ่ง Modular ER นี้ นับเป็นนวัตกรรมห้องฉุกเฉินรูปแบบใหม่ ที่จะรองรับการแพร่ระบาดของ COVID – 19 เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยปัจจุบันมีผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤตที่มารับการรักษาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน กว่า 200 รายต่อวัน

ห้องฉุกเฉินโมดูลาร์ (Modular ER) มีขนาด 160.99 ตรม. มีจำนวนเตียง 5 เตียง  ออกแบบเพื่อแยกและรองรับผู้ป่วยโควิดฉุกเฉินออกจากผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป ทำให้สามารถรักษาได้รวดเร็ว
ลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย หรือการสูญเสียชีวิต อีกทั้งยังเป็นเกราะป้องกันให้แพทย์และเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
โดยห้องดังกล่าวมีระบบควบคุมแรงดันอากาศอย่างเหมาะสมและปลอดภัย ด้วยระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร


ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม

พื้นที่การใช้งานแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ส่วน คือ

  1. ห้องคัดแยก (ER Zone)

สำหรับคัดแยกและเฝ้าอาการผู้ป่วยแบ่งออกเป็น 4 ห้องแยก แต่ละห้องเตรียมพร้อมด้วยระบบยังชีพต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกับระบบของโรงพยาบาล ใช้ระบบความดันลบ (NEGATIVE PRESSURE ROOM) โดยแต่ละห้องจะมีการจัดการอากาศแยกออกจาก เพื่อรองรับการจัดกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับความหนักของอาการที่ต่างกัน

  1. ห้องกักอากาศ เอ (ANTE ROOM A)

สำหรับลำเลียงผู้ป่วยเข้าและออก พร้อมจุดทิ้งขยะติดเชื้อต่างๆ

  1. ห้องเจ้าหน้าที่ (STAFF ROOM)  

สำหรับบุคลากร โดยมีการจัดการอากาศให้เป็นความดันบวก (POSITIVE PRESSURE ROOM)

  1. ห้องกักอากาศ บี (ANTE ROOM B.) 

สำหรับบุคลากรเข้าและออกเพื่อการปฏิบัติงาน

  1. พื้นที่เก็บตรวจเชื้อ (SWAB)

สำหรับการเก็บสิ่งส่งตรวจ โดยมีการแยกอากาศระหว่างบุคลากรการแพทย์และผู้ป่วย

  1. ห้องน้ำ (Bathroom)

สำหรับบุคลากรใช้ชำระล้างร่างกายก่อนและหลังการปฏิบัติหน้าที่

ส่งอุปกรณ์ป้องกันโควิด ติดเกราะให้น้องๆ

มูลนิธิเอสซีจี ส่งความห่วงใยถึงมือเด็กและเยาวชน มอบชุดตรวจโควิด 19 (ATK) จำนวน 1,000 ชุด และหน้ากากเฉพาะสำหรับเด็ก จำนวน 1,000 กล่อง ผ่านเครือข่ายจิตอาสา อาทิ สภาเด็กและเยาวชนกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ศูนย์สร้างโอกาสเด็ก พระราม 8 กลุ่มสายไหมต้องรอด และชุมชนตึกแดงบางซื่อ เพื่อให้เด็กๆ มีอุปกรณ์ปกป้อง ยกการ์ดตั้งสูง ปลอดภัยจากโควิด 19 

#มูลนิธิเอสซีจี 

#ช่วยกันแคร์ดูแลกัน 

#เชื่อมั่นในคุณค่าของคน

มูลนิธิเอสซีจี ตั้ง “โรงครัวมูลนิธิเอสซีจีเพื่อผู้ประสบอุทกภัย” มอบอาหารและน้ำดื่มให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้

อาหารจาก​ “โรงครัวมูลนิธิเอสซีจีเพื่อผู้ประสบอุทกภัย” จำนวน 4,500 ชุด รวมทั้งน้ำดื่ม ได้ส่งถึงมือพี่น้องในพื้นที่อำเภอที่ประสบอุกภัยแล้ว โดยมีเครือข่าย ศอบต. บัณฑิตอาสา ช่วยนำลงพื้นที่​ ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุง อาหารทั้งหมดรับซื้อจากเกษตรกรที่ประสบปัญหาน้ำท่วม

โดยภาพประกอบนี้จากการตั้งโรงครัวและมอบอาหารจากพื้นที่ อ.แว้ง อ. ยี่งอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และ อ.รามัน จ.ยะลา​ 

เราขอให้ทุกชีวิตปลอดภัยและขอส่งกำลังใจให้พี่น้องที่ประสบภัยน้ำท่วม​